ในช่วงกีฬาโอลิมปิกนี้ทางสถาบันภูมิแพ้และหอบหืด ให้ความสำคัญของการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและมีประโยชน์อย่างมากในโรคหอบหืดภูมิแพ้ อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการหายใจขัดได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะบางอย่าง อาจมีอาการรู้สึกหายใจไม่สุดหลังการออกกำลังกาย
หมายถึง ภาวะที่มีการหลอดลมไวเกิดการตีบแคบของหลอดลมหลังการออกกำลัง ภาวะที่มีการหลอดลมไวเกิดการตีบแคบของหลอดลมหลังการออกกำลัง ผู้ป่วยอาจมีอาการหอบหืดอยู่เดิมหรืออาจไม่เคยมีอาการชัดเจนมาก่อน กีฬาบางชนิดและการรักษาจะมีความจำเพาะในกลุ่มอาการนี้
ข้อมูลปัจจุบันจากการทดสอบความไวของหลอดลมพบว่า ภาวะ EIB พบได้ 10% - 20% ในประชากรทั่วไป และพบได้ 35% - 40% ในนักกีฬา
ภาวะ exercise-induced bronchoconstriction เกิดได้อย่างไร
สาเหตุยังไม่แน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดทฤษฎี “ออสโมติก” คือ การหายใจที่เพิ่มขึ้นในระหว่างออก ทำให้ลมที่เข้าในทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิที่พื้นผิวหลอดลมลดต่ำลง เมื่อหยุดออกกำลังกายอุณหภูมิที่ทางเดินหายใจกลับเพิ่มขึ้น ทำให้เยื่อบุผิวหลอดลมเสียน้ำออกไปเป็นผลให้ความเข้มข้นออสโมติกในเซลล์เพิ่มมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้ กระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาว หลั่งสารอักเสบ ต่างๆ ส่งผลเกิดกล้ามเนื้อเรียบรอบหลอดลมหดตัวลง หลอดลมตีบแคบลง เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สุด หลังออกกำลังกายภายในนาทีถึงชั่วโมง
เมื่อใดสงสัยภาวะ หลอดลมตีบจากการออกกำลังกาย
อาการมักเกิดหลังออกกำลังกาย ไม่กี่นาทีถึงชั่วโมง หายใจออกไม่สุด แน่นหน้าอก หรือบางรายอาจมีเสียงวี๊ซ เมื่อใช้ยาพ่นขยายหลอดลมจะอาการดีขึ้น
การวินิจฉัยมักดูจากอาการ การทดสอบสมรรถภาพปอด การตรวจที่จำเพาะคือ การทดสอบภาวะหลอดลมไว รูปที่ 1 แบ่งเป็นการทดสอบโดยตรง โดย สารชื่อ Methacholine กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบหลอดลม และการทดสอบโดยอ้อม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผิวลดลงเปลี่ยนสภาพไป โดยอากาศที่แห้ง หรือสูดพ่นสารน้ำตาลmannitolหรือน้ำเกลือเข้มข้น ทำให้ผิวทางเดินหายใจมีความเข้มข้นออสโมติกสูงขึ้น เกิดการหดตัวคล้ายภาวะหลอดลมตีบ และวัดค่าสมรรถภาพปอดเป็นระยะ
ในประเทศไทยมีการใช้การทดสอบ Methacholine และ Mannitol

รูปที่ 1 จากเอกสารอ้างอิงที่4 การทดสอบภาวะหลอดลมไว
นักกีฬากับภาวะ Exercise-induced bronchoconstriction
ในกลุ่มนักกีฬามีข้อคำนึงที่จำเพาะ ได้แก่
- ในกลุ่มคนที่มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอและมีความพร้อมของร่างกายสูง ทำให้รับรู้ถึงอาการเหนื่อยหอบได้ยาก มีความทนทานมากกว่าคนทั่วไป เมื่อทดสอบสมรรถภาพก่อนอาจพบค่าหายใจสูงกว่ามาตรฐาน supra-normal lung’s function (>120% ของpredicted value) แม้มีอาการเหนื่อย เมื่อทดสอบค่าที่ต่ำลงอาจจะยังอยู่ในระดับที่ดูเหมือนปกติ
- กีฬาบางชนิด จะเสี่ยงภาวะ EIB มากขึ้น ได้แก่
-ว่ายน้ำ เพราะมีการเงยหน้าหายใจอากาศผิวน้ำที่มีคลอรีนสูง
-winter sport เช่น สกี ฮอกกี้ สโนวบอร์ด เพราะมีอาการหายใจอากาศที่แห้งและเย็น
-กีฬาที่มีการหายใจแรงหนักมาก โดยเฉพาะในภาวะแวดล้อมที่อาจมีฝุ่นสารแพ้ เช่น ไตรกีฬา

รูปที่ 2 กีฬาที่เสี่ยงต่อภาวะหลอดลมตีบจากการออกกำลังกาย
- อาจพบภาวะร่วมบางอย่างได้ ทำให้มีอาการคล้ายหอบหืด เช่น ความผิดปกติมีการหดเกร็งมากเกินไปของกล้ามเนื้อกล่องเสียง (Vocal Cord Dysfunction) โดยอารมณ์ที่เคร่งเครียดกดดันจะทำให้กระตุ้นภาวะนี้ได้บ่อย อาการมักแน่นหน้าอกมักเกิดระหว่างออกกำลังรู้สึกหายใจเข้าไม่สุด ต่างกับ ภาวะEIBที่มักมีอาการหลังออกกำลังกายและหายใจออกไม่สุด สามารถวินิจฉัยภาวะนี้จากการส่องกล้อง flexible laryngoscopy พบกล่องเสียงผิดปกติ
- ยาบางชนิดต้องใช้ภายใต้การกฏเกณฑ์ World Anti-Doping Agency (WADA) ยาพ่นสเตียรอยด์ นั้นปลอดภัยและอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ยาเม็ดสเตียรอยด์จะไม่ได้รับการอนุญาติ และยาที่ควรระมัดระวังได้แก่ ยาพ่นขยายหลอดลม β2-agonist โดยระดับของ albuterol และ formoterol ที่อนุญาต ไม่เกิน 1600 และ 54 μg ต่อวันตามตามลำดับ
การดูแลรักษา
- หากมีอาการหอบหืดควรมีอาการให้ยาพ่นลดการอักเสบ inhaled corticosteroids ควบคุมอาการให้เหมาะสม
- แนะนำมีการ Warm up และ cool down เสมอ
- พยายามลดสิ่งกระตุ้น เช่น คลอรีนในสระว่ายน้ำ การสวมใส่หน้ากากป้องกัน หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นหรือสารแพ้มาก
- ใช้ ยาพ่น short-acting β2-agonist เช่น ก่อนออกกำลัง 5-10 นาที
- แนะนำพบแพทย์ พิจารณาตรวจสมรรถภาพปอดหรือภาวะหลอดลมไว หากมีอาการผิดปกติ
Reference
- Pongdee T, Li JT. Exercise-induced bronchoconstriction. Ann Allergy Asthma Immunol. 2013 May;110(5):311-5. doi: 10.1016/j.anai.2013.02.002. Epub 2013 Mar 6. PMID: 23621999.
- Boulet LP, O’Byrne PM. Asthma and exercise-induced bronchoconstriction in athletes. N Engl J Med. 2015 Feb 12;372(7):641-8. doi: 10.1056/NEJMra1407552. PMID: 25671256.
- Brannan JD, Kippelen P. Bronchial Provocation Testing for the Identification of Exercise-Induced Bronchoconstriction. J Allergy Clin Immunol Pract. 2020 Jul-Aug;8(7):2156-2164. doi: 10.1016/j.jaip.2020.03.034. PMID: 32620430.
- Brannan JD, Porsbjerg C. Testing for Exercise-Induced Bronchoconstriction. Immunol Allergy Clin North Am. 2018 May;38(2):215-229. doi: 10.1016/j.iac.2018.01.010. PMID: 29631731.
- Parsons, Jonathan P; Mastronarde, John G. Exercise-induced asthma. Current Opinion in Pulmonary Medicine 15(1):p 25-28, January 2009.
- World Anti-Doping Agency (WADA). The Prohibited List 2024. https://www.wada-ama.org/en/prohibited-list.

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– 2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– 2559 กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
– 2561 กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
ศุกร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |