
โรค COVID-19 ได้มีแพร่ในวงกว้างในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นไวรัสที่มีผลต่อทางเดินหายใจ ในช่วงแรกได้มีข้อสมมุติฐานว่า ไวรัส SAR-CoV2 น่าจะทำให้โรคหอบหืดมีความรุนแรงและติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้จากวารสาร Journal of Allergy and Clinical Immunology in Practice เดือนมีนาคมปี ค.ศ. 2022 ได้ มีการรวบรวมข้อมูล COVID-19 infection and Asthmaและสรุปตามหัวข้อ ดังนี้
1. Clinical outcome หลังการติดเชื้อ SAR-CoV2
การศึกษาส่วนใหญ่พบว่าโรคหอบหืดไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการ severe COVID-19 infection เชื่อว่าอธิบายได้จากการลดลงของ Angiotensin-converting enzyme-2 (ACE2) receptor expression ที่ upper respiratory epithelium ในผู้ป่วยหอบหืด ซึ่งเป็นทางเข้าของไวรัส SAR-CoV2 โดยการศึกษา Urban Environment and Childhood Asthma study วิเคราะห์ที่ nasal epithelium พบว่ามีความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างระดับ aeroallergen sensitization และ ACE2 receptor expression กลไกเชื่อว่าสัมพันธ์กับ type 2 biomarkers เช่นinterleukin-13 inflammatory pathway
อย่างไรก็ตามในกลุ่มย่อยที่มีการควบคุมโรคไม่ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการการเกิดโรค COVID-19 รุนแรงได้ การศึกษาของ Huang et al. รวบรวมคนไข้ผู้ใหญ่ COVID-19 กว่า 60,000 คน แบ่งคนไข้หอบหืดเป็นกลุ่มที่ควบคุมอาการได้ดีหรือดีไม่ดี โดยวัดจาการมี clinical visits ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา การศึกษานี้พบว่ากลุ่มคนที่มี active asthma นั้นมีความเสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาล,การใช้ intensive respiratory support และการนอน intensive care unit มากกว่า inactive asthma คิดเป็น odds ratio 1.47; P < 0.05
นอกจากนั้นการศึกษาของ Adir Y et al. ยังพบว่าหากผู้ป่วยหอบหืดมีการใช้ systemic corticosteroid ภายในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมาจะสัมพันธ์กับ moderate to severe COVID-19 infection โดยมี positive correlation ระหว่างจำนวนครั้งการใช้ systemic corticosteroid และความรุนแรงของโรค COVID-19 โดยพบว่าหากใช้มากกว่า 2 prescriptions จะมีการเพิ่มของ hazard ratio มากที่สุด (รูปที่ 1)
2. Asthma exacerbation และ COVID-19 infection
มีหลักฐานพบว่า COVID-19 ไม่กระตุ้นในเกิดการกำเริบของหอบหืดมากขึ้น อย่างไรก็ตามไวรัสทางเดินหายใจมักทำให้เกิดการกระตุ้น post-viral airway hyperresponsiveness ได้เป็นอาทิตย์ถึงเดือน ซึ่งการมี asthma exacerbations ก่อน COVID exposure อาจทำให้เกิด extended airway hyperresponsiveness ได้
3. COVID19 Vaccine efficacy และ safety ในผู้ป่วย asthma
ความปลอดภัยของวัคซีน ไม่พบว่าผู้ป่วยหอบหืดมีความเสี่ยงต่อการแพ้วัคซีน COVID-19 ที่เพิ่มขึ้น หากไม่มีประวัติแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน COVID-19 มาก่อน
ประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่มีหลักฐานพบว่าผู้ป่วยหอบหืดได้รับประสิทธิภาพขากวัคซีนน้อยกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่ใช้ corticosteroids ในปริมาณสูงเพิ่มควบคุมโรคหอบหืดอาจทำให้ การลดลงของ immune response ต่อวัคซีนได้
4. Long-haul COVID และ Asthma
การศึกษาปัจจุบันยังไม่พบความสัมพันธ์ของการเกิด long-haul COVID ที่มากกว่าในผู้ป่วยหอบหืดแต่ข้อมูลในกลุ่มนี้ยังมีจำกัด คำแนะนำปัจจุบัน ให้ติดตามอย่างน้อย 3 เดือนหรือนานกว่า โดยพิจารณาการตรวจ 6-minute walk, echocardiogram, และ/หรือ chest computed tomography หากมี chest X-rays หรือ pulmonary function test ที่ผิดปกติ (รูปที่ 2)
Covid 19 and Asthma
งานวิจัยล่าสุดจาก Journal of allergy and clinical immunology มีนาคม 2564 รวบรวมข้อมูล สรุปว่า ผู้ป่วยหอบหืดไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อCOVID19 เชื่อว่าเกิดจากการที่ผู้ป่วยภูมิแพ้หอบหืดมีทางเข้าของไวรัสหรือรีเซปเตอร์ ชื่อACE2 ที่ลดลง ในทางเดินหายใจส่วนต้น
ในส่วนของการเกิดlong COVID หลังหายจากอาการป่วย ยังไม่พบว่าทำให้เกิดอาการมากกว่าคนไม่เป็นโรคหอบหืด อย่างไรก็ตาม การติดตามอาการถึง 6เดือน ด้วยการตรวจสมรรถภาพทางปอด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ถ้าสงสัยลิ่มเลือดอุกตันปอด ตามอาการ
เอกสารอ้างอิง
- Philip A. Palmon, Daniel J. Jackson, and Loren C. Denlinger. COVID-19 Infections and Asthma. J Allergy Clin Immunol Pract 2022;10:658-63
- Huang BZ, Chen Z, Sidell MA, Eckel SP, Martinez MP, Lurmann F, et al. Asthma disease status, COPD, and COVID-19 severity in a large multiethnic population. J Allergy Clin Immunol Pract 2021;9:3621-3628.e2
- Adir Y, Humbert M, Saliba W. COVID-19 risk and outcomes in adult asthmatic patients treated with biologics or systemic corticosteroids: nationwide real-world evidence. J Allergy Clin Immunol 2021;148:361-367.e13.

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– 2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– 2559 กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
– 2561 กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
ศุกร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |