
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Co-test)
แพ็กเกจตรวจ Pap Smear ร่วมกับการตรวจ HPV DNA (Co-test) มีความแม่นยำในการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นสูงกว่าการตรวจ Pap Smear เพียงอย่างเดียว ลดโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกมากยิ่งขึ้น เพราะมีความไวในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกเกือบ 100%
รายการตรวจ Examinations
- ตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ Physical and Pelvic Examination by an Obstetric and Gynaecologist
- ตรวจแพพสเมียร์และเอชพีวีดีเอ็นเอ Pap Smear & HPV DNA
- ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลฯ Doctor’s fee, nursing and hospital services fee
หมายเหตุ
- ทุกแพ็กเกจราคารวมค่าแพทย์ ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- ทุกแพ็กเกจไม่รวมค่าใช้จ่ายกรณีมีการรักษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในแพ็กเกจ
- ทุกแพ็กเกจสามารถมอบให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ได้
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 2 วัน ผ่านระบบ BNH Cares ในไลน์ @BNHhospital หรือทำนัดกับเจ้าหน้าที่ทางไลน์ @Mbrace
- รับบริการที่ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น4 Zone A โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ทุกวัน 07.00 – 19.00 น.
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โทร 02-022-0788, 02-022-0850
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย Pap Smear ร่วมกับ HPV DNA (Cotest)
โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่ถ้าเรารู้จักวิธีป้องกันก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจภายในและตรวจคัด กรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และควรเลือกตรวจด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก
การตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับ DNA
เพิ่มความแม่นยำ ลดโอกาสเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก
การตรวจ HPV DNA เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ถึง 90% ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำ ลดโอกาสเสี่ยง มะเร็งปากมดลูกมากยิ่งขึ้น เพราะมีความไวในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกเกือบ 100%
ในขณะที่การตรวจ Pap smear เป็นการตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ ที่อาจเปลี่ยนเป็นมะเร็งในอนาคต ดังนั้นการตรวจทั้ง 2 วิธีร่วมกัน จะช่วยให้แพทย์มีโอกาสตรวจเจอมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้สูงกว่า การตรวจด้วย Pap smear อย่างเดียว
*ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
คำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจ
- ไม่ควรเข้ารับการตรวจขณะมีประจำเดือน แนะนำให้เข้ารับการตรวจหลังประจำเดือนหมด อย่างน้อยประมาณ 3 วัน
- ก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ยาเหน็บทางช่องคลอด อย่างน้อย 2 วัน
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 1 วัน
- กรณีมีประจำเดือน และปวดท้องประจำเดือนอย่างมาก สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมดก่อน
- ปัสสสาวะให้เรียบร้อยก่อนการตรวจ
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดจนเกินไป
คำแนะนำหลังเข้ารับการตรวจ
- หากมีผลการตรวจพบการอักเสบหรือมีเซลล์เปลี่ยนแปลงผิดปกติที่ปากมดลูกให้มาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง
- ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของสูตินรีแพทย์
รู้หรือไม่?
มะเร็งปากมดลูก คือ มะเร็งอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย!
ใช่แล้วค่ะ คุณอ่านไม่ผิด เพราะสถิติจากองค์การอนามัยโลกและสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุ ว่า “มะเร็งปากมดลูก” (cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลกรองจาก มะเร็งเต้านม แต่สำหรับในประเทศไทย มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง #1 และมีอัตราการเสียชีวิต เกินครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
สาเหตุของโรค มะเร็งปากมดลูก
จากข้อมูลทางการแพทย์ยังไม่ทราบชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งนั่นเกิดจากอะไร แต่สาเหตุสำคัญเท่าที่วิทยาการทางการตรวจพบได้คือ การติดเชื้อ Human Papilloma Virus หรือ HPV บริเวณปากมดลูก ถือเป็นปัจจัยหลัก ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่นการมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยนั่นเอง
ด้วยความห่วงใยในสุขภาพ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ที่ได้สั่งสมประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพสตรีอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้เรามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องสุขภาพสตรีเป็นพิเศษ จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์สุขภาพสตรี (Women’s Health Centre) และ ต่อยอดเป็นศูนย์เฉพาะทาง อย่าง ศูนย์เฉพาะทางมะเร็งปากมดลูก (Gynecology Centre) เพื่อให้บริการตรวจคัดกรองโรค ให้คำปรึกษา ตลอดจนป้องกันและรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
BNH ขอแนะนำแพ็กเกจตรวจ มะเร็งปากมดลูก ที่ครบถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา!
“CO-TEST PACKAGE” การตรวจที่รวม 2 เทคโนโลยีรวมเอาไว้ในหนึ่งเดียว
(Pap Smear + HPV DNA Test)

CO-TEST คือวิธีการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ที่ได้รับการยอมรับกันในระดับสากล
มี 2 เทคโนโลยีการตรวจอยู่ในแพ็กเกจนี้ คือ การตรวจตินเพร็พและการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี
1. การตรวจมะเร็งปากมดลูกตินเพร็พ (Pap Smear)
เป็นมาตราฐานใหม่ของวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์เก็บเซลล์ บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ แล้วใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พ นำส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมสไลด์ด้วย ลักษณะสไลด์เป็นรูปแบบเดียวกัน เซลล์เรียงตัวสม่ำเสมอ เซลล์เรียงตัวแบบบางไม่ซ้อนทับกัน มองเห็นเซลล์ผิดปกติได้ง่าย ไม่มีมูกเลือดบดบังมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า การตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยวิธีตินเพร็พ ให้ผลดีกว่าการตรวจแบบดั้งเดิมดังนี้
- เพิ่มความไวในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกระยะก่อนลุกลาม
- คุณภาพสไลด์ที่ใช้ในการตรวจดีขึ้น
- สามารถยืดระยะเวลาการตรวจหาเซลล์มะเร็งจากปากมดลูกจากทุกๆ 1 ปี เป็นปีเว้นปี
2. การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA)
เป็นการตรวจแบบเจาะลึกระดับดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อเอชพีวีได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งวิธีนี้มีความแม่นยำอย่างมาก เพราะนอกจากค้นหาความผิดปกติแล้ว ยังทำให้รู้ลึกมากขึ้นว่ามีการติดเชื้อเอชพีวีหรือไม่ เพราะถ้าเป็นมะเร็งปากมดลูกต้องมีการติดเชื้อเอชพีวีก่อน ดังนั้น ถ้าไม่มีการติดเชื้อสามารถมั่นใจได้ถึง 99 % ว่าในช่วง 1-2 ปีที่รับการตรวจโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกจะน้อยมาก โดยวิธีการตรวจนี้จะได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อตรวจร่วมกับการตรวจตินเพร็พ
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?
- ควรมาตรวจหลังประจำเดือนหมดประมาณ 1 อาทิตย์
- ผู้หญิงทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป หรือเคยมีเพศสัมพันธ์
- มีอาการตกขาวผิดปกติ เช่นมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดภายหลังการมีเพศสัมพันธ์
- เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดท้องน้อย
- ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด
** แนะนำเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Co-TEST ทุก 3 ปี หรือด้วย Pap Smear
ทุก 1 ปี (หากผลตรวจปกติ)
เตรียมตัวอย่างไร? เมื่อต้องไปตรวจ มะเร็งปากมดลูก
- ควรมาตรวจหลังประจำเดือนหมดประมาณ 1 อาทิตย์
- ควรงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3 วันก่อนการตรวจ
- ควรงดการสวนล้างช่องคลอดหรือการเหน็บยาก่อนมาตรวจภายใน 48 ชั่วโมง
- หากมีผลการตรวจพบการอักเสบหรือมีเซลล์เปลี่ยนแปลงผิดปกติที่ปากมดลูกให้มาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง
- ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ