แพ้อาหาร อันตรายแค่ไหน

ภาวะแพ้อาหารคืออะไร

ภาวะแพ้อาหาร คือ ภาวะที่ร่างกายมีภูมิไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นอาหาร คำว่าไวเกินคือคนปกติกินอาหารไม่มีอาการ แต่เรากินแล้วเป็น อาการนี้มีตั้งแต่อาการทางผิวหนัง บางคนอาจจะเป็นลมพิษ คือผื่นนูนแดงคัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งถึงสองชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร หรือว่าเป็นผื่นแพ้ผิวหนังที่เป็นแห้งๆ คันๆ ตามข้อพับ อาการพวกนี้อาจจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารไปหลายสัปดาห์แล้วก็ได้

นอกจากนี้ก็เป็นอาการทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ท้องเสียเรื้อรัง หรือบางคนก็ถ่ายเป็นเลือด รวมไปถึงอาจมีอาการทางเดินหายใจอย่างอื่น เช่น มีอาการเหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกหรือมีอาการในทุกๆระบบของร่างกาย ทั้งผิวหนัง ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจก็เป็นได้ ซึ่งพวกนี้ก็จะเป็นซ้ำทุกครั้งหลังจากได้รับอาหารชนิดเดิมๆ

สาเหตุและการรักษาของภาวะแพ้อาหาร

สาเหตุการแพ้อาหารเกิดขึ้นได้จากหลายอย่าง ปัจจัยหลักๆคือเรื่องพันธุกรรม ส่วนใหญ่ก็อาจมีประวัติเรื่องโรคภูมิแพ้ในครอบครัวโดยไม่เกี่ยวกับการแพ้อาหาร หรืออาจจะมีประวัติแพ้อาหารในครอบครัวได้ อีกปัจจัยคือพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เนื่องจากปัจจุบันคนแพ้อาหารเยอะเพราะว่าลักษณะพฤติกรรมการรับประทาน เช่น การรับประทานอะไรที่มากเกินไป

ทำให้บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าการแพ้อาหารเนี่ยต้องมีอาการหลังจากทานครั้งแรก ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด หลายคนมีพฤติกรรมที่ทานอาหารชนิดนั้นซ้ำๆแล้วทานมากๆจากไม่แพ้ก็เปลี่ยนเป็นแพ้ได้ เพราะฉะนั้นการรับประทานอาหารทุกอย่าง ต้องอยู่ในจุดที่สมดุล ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป

เมื่อเกิดอาการแพ้แล้วทำยังไง

การดูแลตัวเองเบื้องต้นคือภูมิแพ้อาหารมีสองประเภทคือ ชนิดเฉียบพลันกับชนิดเรื้อรัง

ภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน

ถ้ามีอาการเกิดขึ้นรวดเร็วเฉียบพลันที่เรียกว่าภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) พวกนี้จะมีลักษณะเด่น คือมีอาการหลังจากรับประทานอาหารชนิดนั้นภายในเวลาไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีอาการผื่นลมพิษร่วมกับอาการระบบอื่น เช่นแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกคลื่นไส้ อาเจียน พวกนี้

ต้องดูแลตัวเองฉุกเฉินเลยเพราะว่าถ้าเกิดเราไม่ช่วยตอนนั้นคนไข้อาจจะเสียชีวิตได้โดยมีการดูแลตัวเองเบื้องต้น คือการปักยาช่วยชีวิต (Epinephrine Adrenaline) ซึ่งพวกนี้จะมีเป็นปากกาช่วยชีวิตอยู่แล้ว ถ้าเกิดมีภาวะนี้ก็มาปรึกษาแพทย์ได้ แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุแล้วก็จะให้ปากกา EpiPen ที่สามารถฉีดช่วยชีวิตได้

ภูมิแพ้ชนิดเรื้อรัง

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกต ถ้าสงสัยหรือไม่มั่นใจอะไรที่เป็นเรื้อรังแล้วมีอาการเป็นๆหายๆ เราอาจจะมาตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะมีวิธีตรวจทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังหรือเจาะเลือดเพราะหลักสำคัญของการแพ้อาหารคือต้องทราบสาเหตุ ถ้าทราบแล้ว เราจะหลีกเลี่ยงอย่างเดียว เพราะว่าอาหารหลายชนิดพอหลีกเลี่ยงไปสักพัก ร่างกายเราจะลืมและจะทำให้เราสามารถที่จะกลับมารับประทานใหม่ได้ค่ะ

อาหารบางชนิดตอนเด็กทานแล้วไม่แพ้ โตขึ้นพอมาทานแล้วกลับเกิดอาการแพ้ สาเหตุมาจากอะไร

เรื่องนี้เกี่ยวกับทางพันธุกรรมหรือว่ามียีนที่ทำให้ร่างกายเกิดการแพ้อาหารชนิดนั้นได้ เพราะว่าลักษณะการแพ้อาหารบางทีเราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าเราจะเป็นคนที่เป็นภูมิแพ้หรือไม่แพ้อาหาร

หลักสำคัญคือ อาหารชนิดไหนที่เรากินมากเกินไป ชอบมาก รับประทานเข้าไปเยอะ เช่น บางคนชอบกล้วยมาก ทานกล้วยทุกวัน อยู่ดีๆก็เกิดอาการแพ้กล้วยขึ้นมาได้ กล่าวคืออะไรที่เสียสมดุลมากเกินไปก็ทำให้แพ้ได้ง่าย

ถ้าแพ้อาหารชนิดไหน กินยาแก้แพ้ไว้ก่อนจะทานอาหารนั้นได้ไหม

ในกรณนี้เป็นภาวะที่เสี่ยงมากเพราะว่าการที่เกิดการแพ้อาหาร อาการที่มักจะเกิดขึ้นคืออาการทางผิวหนัง หลังจากนั้นอาจมีอาการระบบอื่นจนเสียชีวิตก็ได้ซึ่งจะน่ากลัวมาก ถ้าเราให้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้เนี่ยมันแค่บดบังอาการทางผิวหนังอย่างเดียวแต่ไม่ช่วยลดอาการอย่างอื่นเพราะฉะนั้นจะมีข้อเสียซึ่ง

1. ทำให้เราไม่สังเกตอาการระบบอื่นเพราะว่าเนื่องจากพอไม่มีผื่นคัน เราก็นึกว่าไม่เป็นไรแล้วกินต่อ ทีนี้อาการระบบอื่นๆ ก็จะมาแล้วถ้าเราสังเกตไม่ทัน ดูแลไม่ทันก็อาจจะเสียชีวิตได้

2. การให้ยาต้านฮีสตามีนไม่ใช่การรักษาแต่มันแค่บดบังอาการ แล้วถ้าเรารับประทานอาหารชนิดนั้นไปเรื่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ อาจจะทำให้เปลี่ยนจากอาการแพ้น้อยเป็นภูมิแพ้ชนิดรุนแรงได้

มีโอกาสที่เราจะหายมั้ยที่เราจะหายขาดจากการแพ้อาหาร

การหายจากการแพ้อาหารขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร อย่างเช่น ถ้าเป็น ไข่ แป้งสาลี นม เลี่ยงไปสัก 3 – 5 ปี อาการจะค่อยๆดีขึ้น แล้วมีวิธีสังเกตโดยแพทย์แนะนำว่าให้คนไข้มาตรวจเลือดหรือทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังอย่างน้อยทุก 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อดูว่าระดับปริมาณที่เราแพ้มันน้อยลงหรือยัง ถ้าน้อยลงแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ กลับไปรับประทานได้โดยการรับประทาน จะมีการทดสอบในโรงพยาบาลที่เรียกว่าการทำ Oral Challenge ซึ่งคือวิธีการที่ให้คนไข้ลองรับประทานต่อหน้าแพทย์ทีละน้อยๆจนมั่นใจว่าทานได้เต็มที่แล้วไม่มีอาการ สำหรับอาหารบางประเภทเช่น ถั่ว กรณีนี้อาจจะหายยาก ต้องใช้เวลานานนิดหนึ่ง บางคนถ้าแพ้เยอะๆ อาจจะเป็นตลอดชีวิต ส่วนอาหารทะเลก็เหมือนกัน อัตราการหายจะน้อยกว่าพวกไข่นมและแป้งสาลี 

สิ่งที่อยากฝากถึงคนที่มีอาการแพ้ให้ดูแลตัวเอง

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกต เพราะภาวะแพ้อาหารเป็นภาวะที่มีอาการหลากหลายรูปแบบแต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาจจะต้องหมั่นสังเกตโดยเฉพาะในเด็กเล็ก คุณแม่เริ่มให้อาหารอาจจะต้องสังเกตหลังให้อาหารทุกครั้ง ลูกมีอาการอะไรที่เกิดขึ้นซ้ำๆหรือเปล่า ถ้าไม่มั่นใจก็ไม่ต้องสงสัย ควรที่จะมาทดสอบ เราจะได้ไม่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารโดยไม่จำเป็น

ปัจจุบันนี้ปัญหาที่เจอคือภาวะแพ้อาหาร อุบัติการณ์ไม่เยอะแต่หลายคนมักจะงดอาหารโดยไม่ได้มาทดสอบ บางทีงดไปหลายอย่างมากทำให้เกิดการขาดสารอาหารได้ โดยจริงๆอาจจะไม่ได้แพ้อาหารชนิดนั้นก็ได้

บทความโดย

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

ความชำนาญพิเศษ

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน


– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness


– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย

ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม

นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด

รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair

ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก

การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
เสาร์ 09:00 – 17:00 ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Food allergy and intolerance

โรคแพ้อาหาร Food Allergy ภาวะแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาทางอิมมูนที่ตอบสนองไวผิดปกติต่ออาหารที่รับประทาน โดยอาการที่พบแบ่งเป็นสองแบบ

Read More »

ชนิดของโรคภูมิแพ้

อาการของโรคภูมิแพ้เปลี่ยนไปตามช่วงอายุ โดย ในวัยหนึ่งอาจเกิดภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง แล้วอาการลดลง หลังจากนั้นก็เกิดภูมิแพ้ชนิดนี้ตามมา

Read More »
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก