ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 กับโรคหืดและจมูกอักเสบภูมิแพ้

ปัจจุบันนี้มลภาวะทางอากาศซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพของประชากรทั้งโลกรวมทั้งประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก จากการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคต่างๆทั่วโลกพบว่า ประชากรทั่วโลก 9 ล้านคนเสียชีวิตจากมลพิษ โดยที่ 4.2 ล้านคนเสียชีวิตจากมลพิษภายนอก ส่วน 2.9 ล้านคนจากมลพิษภายในบ้าน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) พบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั่วโลกได้รับมลพิษทางอากาศเกิน ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกระจายเป็นวงกว้าง โดยในทุกปีมีประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากการได้รับมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดและหัวใจ และ โรคทางสมอ

มลพิษทางอากาศที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), โอโซน (O3), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) รวมทั้งฝุ่นละอองที่อยู่ในชั้นบรรยากาศซึ่งมีได้ตั้งแต่ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  ซึ่งฝุ่นละอองขนาดหยาบหรือที่เราเรียกว่า PM10 คือมีขนาดตั้งแต่ 2.5-10 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดจากการจราจรบนถนน ฝุ่นผง ซึ่งมีผลทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน เช่นแสบคอ คันคอ จาม น้ำมูก คัดจมูก คันตา แสบตา หรือคันผิวหนังได้ สำหรับฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เราเรียกว่า PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ได้จากการเผาไหม้ การผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งขนจมูกไม่สามารถกรองได้

ทำให้เข้าไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึมเข้ากระแสเลือดผ่านทางถุงลม ทำให้มีผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต มีปัญหาต่อโรคหัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ทำให้หอบกำเริบ ถุงลมโป่งพอง หลอดอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้หากเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้  ซึ่ง PM2.5  ถือว่าเป็นมลพิษที่มีผลประทบต่อสุขภาพมากที่สุด เนื่องจากเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 20 – 30 เท่า ทำให้สามารถแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆ และกระแสเลือดได้โดยตรง

ทั้งนี้ผลกระทบต่อโรคหืดและภูมิแพ้ทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับระดับ PM2.5 และระยะเวลาที่ได้รับ หากระดับ PM2.5 สูงมาก อาจทำให้เกิดอาการได้เร็วเช่น ไอ หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก คันตา คันผิวหนัง ในขณะที่หากได้รับระดับไม่สูงมาก เป็นเวลานานอาจมีผลทำให้เกิด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง สมรรถภาพปอดลดลง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหืด และเป็นมะเร็งปอดได้

โดยมีข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ทุกการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยของ PM2.5 ใน 14 วันที่ผ่านมา 1  มคก./ลบม. จะพบจำนวนผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคหืดและมีอาการกำเริบเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-5

ทุกการเพิ่มขึ้นของค่า PM2.5 10 มคก./ลบม. จะเพิ่มความเสี่ยงของการเข้ารักษาตัวที่ห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหืดมากขึ้น 1.5 เท่า โดยพบความเสี่ยงนี้มากขึ้นถึง3.6 เท่าในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคหืด เมื่อเทียบกับในผู้ใหญ่

ทารกแรกเกิดจนถึงขวบปีแรกที่ได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดที่อายุ 12 ปีได้ 2-3 เท่า และเพิ่มการเกิดภาวะหลอดลมไวที่อายุ 7 ปี โดยมลพิษมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของยีน (epigenetics) ส่งผลให้เกิดหลั่งไซโตไคม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบชนิด Th2 และ Th17 นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ (allergen sensitization) ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

สำหรับโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้นั้น การศึกษาส่วนใหญ่พบว่า PM2.5 ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค แต่อาจมีผลทำให้อาการจมูกอักเสบภูมิแพ้ และภูมิแพ้ทางตาเพิ่มขึ้น หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับ PM2.5 เป็นเวลานานอาจมีผลให้เด็กมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย

คำแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อลดผลกระทบ PM2.5 คือ

1. หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่มีค่าฝุ่นละอองจำนวนเกินมาตรฐานเป็นเวลานาน โดยเฉพาะบริเวณที่คับคั่งไปด้วยยานพาหนะและไม่มีการระบายอากาศที่ดี ซึ่งเราสามารถตรวจปริมาณฝุ่นได้จากเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ (https://www.pcd.go.th/) หรือแอพพลิเคชั่น Air4Thai (www.air4thai.pcd.go.th) โดยดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index: AQI)ของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับคือตั้งแต่ 0-201 ขึ้นไป โดยจะแบ่งเป็นสีหากระดับต่ำกว่า 50 คือคุณภาพอากาศดี หากอยู่ในช่วง 51-100 (สีเหลือง) แสดงว่าระดับคุณภาพอากาศปานกลาง ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง  ส่วนช่วง 101-200 (สีส้ม) แสดงว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ  แนะนำให้คนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงลดระยะเวลาอาการทำกิจกรรมกลางแจ้งและใส่อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนช่วงตั้งแต่ 201 เป็นต้นไป (สีแดง)

ให้ทุกคนหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน ควรอยู่ในอาคารและใส่อุปกรณ์ป้องกัน สำหรับค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่องไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำคือ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

2. ผู้ที่เสี่ยงต่อการมีอาการ คือ เด็กเล็กและผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคหืด โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หากเป็นกลุ่มเสี่ยงควรระมัดระวังตัวเองและหาทางป้องกัน โดยไม่ควรไปในที่มีความเสี่ยง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน สำหรับคนที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงถึงแม้ว่าจะเกิดอาการได้น้อย หรือช้ากว่าแต่ก็ควรหลีกเลี่ยง หากดัชนีคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

3. การใช้เครื่องกรองอากาศ มีความสำคัญมากสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่สถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ระยะน้อยกว่า 100 เมตรห่างจากถนนที่มีรถหนาแน่น บริเวณใกล้ที่จอดรถรับ-ส่ง ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือที่ก่อสร้าง โดยข้อแนะนำในการเลือกเครื่องกรองอากาศคือ ต้องเป็นเครื่องกรองชนิดฝุ่นละเอียดขนาดเล็กที่เป็น HEPA filter เท่านั้น ไม่ควรเลือกเครื่องที่ผลิตโอโซน เพราะทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ควรเลือกเครื่องที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของห้อง โดยอาจดูจากค่า Clean Air Deliver Rate (CADR) ซึ่งจะแนะนำว่าเหมาะสำหรับห้องขนาดเท่าไหร่ และอาจเลือกสำหรับห้องขนาดใหญ่ นอกจากนี้แนะนำให้นอนให้ห้องแอร์ที่ปิดมิดชิดจะดีกว่า เพื่อลดการเล็ดลอดของมลพิษจากอากาศภายนอก

4. การเลือกหน้ากากอนามัย สำหรับหน้ากากอนามัยทั่วไปนั้นสามารถป้องกันได้เฉพาะฝุ่นขนาดใหญ่แต่ไม่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งหน้ากากมาตรฐาน N95       

สามารถป้องกันฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้จึงสามารถป้องกัน PM2.5 ได้เพราะมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ 2.5 ไมครอน ไปจนถึงพวกฝุ่นควันขนาดใหญ่ในสิ่งแวดล้อม และยังป้องกันเชื้อโรคชนิดต่างๆ ทั้งเชื้อไวรัสได้อีกด้วย

ดยมีประสิทธิภาพในการกรองมากถึงร้อยละ 95 แต่หน้ากาก N95 มีข้อเสียตรงที่ ราคาแพงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป และหายใจไม่ค่อยสะดวก ดังนั้นบางรุ่นจึงมีช่องสำหรับหายใจออก (exhalation valve) ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น กรณีที่ไม่มีหน้ากาก N95 อาจใส่หน้ากากแบบธรรมดา โดยเน้นให้หน้ากากแนบหน้ามากที่สุด ก็ยังดีกว่าไม่ใส่หน้ากากเลย

5. ควรลดการทำให้เกิดมลพิษในอากาศ ด้วยการลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว หมั่นตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการเผาป่า เป็นต้น นอกจากนี้ควรลดการสร้างมลพิษภายในบ้านด้วยการงดการจุดธูป เทียน ยากันยุง สเปรย์ หรือหลีกเลี่ยงการใช้เตาที่ไม่มีเครื่องดูดควัน หรือเตาถ่านในบ้าน

สรุป ผลกระทบของ PM2.5 ที่มีต่อสุภาพนั้นมีผลต่อโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ทั้งโรคหืดและจมูกอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรหมั่นตรวจสภาพอากาศ และหาทางป้องกันตัวเอง รวมถึงใช้ยาสม่ำเสมอ ทั้งยาพ่นและรับประทาน เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง  เพื่อไม่ให้เกิดอาการกำเริบ

เอกสารอ้างอิง

  1. Rajagopalanet al. Air Pollution and Cardiovascular Disease. Journal of The American College of Cardiology 2018; 23, 2054–70.
  2. Schraufnagel DE et al. Air Pollution and Noncommunicable Diseases. Chest 2018
  3. www.air4thai.pcd.go.th
  4. Guide to Clean Air Cleaner in Home. US Environmental Protection Agency
  5. Fan J et al. Environ Sci Pollut Res Int.2016
  6. Sompornrattanaphan M et al. Asian Pac J Allergy Immunol 2020.

แพ็กเกจตรวจหลอดลมอักเสบด้วย FENO TEST | โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Hospital

PM 2.5 มลพิษร้าย อันตรายกับหลอดลม เพียงเป่าลมหายใจใส่เครื่องมือวัด ใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถรู้ผลได้ทันที

ตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา

ซื้อแพ็กเกจผ่าน Mbrace
Lorem Ipsum is simply dumy text of the printing typesetting industry lorem ipsum.

เงื่อนไขการใช้บริการ

  • ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • กรุณานัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ ที่ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ชั้น 1 โทร 02 022 0840

บทความโดย

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

ความชำนาญพิเศษ

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน


– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness


– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย

ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม

นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด

รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair

ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก

การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
เสาร์ 09:00 – 17:00 ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาผื่นแพ้ผิวหนัง

การรักษาโรคผื่นแพ้ผิวหนังแบ่งเป็น สองระยะ คือระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยระยะเฉียบพลัน จะมีอาการบวม แดง อักเสบ คันมาก ผิวหนังแฉะ เยิ้ม

Read More »
ภาวะอ้วน-อดนอน

ภาวะอ้วน-อดนอน ต้นเหตุโรคหืดและภูมิแพ้ ทำคนไทยเสียชีวิต 4 พันคนต่อปี

คนไทยเสียชีวิตจาก “โรคหืดและภูมิแพ้” เฉลี่ย 4,000 คน/ปี เผยปัจจัยป่วยสูงสุดจากภาวะอ้วน ความเครียด การอดนอน และมลภาวะทางอากาศ โดยการปรับพฤติกรรมสามารถรักษาหายขาดได้

Read More »
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก