ความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้และการป้องกันในหญิงตั้งครรภ์

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ร่วมกับการได้รับกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษ อาหาร การใช้ชีวิต ที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้

เด็กกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้คือ เด็กที่มีญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน เป็นโรคภูมิแพ้ ได้แก่ บิดา หรือมารดา หรือพี่ ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ได้แก่ ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้อาหาร โรคหืดและจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยพบว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นภูมิแพ้ จะมีความเสี่ยงมากกว่าบิดาหรือพี่น้อง

อาจประเมินความเสี่ยงจากคะแนนรวมของโรคหลักและโรครองของแต่ละคน แล้วใช้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 2 แสดงถึง ความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ ดังนี้

 

ชนิดและความรุนแรงของอาการภูมิแพ้

คนในครอบครัว

โรคหลัก(1)

โรครอง(2)

 

อาการชัดเจน

ไม่แน่ใจ

ไม่มีอาการ

อาการชัดเจน

ไม่แน่ใจ

ไม่มีอาการ

พ่อ

2

1

0

1

0.5

0

แม่

3

2

0

1

0.5

0

พี่

2

1

0

1

0.5

0

(1) โรคหลัก ได้แก่ โรคหืด, ผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้, จมูกอักเสบจากภูมิแพ้, แพ้นมวัว

(2) โรครอง ได้แก่ โรคลมพิษ, แพ้ยา, แพ้อาหารอื่นๆ, เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้

กรณีที่ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับสอง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้สูง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และให้อาหารในทารกกลุ่มเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต โดยคำแนะนำในการป้องกันโรคภูมิแพ้สำหรับหญิงตั้งครรภ์และทารกมีดังนี้

คำแนะนำในการรับประทานอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  1. กินอาหาร 5 หมู่อย่างสมดุล
  2. ไม่จำเป็นต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว ไข่ ถั่วลิสง 
  3. การงดอาหารในขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดภาวะการขาดสารอาหารได้
  4. ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ และควันบุหรี่ 
  5. การจะเลือกช่องทางคลอดโดยวิธีผ่าท้องคลอด ควรคำนึงถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นหลักเพื่อให้ทารกที่คลอดออกมานั้นมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์และมารดาที่คลอดนั้นปลอดภัยไม่มีข้อแทรกซ้อนระหว่างการคลอด

สรุปว่าในขณะตั้งครรภ์ แนะนำให้มารดารับประทานอาหารครบห้าหมู่ทั้งชนิดและปริมาณตามปกติ ไม่แนะนำรับประทาน อาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ แป้งสาลี ในปริมาณที่มากขึ้นหรือน้อยลงกว่าปกติ

คำแนะนำในการรับประทานอาหารสำหรับทารกแรกเกิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

1. นมแม่

  • แนะนำให้นมแม่อย่างเดียวจนอายุ 4-6 เดือน 
  • พบว่าสามารถป้องกันโรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้และการเกิดหลอดลมตีบวี๊ดที่อายุ 2 ปีได้

2. อาหารเสริม

  • อาหารเสริมเริ่มช่วง อายุ 4-6 เดือน เมื่อเด็กมีพัฒนาการที่พร้อมคือ นั่งโดยมีการพยุงและคอแข็ง โดยแนะนำให้เริ่มทีละชนิด และสังเกตอาการอย่างน้อย 3-5 วัน 
  • จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าการเริ่มอาหารเสริมในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มที่จะเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การเริ่มควรคำนึงถึงลักษณะของอาหาร เช่น เมล็ดถั่วอาจติดคอทารกได้

3. นมผงสูตรโปรตีนย่อยละเอียด

  • การใช้นมสูตรพิเศษ ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าการกินนมแม่ในการป้องกันโรคภูมิแพ้ แต่สามารถให้ได้กรณีนมแม่ไม่เพียงพอ
  • การให้นมเสริมชนิดย่อยโปรตีนบางส่วนหรือนมสูตรโปรตีนย่อยอย่างละเอียด อาจจะช่วยป้องกันการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้จากการแพ้โปรตีนนมวัว เมื่อนำมาใช้แทนนมวัวสูตรปกติ แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอในการสนับสนุนการใช้นมถั่วเหลือง นมแพะ ในการป้องกันภูมิแพ้ 

การดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันภูมิแพ้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ขณะอยู่ในครรภ์และหลังเกิด พบว่าการสัมผัสควันบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหืดในเด็กสูงถึง 1.7 เท่า ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็กควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น สะเก็ดรังแคของสัตว์เลี้ยง ซากแมลงสาบ จะเพิ่มความเสี่ยงในการถูกกระตุ้นและทำให้พัฒนาไปเป็นโรคหืดและภูมิแพ้อื่น ๆ
  •  หลีกเลี่ยงสารก่ภูมิแพ้ไรฝุ่น เช่น ซักผ้าปู ปลอกหมอน ผ้าห่มด้วยน้ำอุณหภูมิ 60 องศา นาน 30 นาที สัปดาห์ละครั้ง ใช้ผ้าคลุมที่นอน ปลอกหมอนกันไรฝุ่น จัดห้องนอนให้โล่ง ไม่ควรมีพรม ตุ๊กตา
  • หลีกเลี่ยงมลพิษภายในบ้าน หรือนอกบ้าน หากบริเวณบ้านใกล้โรงงานหรือใกล้ถนนที่มีมลพิษหนาแน่น อาจต้องใช้เครื่องกรองอากาศ
  • การเสริมจุลินทรีย์สุขภาพในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดในทารก  อาจช่วยลดโอกาสการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในวัยทารกได้ จนถึงอายุ 2 ปี
  • วิตามินดี มีผลต่อการปรับสมดุลของระบบอิมมูนในร่างกาย (immune modulation) โดยอาหารที่มีวิตามินสูงได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาทะเล ไข่ เนย และแหล่งวิตามินดีที่สำคัญ คือแสงแดด

สรุปคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารสำหรับสตรีตั้งครรภ์ คือ ให้ทานอาหารที่มีความหลากหลาย โดยเน้น ผักและผลไม้  ไขมันอิ่มตัวชนิดดี (fish oil, PUFA) ปลาทะเล นม ไข่ และไม่ควรให้น้ำหนักในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจนเกินไป  นอกจากนี้ไม่แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์งดอาหารประเภทที่แพ้ง่าย เช่น นม ไข่ ถั่ว อาหารทะเล เป็นต้น เพราะนอกจากจะไม่ช่วยในการป้องกันภูมิแพ้ในลูกแล้ว ยังอาจมีผลทำให้ขาดสารอาหารบางชนิดได้

บทความโดย

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

ความชำนาญพิเศษ

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน


– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness


– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย

ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม

นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด

รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair

ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก

การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
เสาร์ 09:00 – 17:00 ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้และการป้องกันในหญิงตั้งครรภ์

ความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้และการป้องกันในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุของโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ร่วมกับการได้รับกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม

Read More »

Food allergy and intolerance

โรคแพ้อาหาร Food Allergy ภาวะแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาทางอิมมูนที่ตอบสนองไวผิดปกติต่ออาหารที่รับประทาน โดยอาการที่พบแบ่งเป็นสองแบบ

Read More »

ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 กับโรคหืดและจมูกอักเสบภูมิแพ้

ปัจจุบันนี้มลภาวะทางอากาศซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพของประชากรทั้งโลก พบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั่วโลกได้รับมลพิษทางอากาศ

Read More »
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก