มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ที่กำลังคุกคามชีวิตคนไทยและประชากรทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
อย่ารอให้มีอาการ! ตรวจเช็คระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย
โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทั่วไปและมักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น จะแสดงอาการหรือตรวจพบในระยะลุกลาม หากยังดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่ตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หากมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคมะเร็ง หรือมีความเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการอย่าปล่อยไว้จนสายเกินไป
การส่องกล้องทั้ง 2 ประเภทนี้ คือการตรวจความผิดปกติของทางเดินอาหารที่มีความแม่นยำสูง
- การส่องกล้องกระเพาะอาหาร เป็นการตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เช่น แผลในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โรคติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori หลอดอาหารอักเสบ หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น อาการขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด รวมทั้งยังเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำ
เมื่อคุณมีอาการเหล่านี้ ไม่ควรมองข้าม การคัดกรองถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างชัดเจน
ควรส่องกล้องกระเพาะอาหารเมื่อมีอาการดังนี้
- ปวดท้องหรืออาเจียนเรื้อรัง
- น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
- อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายปนเลือด
- ภาวะโลหิตจางที่สงสัยจากการเสียเลือดเรื้อรัง
ควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่เมื่อ
- อายุ 45 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้
- ขับถ่ายผิดปกติ (ท้องผูกสลับท้องเสีย)
- ถ่ายไม่สุด อุจจาระลำบากหรือลำเล็กลง ปวดเบ่งในช่องทวารหนัก
- ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน
- ปวดท้องเรื้อรัง
- อาจคลำเจอก้อนในช่องท้อง
ตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้จริงหรือ?
ในปัจจุบันมีข้อมูลแสดงถึงการส่องกล้องลำไส่ใหญ่ ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สูงสุดถึง69% และลดโอกาสการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง88% (ข้อมูล Harvard Health Publishing oct 18,2022 )
คุณรู้มั้ยว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่…..
สามารถป้องกันได้ก่อนที่จะเกิด
อาจเริ่มต้นจากไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น
ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรักษาได้หายขาด
อย่าชะล่าใจ เข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่แต่เนิ่นๆ
วิธีง่ายๆ ในการรักษาสุขภาพและอาจช่วยรักษาชีวิตคุณได้
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร
เป็นการตรวจส่องกล้องจากทางปาก เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เช่น แผลในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โรคติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori หลอดอาหารอักเสบ หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
ใครควรตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหารจำเป็นสำหรับคนที่มีอาการ
- ปวดแสบท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ เป็น ๆ หาย ๆ
- มีสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น อาการน้ำหนักลด มีถ่ายปนเลือดหรือถ่ายดำ
- ปวดแสบท้องที่รักษาไม่ดีขึ้นด้วยการใช้ยา
- ปวดแสบท้องและมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
รายการตรวจ Examinations
- ค่าแพทย์ส่องกล้องกระเพาะอาหาร Doctor’s fee for gastroscopy
- ค่าห้องส่องกล้อง Endoscopy room fee
- ค่าระงับความรู้สึก (ยานอนหลับ) Anesthesia fee (sedation)
- ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ Medical equipment and instrument fee
- ค่าบริการโรงพยาบาล Hospital service fee
- ตรวจวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Physical Examination by a Gastroenterologist
การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร
- หยุดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Warfarin, Ticlid, Clopidogrel หรือ NSAID อย่างน้อย 5 วัน ก่อนทำการตรวจ
- ไม่ควรนำของมีค่ามาในวันที่ทำการส่องกล้อง ท่านที่ใส่ฟันปลอมหรือ คอนแทกเลนส์ ควรถอดก่อนการเข้าห้องตรวจ
- แจ้งประวัติการแพ้ยา และประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เพื่อพิจารณาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นรายๆ ไป
- งดน้ำและอาหาร ก่อนส่องกล้องกระเพาะอาหาร 6-8 ชั่วโมงของวันที่ส่องกล้อง
- ผู้ป่วยต้องเซ็นต์ชื่อลงในใบยินยอมก่อนการตรวจ ในกรณีที่ท่านมีอายุน้อยกว่า 20 ปี จะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นต์ชื่อในใบยินยอมแทน โดยแพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้ และภาวะแทรกซ้อนของหัตถการดังกล่าว
- งดการขับรถหรือทำงานในวันที่มารับการส่องกล้องเนื่องจากมีการให้ยานอนหลับ/ดมยาสลบขณะส่องกล้อง และต้องมีผู้ดูแลพาผู้ป่วยกลับบ้าน
**************************************************************************************************************
แพ็กเกจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
เป็นการตรวจส่องกล้องจากทางทวารหนัก หาสาเหตุความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น อาการขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด รวมทั้งยังเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำ
ใครควรตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
1. ผู้ที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้
- ขับถ่ายผิดปกติ (ท้องผูกสลับท้องเสีย)
- ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน
- ปวดท้องเรื้อรัง
- อาจคลำเจอก้อนในช่องท้อง
- อาการอื่นๆที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ถ่ายไม่สุด / อุจจาระลำบากหรือลำเล็กลง / ปวดเบ่งในช่องทวารหนัก
2. มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้
- เคยส่องกล้องลำไส้ใหญ่และพบติ่งเนื้อ
- เป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative Colitis)
- มีพฤติกรรมการบริโภคที่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น บริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็งเป็นประจำ (จำพวกเนื้อแดง หรืออาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง และที่มีกากใยต่ำ ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่)
รายการตรวจ Examinations
- ค่าแพทย์ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ Doctor’s fee for colonoscopy
- ค่าห้องส่องกล้อง Endoscopy room fee
- ค่าห้องเตรียมลำไส้ Bowel preparation room fee
- ค่ายาระบายสำหรับเตรียมลำไส้ Laxative medication fee for bowel preparation
- ค่าระงับความรู้สึก (ยานอนหลับ) Anesthesia fee (sedation)
- ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ Medical equipment and instrument fee
- ค่าห้องพักฟื้น Recovery room fee
- ค่าบริการโรงพยาบาล Hospital service fee
- ตรวจวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Physical Examination by a Gastroenterologist
การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- กรณีมีโรคประจำตัวและยาที่ต้องใช้ประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาในการหยุดยาบางตัวที่มีผลต่อการส่องกล้องตรวจ จำพวกยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Warfarin, Ticlid , Clopidrogrel หรือ NSAID (Non-steroidal anti -inflammatory drugs) วิตามินอี Fish oil อย่างน้อย 5 วัน ก่อนทำการตรวจ
- ทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย งดทานผักผลไม้ ล่วงหน้า 2 วัน เพื่อเตรียมลำไส้
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ผ่าน Video call ฟรี ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง (ซักประวัติโรคประจำตัว อธิบายแผนการตรวจรักษา ข้อบ่งชี้ ภาวะแทรกซ้อน) แจ้งแพทย์หากท่านแพ้ยา หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
- หลังจากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้วจะมีพยาบาลเฉพาะทางติดต่อกลับ เพื่อแนะนำช่องทางสำหรับดูวิธีการเตรียมตัว และทำนัดวันเข้ารับการส่องกล้อง
- งดเนื้อสัตว์ งดน้ำผลไม้สีเข้ม เช่น น้ำองุ่น ซุปไก่สกัด นมทุกชนิด แนะนำให้ทานเพียงอาหารเหลวใส เช่น ซุปใส น้ำผลไม้ หรือเยลลี่ 1 วันก่อนตรวจ
- เข้ามาเตรียมลำไส้ที่โรงพยาบาลภายใต้การดูแลของพยาบาลเฉพาะทางในช่วงเช้า และเข้ารับการส่องกล้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารในช่วงบ่าย (ในกรณีที่คนไข้สะดวกเลือกทานยาที่บ้านทางโรงพยาบาลมีบริการจัดส่งยาไปให้ที่บ้านฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)
**************************************************************************************************************
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องทั้ง 2 ประเภทนี้ คือการตรวจความผิดปกติของทางเดินอาหารที่มีความแม่นยำสูง
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)
• เป็นการตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เช่น แผลในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โรคติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori หลอดอาหารอักเสบ หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
• เป็นการตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น อาการขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด รวมทั้งยังเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำ
รายการตรวจ Examinations
- ค่าแพทย์ส่องกล้องกระเพาะอาหาร Doctor’s fee for gastroscopy
- ค่าแพทย์ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ Doctor’s fee for colonoscopy
- ค่าห้องส่องกล้อง Endoscopy room fee
- ค่าห้องเตรียมลำไส้ Bowel preparation room fee
- ค่ายาระบายสำหรับเตรียมลำไส้ Laxative medication fee for bowel preparation
- ค่าระงับความรู้สึก (ยานอนหลับ) Anesthesia fee (sedation)
- ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ Medical equipment and instrument fee
- ค่าห้องพักฟื้น Recovery room fee
- ค่าบริการโรงพยาบาล Hospital service fee
- ตรวจวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Physical Examination by a Gastroenterologist
การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
- กรณีมีโรคประจำตัวและยาที่ต้องใช้ประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาในการหยุดยาบางตัวที่มีผลต่อการส่องกล้องตรวจ จำพวกยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Warfarin, Ticlid , Clopidrogrel หรือ NSAID (Non-steroidal anti -inflammatory drugs) วิตามินอี Fish oil อย่างน้อย 5 วัน ก่อนทำการตรวจ
- ทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย งดทานผักผลไม้ ล่วงหน้า 2 วัน เพื่อเตรียมลำไส้
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ผ่าน Video call ฟรี ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง (ซักประวัติโรคประจำตัว อธิบายแผนการตรวจรักษา ข้อบ่งชี้ ภาวะแทรกซ้อน) แจ้งแพทย์หากท่านแพ้ยา หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
- หลังจากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้วจะมีพยาบาลเฉพาะทางติดต่อกลับ เพื่อแนะนำช่องทางสำหรับดูวิธีการเตรียมตัว และทำนัดวันเข้ารับการส่องกล้อง
- งดเนื้อสัตว์ งดน้ำผลไม้สีเข้ม เช่น น้ำองุ่น ซุปไก่สกัด นมทุกชนิด แนะนำให้ทานเพียงอาหารเหลวใส เช่น ซุปใส น้ำผลไม้ หรือเยลลี่ 1 วันก่อนตรวจ
- เข้ามาเตรียมลำไส้ที่โรงพยาบาลภายใต้การดูแลของพยาบาลเฉพาะทางในช่วงเช้า และเข้ารับการส่องกล้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารในช่วงบ่าย (ในกรณีที่คนไข้สะดวกเลือกทานยาที่บ้านทางโรงพยาบาลมีบริการจัดส่งยาไปให้ที่บ้านฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)
**************************************************************************************************************
เงื่อนไขในการเข้ารับบริการ
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- แพ็กเกจนี้รวมค่ายาระงับความรู้สึกสำหรับการส่องกล้อง (Moderate sedation)
- แพ็กเกจนี้ยังไม่รวมการใช้ยาระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์ (ดมยาสลบ) หากจำเป็น
- แพ็กเกจนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายนอกเหนือการตรวจส่องกล้อง ได้แก่ ค่าตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม ค่าห้อง และค่าอาหารกรณีต้องการเข้าพักเป็นผู้ป่วยใน (แอดมิท)
- รับบริการที่ แผนก Digestive Care Centre ชั้น 3 Zone B โรงพยาบาลบีเอ็นเอช วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 8.00-17.00 น.
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-022-0753, 02-022-0700 ต่อ 2753, 3330
- แพ็กเกจราคาพิเศษนี้ไม่สามารถระบุแพทย์ได้
ข้อดีของการมาส่องกล้องที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- มีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ทางระบบทางเดินอาหาร คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
- มีเครื่องมือที่ทันสมัย ส่องกล้องด้วย AI และ NBI เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย
- มีห้องพักสำหรับการเตรียมตัวส่องกล้องแบบส่วนตัว หมดความกังวลแม้คุณมาเองเพียงลำพัง
- ทีมพยาบาลเฉพาะทางดูแลและเตรียมยาระบายให้ท่านตามกระบวนการและเวลาที่เหมาะสม หมดกังวลเรื่องถ่ายยาก ถ่ายไม่หมด หรือปวดขับถ่ายระหว่างเดินทาง
- หากตรวจพบความผิดปกติสามารถดูแล รักษาได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
- มีการติดตามอาการหลังส่องกล้อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยของเราปลอดภัย
- สะดวก สบาย ครบ จบใน 1 วัน ทั้งการเตรียมลำไส้และการส่องกล้อง