
การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจหาสาเหตุของการแพ้ โดยการนำสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัยหยดที่ผิวหนังแล้วใช้อุปกรณ์ในการสะกิดผ่านชั้นหนังกำพร้า เพื่อดูปฎิกิรยาการแพ้ที่เกิดขึ้น
ข้อดี
- ทำง่าย ค่าใช้จ่ายในการตรวจถูกกว่าการตรวจเลือด
- 2.ความแม่นยำสูง (ความไว 90%)
- สามารถนำอาหารทุกชนิดมาทดสอบได้ (Prick to Prick test)
- ปลอดภัย (โอกาสแพ้รุนแรงพบได้น้อย 1:10,000)
- ทราบผลภายในวันที่ทำการทดสอบ
ข้อจำกัด
- ต้องหยุดยาแก้แพ้ก่อนมาตรวจ อย่างน้อย 7วัน (ตามภาพประกอบ)
- หากผื่นอักเสบบริเวณตำแหน่งที่จะทำการทดสอบจะให้ผลบวกลวง
ขั้นตอนการทำ
- ทำความสะอาดผิวหนังด้วย 70% Alcohol
- ทำการทดสอบ Histamine (Positive control ซึ่งต้องมีปฎิกิริยานูนแดงเกิดขึ้น หากไม่ขึ้นแสดงว่าอาจมียากดการทดสอบ) และ น้ำเกลือ (Negative control )
- หยดสารก่อภูมิแพ้ทีสงสัย ที่บริเวณท้องแขนหรือหลัง
- ใช้อุปกรณ์สะกิดที่ผิว (ในบางรายที่ผิวบางอาจมีเลือดออกเล็กน้อยได้)
- รออ่านผลที่ 15 นาทีหลังสะกิดเสร็จ หากให้ผลบวกจะมีผื่นนุนแดงและคันในตำแหน่งที่ทดสอบได้
การอ่านผล
การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังอ่านผล 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก อ่านผลแพ้เฉียบพลันที่ 15 นาที (Immediate reaction) โดยหากมีสารก่อภูมิแพ้ใดที่มีปฎิกิริยาการแพ้มากกว่า positive control ถือว่าให้ผลบวก
ขั้นตอนที่2 การอ่านผลแพ้ช้า (Late phase reaction)
หลังทดสอบที่ 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมง (สามารถอ่านหลังเวลาที่กำหนดได้) ให้ถ่ายรูปบริเวณทีั่ทำการทดสอบทุกเวลาที่กำหนด หากพบมีตำแหน่งใดที่นูนแดงใหญ่กว่า Histamine (positive control) แสดงว่าให้ผลบวก
(48 ชั่วโมงหลังการทดสอบ ให้งดยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน/ยา singulair และการทายาสเตียรอยด์ตำแหน่งที่ทดสอบจนกว่าจะอ่านผลเสร็จ)

การดูแลหลังทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง
- หลังการทดสอบควรนั่งพักที่ ร.พ. อย่างน้อย 30 นาที เพื่อเฝ้าระวังภาวะแพ้รุนแรง (โอกาสเกิดน้อยมาก)
- สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ เลี่ยงการฟอกสบู่ตำแหน่งที่ทดสอบเพื่ออ่านผลแพ้ช้า หากตำแหน่งที่ปากกาขีดเพื่อระบุตำแหน่งของการทดสอบจางไปให้ขีดเติมซ้ำจนกว่าอ่านผลแพ้ช้าเสร็จ
- เลี่ยงการทานยาแก้แพ้ หรือทายาสเตียรอยด์ตำแหน่งที่ทดสอบเพื่ออ่านผลแพ้ช้า
- ในผูัป่วยผื่นแพ้ผิวหนังบางรายที่ปฎิกริยาแพ้มากอาจมีผื่นเห่อที่บริเวณอื่นของร่างกายได้ ซึ่งหากคันมากสา่มารถทายาสเตียรอยด์ เช่น 0.1% TA, Elomet cream ได้
ผลข้างเคียงจากการทดสอบ
ผู้ป่วยจะมีการแพ้สารก่อภูมิแพ้ จะมีอาการคันตำแหน่งที่ทดสอบซึ่งจะค่อยๆลดลงและหายไปที่ 1-2 ชั่วโมง หากแพ้มากบางรายอาจมีแผลเป็นได้ (พบน้อย สามารถลดโอกาสเกิดได้โดยการทายาสเตียรอยด์)
ในบางรายที่แพ้รุนแรงอาจมีภาวะ anaphylaxis ตามหลังการทดสอบได้ แต่พบน้อยมาก
กรณีที่แพทย์แนะนำให้เตรียมอาหารบางประเภทมาจากที่บ้านเพื่อทำการทดสอบ
- แยกภาชนะในการเตรียม (มีดที่ใช้หั่น, เขียง, หม้อ) เพื่อป้องกัันการปนเปื้อน หรือหากทำต่อกันหลายชนิด ให้ทำการล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างจานให้สะอาด ก่อนเตรียมอาหารชนิดถัดไป
- หั่นอาหารที่ต้องการนำมาทดสอบ เป็นชิ้น (ประมาณ 1-2 นิ้ว) แยกใส่ถุง **ห้ามใส่รวมในถุงหรือบรรจุภัณฑ์เดียวกัน**
- ให้ปากกาเขียนชนิดอาหารที่เตรียม ให้เรียบร้อยทุกชนิด

บทความโดย
พญ. ธัชขวัญ อินทปันตี
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. ธัชขวัญ อินทปันตี
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์
– กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 08:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 08:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พุธ | 08:00 – 14:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 13:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อาทิตย์ | 08:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |