

ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อประเมินการรักษา
การตรวจ X-Ray ข้อเข่า ช่วยคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร ?
การเอกซเรย์ช่วยให้แพทย์เห็นภาพลักษณ์ของข้อเข่า การสึกของข้อต่อ ความเปลี่ยนแปลงของแนวกระดูกต่างๆ ประเมินความรุนแรงของโรคได้ เช่น
- ผิวของข้อเข่า เห็นความลึกหรอของข้อที่ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ ไม่ลื่น สาเหตุที่ข้อเกิดอาการติดขัด ฝืด หรือมีเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน
- เยื่อหุ้มข้อ เห็นความอักเสบของข้อที่ทำให้มีน้ำในข้อมากขึ้นแต่เป็นน้ำที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดอาการปวดบวม และข้อเข่าอุ่น
- กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เห็นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า กรณีที่คนไข้มีอาการปวด มีการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยใช้ขาข้างที่เป็นโรคน้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่ามีความแข็งแรงน้อยลง ดังนั้น เมื่อเดินลงน้ำหนัก แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวข้อมากขึ้น
- เอ็นยึดข้อ เห็นความหลวมหรือหย่อนยานของเอ็นยืดข้อที่ทำให้ข้อแกว่ง ข้อหลวม เพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น
การตรวจ X-Ray ข้อเข่าที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ดีอย่างไร ?
- อุปกรณ์และเครื่อง X-Ray Digital ทันสมัย ถ่ายภาพได้รวดเร็ว ให้ภาพคุณภาพสูงมีความละเอียดคมชัด ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น
- คำนึงถึงความสะอาดทั้งก่อนและหลังให้บริการ อุปกรณ์ทุกชนิดผ่านการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดอย่างดีก่อนให้บริการทุกครั้ง
- นักรังสีเทคนิคที่มีความชำนาญดูแลตลอดระยะเวลาการตรวจ รวมถึงช่วยจัดท่าทางที่เหมาะสมเพื่่อให้ได้ภาพที่ได้ชัดเจนและดีที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดในการวินิจฉัยโรค
- บุคลากรมีความรู้ความชำนาญและมีความเป็นมืออาชีพ ให้บริการฉับไวด้วยความใส่ใจ
- สะดวก รวดเร็ว มีความเป็นส่วนตัวสูง ไม่แออัด
- ให้บริการชุดคลุมสำหรับเปลี่ยนกรณีที่จำเป็น เพื่อความสะดวกในระหว่างการตรวจ X-Ray
- มีบริการล็อคเกอร์เก็บสัมภาระส่วนตัว หมดความกังวลระหว่างการตรวจมากขึ้น
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมและผ่าตัดข้อเข่าเทียม นำโดย
คลิก ดูทีมแพทย์ศูนย์กระดูกและข้อทั้งหมดทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพรักษา โรคข้อเข่าเสื่อม
- ทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด – สำหรับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ผ่าตัด รวมถึงช่วยฟื้นฟูหลังการผ่าตัดด้วย
- ทีมนักกำหนดอาหาร – ช่วยดูแลคนไข้ในกรณีที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป
- แพทย์เฉพาะทางบำบัดความเจ็บปวด – ช่วยดูแลกรณีคนไข้มีความเจ็บปวดยาวนานภายหลังการผ่าตัดข้อเข่า
เทคนิคการรักษา อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น แนะนำให้ปรับพฤติกรรมไม่ให้เกิดการใช้งานเข่ามากเกินไป ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เข่ารับน้ำหนักมาก ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง การทำกายภาพบำบัด หรือการใช้กายอุปกรณ์ช่วย เป็นต้น
- การรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยารับประทานแก้ปวด แก้อักเสบ รวมถึงการฉีดยาที่ข้อเข่า
- การรักษาทางเลือกโดยแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) การฉีดน้ำหล่อข้อเทียม การทานสารบำรุงผิวข้อ
- การผ่าตัดข้อเข่า (Surgery) โดยแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าบางส่วน หรือ เปลี่ยนทั้งข้อ