
อุบัติการณ์การแพ้กุ้ง
พบแพ้กุ้งมักพบในผู้ใหญ่หรือเด็กโตมากกว่า ประมาณ 42% พบในเด็กเล็ก 12-20% มักเป็นการแพ้ชนิดเฉียบพลัน มีการรายงานการแพ้ชนิดรุนแรงได้และ พบมีการแพ้ที่พบทีหลังเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ได้
ส่วนประกอบและสารก่อภูมิแพ้จากกุ้ง
จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยบางคนแพ้เฉพาะบางส่วนของกุ้ง เนื่องจากแต่ละส่วนของกุ้งมีสาร ที่ทำให้เกิดการแพ้ไม่เหมือนกัน
- เนื้อกุ้ง จากบริเวณกล้ามเนื้อท้องของกุ้ง เกิดจากสารจำพวกโทรโปไมโอซิน (Tropomyosin) เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยเป็นหลักในการแพ้กุ้ง สารนี้ยังพบใน สัตว์ทะเลเปลือกแข็งชนิดอื่น และสัตว์อื่นๆที่เป็นต้นเหตุของภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น ไรฝุ่น หรือ แมลงสาบ ได้อีกด้วย ดังรูปที่ 1
- หัวกุ้ง ซึ่งมีอวัยวะหัวใจของกุ้ง มีสารที่ทำให้แพ้ได้แก่ ฮีโมไซยานิน (Hemocyanin)
- แพ้ส่วนประกอบอื่นๆของกุ้ง ข้อมูลการแพ้ยังไม่ชัดเจน
- แพ้สารเจือปน สารพิษ หรือพยาธิที่มาจากกุ้ง เช่น อะนิซาคิส (anisakis)
นอกจากนั้น สายพันธุ์ของกุ้งยังมีผลต่อการแพ้อีกด้วย ผู้ป่วยบางคนแพ้เฉพาะบางสายพันธุ์ของกุ้ง สามารถแบ่งชนิดสายพันธุ์กุ้ง ได้ดังนี้
- สายพันธุ์น้ำจืด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม
- สายพันธุ์น้ำเค็ม ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย กุ้งขาว กุ้งแดง กุ้งทราย เป็นต้น
อาการแพ้
ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการแพ้เฉียบพลัน เช่น อาการผื่น ลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจลำบาก หลังกินไม่กี่นาทีถึงชั่วโมง ลักษณะอาการแพ้อย่างอื่นที่พบได้ เช่น อาการแพ้ไม่เฉียบพลัน หรืออาการแพ้อาหารที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกายกระตุ้น เรียกว่า food-dependent exercise-induced anaphylaxis (FDEIA)
ในผู้ป่วยบางคน ที่มีอาการเฉพาะบางครั้งที่รับประทาน สาเหตุขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ปริมาณที่รับประทาน ส่วนหรือชนิดของกุ้ง และ ความไวของผู้ป่วยขณะที่รับประทาน โดยหากมีปัจจัยส่งเสริมการแพ้อาจทำให้แพ้ง่ายขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ การออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ การมีประจำเดือน หรือ การรับประทานยาแก้ปวดประเภท NSAIDS (เช่น ไอบูโปรเพน ไดโคฟีแนก นาโพรเซน)เป็นต้น
การแพ้กุ้งอาจจะพบการแพ้ข้ามกลุ่มไปยังอาหารทะเลอย่างอื่นได้ โดย 75 ถึง 80% พบแพ้สัตว์ทะเลเปลือกแข็งร่วมได้ เช่นปู กั้ง ล๊อบสเตอร์ ในขนาดที่ 40% พบแพ้ข้ามกลุ่มไปยังอาหารทะเลจำพวกหอยหมึก

แพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ (20) จุด ครอบคลุมการตรวจภูมิแพ้อาหารและจมูก
ตรวจภูมิแพ้อาหาร หรือตรวจภูมิแพ้จมูก ราคาเดียว 4,000 บาท!!
Promotion พิเศษ เริ่มวันที่ 22 กรกฏาคม – 31 ธันวาคม 2566
การรักษาและการดูแลตนเอง
ในปัจจุบันการรักษาแพ้กุ้งขึ้นอยู่กับอาการแพ้และปริมาณที่ทำให้แพ้ การรักษาส่วนมากยังเป็นการหลีกเลี่ยงการรับประทานโดยเฉพาะสายพันธุ์หรือส่วนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ในปัจจุบันเริ่มมีการรักษาที่เรียกว่าการสร้างภูมิต้านทานโดยการรับประทานทางปาก หรือ oral immunotherapy อย่างไรก็ตามการรักษานี้มีที่ใช้และหลักฐานชัดเจนในการแพ้ ถั่วลิสง นมวัว ไข่ไก่ หรือ แป้งสาลี โดยในอาหารทะเลนั้นข้อมูลยังมีจำกัด
ตัวอย่างอาหารที่มีส่วนประกอบของกุ้ง ได้แก่ แกง แกงเผ็ด, แกงเขียวหวาน, แกงส้ม, แกงเหลือง, แกงเทโพ, แกงไตปลา, แกงคั่ว, แกงอ่อม, พะแนง, แกงเลียง, ขนมจีนน้ำยา, น้ำพริกมะขาม, น้ำพริกมะม่วง, น้ำพริกกะปิ, น้ำพริกลงเรือ ข้าวเกรียบกุ้ง, หอยจ๊อ, ลูกชิ้นกุ้ง, เครื่องปรุง เช่น กะปิ, น้ำข้าวยำ, ขนมปลาเส้น เป็นต้น

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– 2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– 2559 กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
– 2561 กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
ศุกร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |