
โรคแพ้การออกกำลังกายที่เกิดจากอาหาร คือการแพ้อาหารรุนแรงเฉียบพลันที่มีอาการเมื่อรับประทานร่วมกับการออกกำลังกาย มีการรายงานครั้งแรกตั้งแต่ ปีค.ศ. 1979 โดย Maulitz et al. บรรยายคนไข้รับประทาน shellfish ก่อนการออกกำลังกาย อุบัติการณ์ พบไม่บ่อย เฉลี่ย 0.02% มีการศึกษาในเด็กญี่ปุ่นพบ 0.06% ในช่วงวัยโรงเรียนประถมศึกษา และ 0.21% ในช่วงมัธยมต้น
กลไกการเกิด
- การเกิด redistribution ของ blood flow จากอวัยวะภายใน ได้แก่ ตับ ไต ลำไส้ หรือกระเพาะอาหารมาบริเวณกล้ามเนื้อลายและผิวหนัง โดยเชื่อว่าหากผู้ป่วยรับประทานอาหารโดยไม่ออกกำลังกาย food allergenic peptides ที่ถูกดูดซึมจะจำกัดที่ลำไส้ซึ่งสามารถทนทานต่อ gut-specific mast cells ได้ ในขณะที่เมื่ออกกำลังกาย food allergenic peptidesจะกระจายไปที่อื่นทำให้พบเจอกับ phenotypically different mast cells และเกิดการแพ้ได้
- Exercise ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ plasma osmolality ทำให้เพิ่ม basophil activation and histamine releasability
- การเปลี่ยน pH ในเลือด ทำให้กระตุ้น mast cell degranulation
- การออกกำลังกายทำให้ gut permeability เพิ่มขึ้นจาก tight junctions ที่ epithelium ทีการคลายตัวมากขึ้น ทำให้ โมเลกุลอาหารที่ใหญ่ขึ้นสามารถผ่านเข้าไปได้
- สำหรับใน WDEIA เชื่อว่าการออกกำลังกายทำให้เกิดการexpress tissue transglutaminase (tTG) enzyme มากขึ้นผ่านทาง interleukin-6 ซึ่งทำให้เกิด peptide aggregation โดยเฉพาะส่วน omega-5 gliadin ของ wheat สุดท้ายนำไปสู่การเพิ่ม IgE cross-linking
- ใน WDEIA ยังเชื่อว่าอาจเกิดจากการ sensitized ผ่านผิวหนังจาก hydrolyzed wheat protein ซึ่งเป็น water-soluble foaming agent ในผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ล้างหน้า
อาการและอาการแสดง
อาการแพ้รุนแรงเฉียบพลัน เกิดได้จากการรับประทานอาหารมักก่อนมากกว่าหลังการออกกำลังกาย ส่วนมากเกิดในช่วง 10 นาที ถึง 4 ชั่วโมงหลังการออกกำลัง ทั้งนี้อาจเกิดช่วง warm-up หรือ cool-down ได้ ลักษณะการออกกำลังกายแบบหนัก เช่น จ้อกกิ้ง หรือ แอโรบิค จะพบมากกว่าการออกกำลังแบบเบาๆ เช่น เดินเล่นในสวน โดยมีรายงานสัมพันธ์กับปัจจัยส่งเสริมการแพ้ (augmentation factor) เช่น ยาประเภท non-steroidal anti-inflammatory drugs ซึ่งมักมีการใช้ในกลุ่มนักกีฬา, การดื่มแอลกอฮอล์, สภาพอากาศที่ร้อนหรือเย็นจัด, ความชื้น, ความเครียด, หรือการติดเชื้อ เป็นต้น
อาหารที่เป็นต้นเหตุการณ์แพ้แบบ FDEIA ได้แก่ แป้งสาลี พบบ่อยที่สุด เรียกว่าภาวะ wheat-dependent exercise -induced anaphylaxis (WDEIA), รองลงมาได้แก่ อาหารทะเลเปลือกแข็ง, อาหารอื่นๆที่มีรายงาน ได้แก่ grains, nuts หรือ celery เป็นต้น การเก็บข้อมูลที่ประเทศญี่ปุ่นแสดงสาเหตุ FDEIA ดังภาพ
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการ anaphylaxis ที่เกิดระหว่างหรือไม่กี่ชมหลังการออกกำลังกายโดยเกิดเฉพาะเมื่อการออกกำลังกายนำหน้าการรับประทานอาหารเท่านั้น โดยไม่มีอาการเมื่อกินอาหารนั้นๆหรือออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว
การตรวจหา skin testing หรือ food-specific IgE จะสามารถช่วยการวินิจฉัยได้ โดยเฉพาะ ImmunoCAP assay for IgE to re-combinant omega-5 gliadin ใน WDEIA
วินิจฉัยยืนยันได้โดยการ modified exercise challenge test พร้อมการรับประทานอาหาร สำหรับใน WDEIA มีการใช้ gluten flour ร่วมกับ cofactors เช่น aspirin ถ้าผลการทดสอบเป็น positive สามารถยืนยัน FDEIA ได้ อย่างไรก็ตามหากผลเป็น negative ยังไม่สามารถ rule out ได้ เนื่องจากอาการของผู้ป่วย FDEIA อาจยังไม่มีการแสดงออกในสภาวะในการทดสอบนี้
วินิจฉัยแยกโรคออกจาก ภาวะ food allergy, exercise-induced asthma, cholinergic urticaria, cold urticaria, mastocytosis, benign flushing conditions, hereditary angioedema, neoplastic disorders, and psychological condition/disorders
การดูแลรักษา
คำแนะนำในผู้ป่วยที่สงสัย FDEIA มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ 4-6 ชั่วโมงก่อนการออกกำลังกาย หรืออย่างน้อยที่สุด 2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยง augmenting factors เชทนยากลุ่ม NSAIDS หรือ การดื่มแอลกอฮอล์
- ควรมีเพื่อนไปออกกำลังกายด้วยหรือแจ้งผู้อื่นก่อนเสมอ ออกกำลังกายในฟิตเนสหรือมีเทรนเนอร์ควบคุม
- พกยาฉีด adrenaline ติดตัวเสมอ
- ปรึกษาแพทย์หากจำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่ม beta-blockers หรือ angiotensin-converting enzyme inhibitors เนื่องจากมีผลต่อการตอบสนองการรักษาในกรณีที่แพ้รุนแรงได้
ทั้งนี้ การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดโดยการรับประทานหรือ oral immunotherapy ยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยในการรักษาการแพ้อาหารลักษณะนี้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานในผู้ป่วย case reports พบว่าการทำ wheat oral immunotherapy สามารถเพิ่มระดับการแพ้ หรือ threshold ในผู้ป่วย WDEIA ได้
เอกสารอ้างอิง
- Paula Robson-Ansley and George Du Toit. Pathophysiology, diagnosis and management of exercise-induced anaphylaxis. Current Opinion in Allergy and Clinical Immunology 2010, 10:312–317.
- Ru-Xin Foong, Mattia Giovannini and George du Toit. Food-dependent exercise-induced anaphylaxis. Curr Opin Allergy Clin Immunol 2019, 19:224–228.
- Anna M. Feldweg, MD. Food-Dependent, Exercise-Induced Anaphylaxis: Diagnosis and Management in the Outpatient Setting. J Allergy Clin Immunol Pract 2017;5:283-8.
- Tomsitz D, Biedermann T, Brockow K. Sublingual immunotherapy reduces reaction threshold in three patients with wheat-dependent exercise-induced anaphylaxis. Allergy. 2021 Dec;76(12):3804-3806.

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– 2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– 2559 กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
– 2561 กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
ศุกร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |