
เป็นปฎิกิริยาอาการแพ้เฉียบพลันที่เกิดขึ้นหลายระบบของร่างกายในเวลาเดียวกันหรือเวลาไล่เลี่ยกัน และมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่อาการจะเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาทีจนถึง ชั่วโมงหลังจากได้รับยา อาหาร หรือสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัย ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและทราบถึงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นหากเกิดอาการ
สาเหตุของการเกิด Anaphylaxis ที่พบบ่อย
1. อาหาร (เช่น อาหารทะเล, นม, ไข่ , แป้งสาลี, ถั่วเปลือกแข็ง)
2. ยา หรือวัคซีน
3. แมลงตระกูลHymenoptera ได้แก่ ผึ้ง ต่อ แตน มด
4. อื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ(Latex), น้ำอสุจิ
5. ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) พบได้ 8-60%
อาการและอาการแสดงของ Anaphylaxis
สามารถมีอาการหลายระบบ ได้แก่
ระบบผิวหนังและเยื่อบุ – ลมพิษ ผื่นแดง คัน มีการบวมของเยื่อบุเช่น ริมฝีปาก เปลือกตา ใบหู หรือมือเท้า
ระบบทางเดินหายใจ – คัดจมูก น้ำมุก ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ จุกแน่นที่คอ หายใจมีเสียงวี๊ด
ระบบทางเดินอาหาร – คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว
ระบบประสาท– เวียนศีรษะ มึนงง เป็นลม
ระบบหัวใจ – ความดันต่ำ ชีพจรเบา
โดยอาการที่พบมากที่สุด คือ อาการในระบบผิวหนัง รองลงมาได้แก่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ และทางเดินอาหาร
ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดงทางผิวหนังได้
เกณฑ์การวินิจฉัย
ภาวะAnaphylaxis ใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัย(Criteria for diagnosis) หากผู้ป่วยมีอาการครบเกณฑ์ข้อใดดังรูป

การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
1.ตรวจเพื่อหาสารก่อภุมิแพ้ที่อาจเป็นสาเหตุ
โดยการตรวจเลือดหาIgEต่อสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัย(สามารถตรวจได้เลยไม่ต้องหยุดยาแก้แพ้) หรือ ทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง (ควรตรวจหลังเกิดอาการ Anaphylaxis เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์) ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณา ตรวจปฎิกริรยาภูมิแพ้โดยการกิน (Oral Challenge Test)
2.ตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
ในผู้ป่วยบางรายที่อาจมีอาการไม่ชัดเจน แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจ Serum tryptase เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโดยทำการตรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรก ภายใน 1-5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ และครั้งที่ 2 ที่ 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้รุนแรงจากอาหารอาจพบว่า serum tryptase ไม่เพิ่มขึ้นได้

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะ Anaphylaxis
1. หยุดการรับประทานหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องสงสัยทันที
2. จัดท่าผู้ป่วย ให้อยู่ในท่านอนราบ หากมีอาการแน่นหน้าอกหรืออาเจียน ให้อยู่ในท่านั่งขาเหยียดพื้น
ห้ามยืน เดิน หรือนั่งห้อยขาเนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงที่ความดันตกได้
3. ฉีดAdrenaline ทันที ที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก
4 โทรเรียกรถฉุกเฉินและไปที่โรงพยาบาล ห้ามลุกเดินหรือยืนเนื่องจากอาจมีอาการหน้ามืดหรือเป็นลมได้
5 หากหลังฉีด 5นาที ไม่ดีขึ้น สามารถฉีดยาAdrenalineซ้ำอีกครั้งได้
ทำไมผู้ป่วย Anaphylaxis ยังต้องไป ร.พ.แม้จะได้รับการฉีด Adrenaline แล้ว?
เนื่องจาก 20% ของผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดซ้ำได้อีกภายใน48ชม (Biphasic reaction ) ดังนั้น หากมีอาการแพ้รุนแรงต้องไปร.พ.เพื่อเฝ้าสังเกตอาการอย่างน้อย 6-8ชม (หากมีอาการรุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้admitขึ้นกับระดับอาการของผู้ป่วย)
ภาวะ anaphylaxis ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยทุกรายทีได้รับการวินิจฉัยควรพบแพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ เพื่อหาสาเหตุและคำแนะนำในการดูแลตัวเองเบื้องต้นหากเกิดอาการ, พกยา Adrenaline ติดตัวสำหรับกรณีฉุกเฉิน เพื่อลดโอกาสเกิดอาการซ้ำและลดโอกาสเสียชีวิต

บทความโดย
พญ. ธัชขวัญ อินทปันตี
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. ธัชขวัญ อินทปันตี
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์
– กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 08:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 08:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พุธ | 08:00 – 14:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 13:00 – 18:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อาทิตย์ | 08:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |