แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์เต้านม
Lady Ready 3 :Cotest (Pap smear and HPV DNA test) + Transvaginal Ultrasound + Mammogram with ultrasound of breast
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Co-Test
โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับ2 ของผู้หญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม ด้วยเหตุผลดังกล่าว การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันความรุนแรงจากมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการตรวจคัดกรองจะทำให้พบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหลายวิธี ซึ่งวิธีทีแม่นยำมากที่สุดคือ การตรวจทางเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวี(ความไวในการตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้มากกว่า99%)
1.การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือที่ที่รู้จักกันในชื่อ ตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) โดยใช้แปรงป้ายเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วนำมาแกว่งในน้ำยาตินแพร็พ มีลักษณะพิเศษคือ สามารถสลายมูกเลือดและเม็ดเลือดแดงได้ จึงไม่มีมูกเลือดบดบัง เซลล์เรียงตัวแบบบาง ค้นหาเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น ใช้ระบบคอมพิวเตอร์คัดกรองเซลล์และยืนยันเซลล์มะเร็งอีกครั้งด้วยนักเทคนิคการแพทย์ มีความไวในการตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้มากถึง74%
2.การตรวจเชื้อไวรัชเอชพีวี โดยการนำเซลล์ปากมดลูกที่ได้จากน้ำยาตินเพร็พไปตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวีกลุ่มความเสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ เพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคต โดยมีความไวในการตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้มากกว่า96 %
อัลตราซาวด์ดูความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่โดยวิธี Transvaginal Ultrasound
การอัลตราซาวน์ คือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งความสามารถในการผ่านและการสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงสะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบอกถึงความหนาแน่น และความลึกของเนื้อเยื่อนั้นแล้วนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลสร้างเป็นภาพขึ้นมา ซึ่งสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยลักษณะมดลูก เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก ลักษณะรังไข่ที่ปกติและผิดปกติ
โดยแพทย์จะสอดหัวตรวจอัลตร้าซาวด์ที่มีความแตกต่างจากหัวตรวจผ่านเข้าไปทางช่องคลอด ข้อดีคือหัวตรวจจะเข้าไปใกล้ตำแหน่งมดลูกและรังไข่ได้มากกว่าการตรวจทางหน้าท้อง จึงสามารถมองเห็นภาพของมดลูกและรังไข่จากจอมอนิเตอร์ได้ชัดเจนกว่าและไม่ต้องรอเวลาในการกลั้นปัสสาวะ
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีMammogram with ultrasound of breast
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมนั้นมีความสําคัญมาก เนื่องจากการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกสามารถที่รักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวิธีการตรวจคัดกรองในปัจจุบันมี3วิธี
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจเต้านมด้วยบุคลากรทางการแพทย์
- การเอ็กซเรย์เต้านม (แมมโมแกรม) และอัลตราซาวน์เต้านม
การตรวจเเมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายกับการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การตรวจแมมโฒแกรม ถือเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนหรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ และใช้เวลาตรวจเพียง30นาทีทั้งยังไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนทำการตรวจได้
การอัลตราซาวด์ เต้านม เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อปกติกับก้อนในเต้านมได้ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ว่า ก้อนในเต้านมนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ เพื่อแยกความผิดปกติของก้อนที่พบได้เบื้องต้น
คำแนะนำการใช้บริการ
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
ก่อนเข้ารับบริการ
- ไม่ควรเข้ารับการตรวจขณะมีประจำเดือน แนะนำให้เข้ารับการตรวจหลังประจำเดือนหมด อย่างน้อยประมาณ 3 วัน
- ก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ยาเหน็บทางช่องคลอด อย่างน้อย 2 วัน
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 1 วัน
- กรณีมีประจำเดือน และปวดท้องประจำเดือนอย่างมาก สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมดก่อน
- ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนการตรวจ
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดจนเกินไป
- ไม่อยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจแมมโมแกรมคือ ช่วง 7-14 วัน หลังมีประจำเดือน
- การตรวจแมมโมแกรม ไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งฝุ่นบริเวณหน้าอกและรักแร้รวมถึงยาหรือสเปรย์ระงับกลิ่นตัว เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีสารที่จะให้ลักษณะเหมือนหินปูนที่ผิดปกติที่พบในมะเร็งเต้านมในภาพแมมโมแกรม ทำให้การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้
- สำหรับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน เพราะเป็นข้อควรหลีกเลี่ยงในการทำแมมโมแกรม โดยจะทำเฉพาะอัลตราซาวด์เท่านั้น
หลังเข้ารับบริการ
- หากมีผลการตรวจพบการอักเสบหรือมีเซลล์เปลี่ยนแปลงผิดปกติที่ปากมดลูกให้มาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง
- ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของสูตินรีแพทย์
เข้ารับบริการได้ที่
ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาล BNH โทร 02-022-0778 หรือ 02-022-0850
แพ็กเกจสุขภาพแนะนำ
แพ็กเกจตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี CO-TEST (Pap Smear & HPV DNA)
คลิกที่นี่
Lady Ready 1 : แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตราซาวด์ดูความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่
Lady Ready 2 : แพ็กเกจตรวจอัลตราซาวด์ดูความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม
Lady Ready 3 : แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
อัลตราซาวด์ดูความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม