
เป็นปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองผิดปกติต่อยาที่ได้รับ โดยยาที่พบว่าแพ้บ่อยได้แก่ ยาปฎิชีวนะ ยาแก้ปวด ยารักษาโรคข้อ ยากันชัก ยากลุ่มเคมีบำบัด เป็นต้น กลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้แก่ โรคภูมิแพ้ หรือคนที่ได้รับยาบ่อยๆ หรือเป็นเวลานาน
อาการของแพ้ยา เช่น
- ผื่นลมพิษ นูน แดงคัน
- หน้าบวม ตาบวม
- มีไข้
- มีอาการรุนแรงหลายระบบ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับมีผื่น หรือที่เราเรียกว่า Anaphylaxis
ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดอย่างรวดเร็ว ภายหลังได้รับยาไม่กี่ชั่วโมง แต่กรณีแพ้ยาบางชนิดอาจมีอาการหลายสัปดาห์ หลังได้รับยาก็ได้ ซึ่งพบได้น้อยกว่า เช่น ไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดง ลอก ตับอักเสบ หรือต่อมน้ำเหลืองโต โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นช้า หลายระบบของร่างกาย
เมื่อไหร่ต้องไปปรึกษาแพทย์
- กรณีมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงและมีอาการหลายระบบ หรือที่เราเรียกว่า Anaphylaxis เพื่อให้การรักษาภาวะนี้โดยเร่งด่วน และหาสาเหตุว่าแพ้อะไร
- กรณีอาการไม่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้คำแนะนำในการใช้ยา
- กรณีที่สงสัยว่าแพ้ยา ควรมีบัตรติดตัวไว้เสมอ และแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับยา และ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาตัวนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ เพื่อทำการทดสอบแพ้ยา แล้วทำ desensitization หมายถึงการให้ยาทีละน้อยๆค่อยๆเพิ่มปริมาณ (วิธีนี้ทำกรณีจำเป็น ไม่สามารถใช้ยาตัวอื่นได้ และต้องทำภายในโรงพยาบาลเท่านั้น)
การวินิจฉัยแพ้ยา
- ประวัติที่มีอาการเกิดขึ้นหลังทานยา หรืออาการเป็นซ้ำๆหลังได้รับยาเดิม
- การทดสอบทางผิวหนัง หรือเจาะเลือด
- การทดสอบโดยให้ผู้ป่วยรับยาที่สงสัยว่าแพ้ แล้วสังเกตอาการที่เกิดขึ้น หลังได้รับยา ซึ่งเรียกว่า Drug Challenge Test หรือ Drug Provocation Test ซึ่งวิธีนี้ควรทำในโรงพยาบาล ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้

บทความโดย
ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน
– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness
– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย
ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม
นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด
รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair
ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก
การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |