
ภูมิแพ้อาหารแฝง ต่างจากภูมิแพ้เฉียบพลันอย่างไร
โรคแพ้อาหาร Food Allergy ภาวะแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาทางอิมมูนที่ตอบสนองไวผิดปกติต่ออาหารที่รับประทาน โดยอาการที่พบแบ่งเป็นสองแบบ
- อาการเฉียบพลัน
มักมีอาการหลังจากรับประทานอาหารชนิดนั้นทันที หรือภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และบางครั้งอาจมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งอาการที่เกิดจากระบบอิมมูนชนิด IgE โดยอาการที่พบได้แก่ ผื่นลมพิษ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำมูก หอบ ผื่นแพ้ผิวหนัง หรืออาจมีอาการหลายระบบร่วมกันเรียกว่า anaphylaxis ได้แก่มีอาการผิวหนัง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ความดันโลหิตต่ำ
- อาการช้าหลายสัปดาห์หลังจากรับประทานอาหาร
โดยกรณีเกิดจากปฏิกิริยาที่ไม่ผ่านอิมมูนชนิด IgE หรือเกิดจากปฎิกิริยาชนิดผสม ที่ผ่าน IgE ได้บางส่วน อาจมีอาการหลังรับประทานอาหารไปหลายสัปดาห์ ซึ่งอาการที่พบได้แก่ ผื่นแพ้ผิวหนัง (eczema) ปวดท้อง ถ่ายเหลว อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ซึ่งกรณีมีอาการแบบนี้การตรวจเลือดเพื่อดูค่า IgE ต่ออาหารอาจให้ผลลบได้
แพ้อาหารแฝงหรือ Food Intolerance
ไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาทางอิมมูน แต่เกิดความผิดปกติทางเมตาโบลิซึม ที่ทำให้ไม่สามารถย่อยอาหารชนิดนั้นได้สมบูรณ์ หรืออาจเกิดจากการที่มีการอักเสบในร่างกายทำให้ย่อยอาหารชนิดนั้นได้ไม่ดี มักจะเกิดในคนที่ทานอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ จำนวนมาก เป็นเวลานาน หรือทานอาหารที่กระตุ้นให้อักเสบ เช่น น้ำตาลหรือไขมันสูง ทาน process food ส่วนใหญ่อาการจะเกิดขึ้นช้าๆ ไม่จำเพาะ และไม่ได้เป็นหลังทานอาหารทันที มักจะมีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง เช่น ภาวะท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องอืด ปวดท้องบ่อย จุกแน่น มีแก๊สในท้อง ลำไส้แปรปรวน ไมเกรน ผื่นคัน
วิธีสังเกตุอาการของโรคแพ้อาหาร แบ่งเป็นสองกรณีคือ
- อาการเรื้อรังเป็นๆหายๆ
ที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น คันตามตัว ผิวหนังอักเสบ ท้องอืด ท้องเสียเรื้อรัง อาเจียนบ่อย ถ่ายเป็นเลือด
- อาการเฉียบพลัน
ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษหน้าบวม ตัวบวม แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก หากมีอาการรุนแรง หลายระบบ ให้รีบไปโรงพยาบาล ซึ่งอาการแบบนี้มักจะเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันชนิด IgE ต่ออาหารชนิดนั้นที่สูง
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการทางผิวหนังหรือทางเดินอาหารเป็นๆหายๆ หรือมีอาการหลังได้รับอาหาร หรืออาจมีอาการหลายๆระบบโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งการหาสาเหตุมีสองวิธีคือ
1. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือ Skin Prick Test (SPT) วิธีนี้อาจให้ทราบคร่าวๆว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นจากอาหารหรือไม่ แต่ว่ามีความไวและความจำเพาะยังต่ำ เหมาะสำหรับใช้คัดกรองเบื้อต้น โดยกรณีที่ทดสอบให้ผลบวก ก็จะแพ้จริงประมาณร้อยละ 50 เพราะคนที่ไม่แพ้อาหารก็อาจให้ผลบวกได้ แต่กรณีที่ให้ผลลบ ก็แสดงว่าไม่เป็นแพ้อาหารถึงร้อยละ 95 แสดงว่าการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เหมาะสำหรับที่จะแยกโรคออกมากกว่า นอกจากนี้การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังคนไข้ควรเตรียมตัวก่อนมาทดสอบ โดยงดยาต้านฮีสามีน (ยาแก้แพ้) ก่อนมาทดสอบอย่างน้อย 5-7 วัน และทราบผลภายใน 15 นาที
3. การตรวจเลือดวัดระดับ IgG ต่ออาหาร วิธีนี้ไม่ได้เป็นการยืนยันชัดเจนว่าแพ้อาหารชนิดนั้นหรือไม่ เพราะในคนปกติที่ไม่แพ้อาหารก็สามารถมีค่าระดับ IgG ในเลือดที่สูงได้ แต่การตรวจพบค่า IgG ต่ออาหารชนิดบางชนิดที่สูงมากเกินไป อาจช่วยในการให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนวิธีการทานอาหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กรณีที่พบว่ามีค่าสูงมากต่ออาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง
2. การตรวจเลือดวัดระดับ Specific IgE หรือ IgE ที่จำเพาะต่ออาหารชนิดนั้น เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อาจให้ผลทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นลบได้ หรือกรณีคนไข้สามารถงดยาแพ้ได้ หรือไม่สามรถทดสอบทางผิวหนังได้ ซึ่งให้ผลไม่ค่อยต่างกันกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เหมาะสำหรับใช้คัดกรองว่าเป็นแพ้อาหารหรือไม่ และติดตามอาการแพ้อาหารว่าดีขึ้นแล้วยัง โดยให้ผลเป็นตัวเลขชัดเจน โดยทั่วไปการตรวจวิธีนี้จะทราบผลภายใน 1-2 สัปดาห์

บทความโดย
ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน
– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness
– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย
ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม
นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด
รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair
ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก
การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |