
ปัจจุบันการหาสาเหตุว่า แพ้สารก่อภูมิแพ้ นอกจากการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง (Skin Prick Test) แล้ว สามารถตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันชนิดIgEต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้โดยไม่ต้องหยุดยาแก้แพ้ก่อนมาตรวจ
ในการตรวจเลือดหา Specific IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้สามารถตรวจได้ 3 เทคนิค
1. Immunoblot
เป็นการตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าคนไข้มีการพบภูมิชนิด IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้ใดบ้าง มักใช้เป็นการตรวจเบื้องต้น (Screening) ในผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายไม่สูง และสามารถตรวจ IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้ได้หลายชนิดพร้อมๆกัน มีข้อจำกัดคือ ความไวน้อยกว่าการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังและการตรวจเลือดด้วยเทคนิคอื่น (มีโอกาสให้ผลลบลวงหรือแพ้แต่ตรวจไม่เจอ ได้ 20-30%)
2. Immunocap
เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิชนิด IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด เป็น Standard test ในการตรวจเลือด มีความแม่นยำสูง (เนื่องจากมีการศึกษาว่าหากค่าสูงกว่าค่า cut off ของสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด จะพบว่าแพ้จริง) มักนำมาใช้ในผู้ป่วยที่ทราบว่าแพ้เฉียบพลันต่อสารก่อภูมิแพ้ใด ใช้ในการวางแผนการรักษาและติดตามระดับว่าดีขึ้นหรือไม่
ข้อจำกัด ค่าใช้จ่ายในการตรวจสูงกว่า Immunoblot
3. Component Resolved diagnosis(CRD)
เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันชนิด IgE ต่อแต่ละโมเลกุลของสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งแต่ละโมเลกุลจะบอกการพยากรณ์โรคว่ามีโอกาสหายมากน้อยแค่ไหน หรือสารก่อภูมิแพ้ใดที่เป็นตัวหลักที่ก่อให้เกิดอาการ มีความไวและความแม่นยำสูง
ในการตรวจ 1 ครั้งจะได้สามารถตรวจกับสารก่อภูมิแพ้ได้หลายชนิด มักนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการมากหรืออาการรุนแรงหรือผุ้ป่วยที่หาสาเหตุไม่เจอ
ข้อจำกัด ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการตรวจ Immunoblot และ Immunocap

ในผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จะให้คำแนะนำว่าเหมาะสมกับการตรวจวิธีใด โดยแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษา กรณีทีผู้ป่วยมีอาการแพ้แบบเฉียบพลันแพทย์จะแนะนำให้ตรวจเลือด (Immunoblot หรือ Immunocap) หรือทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุ หากให้ผลลบแต่ผู้ป่วยยังมีอาการที่สงสัยหรืออาการรุนแรงแต่หาสาเหตุไม่พบแพทย์จะแนะนำให้ตรวจ CRD และทำ Oral Challenge (ทดสอบการแพ้โดยการรับประทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้) ในขั้นตอนถัดไป
ทางสมาคมโรคภูมิแพ้แห่งประเทศไทยและสมาคมภูมิแพ้ในประเทศต่างๆ ไม่แนะนำให้ทำการตรวจหาภูมิชนิด IgG เนื่องจากพบว่าผลเลือดไม่สัมพันธ์กับอาการคนไข้ และให้ผลบวกลวงสูงมา (ผลเลือดขึ้นว่าแพ้ แต่ผู้ป่วยทานได้ไม่มีอาการที่ผิดปกติ)

บทความโดย
พญ. ธัชขวัญ อินทปันตี
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. ธัชขวัญ อินทปันตี
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์
– กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 08:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 08:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พุธ | 08:00 – 14:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 13:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อาทิตย์ | 08:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |