
การรักษาโรคผื่นแพ้ผิวหนังแบ่งเป็น สองระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง
- ระยะเฉียบพลัน
จะมีอาการบวม แดง อักเสบ คันมาก ผิวหนังแฉะ เยิ้ม อาจมีน้ำเหลืองได้จากการติดเชื้อแทรกซ้อน
การรักษา
- การทํา Wet Wrap Therapy (WWT) มีประโยชน์ในกรณีที่ มีการอักเสบของผิวหนังรุนแรง เริ่มจากการทายาทาสเตียรอยด์ หรืออาจร่วมกับสารเพิ่มความชุ่มชื้น ภายหลังการอาบน้ํา แล้วพันผิวหนังบริเวณด้วยน้ำเกลือในชั้นแรก แล้วจึงทับด้วยผ้าแห้งอีกชั้นหนึ่ง วิธีน้ำทำให้เพิ่มการดูดซึมของยาได้ดีขึ้น
- ให้ทายาสเตียรอยด์อ่อนๆถึงปานกลางบริเวณที่แดง อักเสบ โดยทาสั้นๆไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
- กรณีติดเชื้อมีน้ำเหลือง ให้ทายาหรือรับประทานยาปฎิชีวนะ ช่วงสั้นๆ
- ถ้ามีอาการอักเสบบริเวณใบหน้าหรือผิวที่บอบบาง หรือมีความจำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์นาน อาจหลีกเลี่ยงยาสเตียรอยด์แล้วทายาต้านการอักเสบกลุ่ม immunomodulator แทน
- ไม่ควรทาโลชั่นบนบริเวณที่มีการอักเสบมากๆ เพราะอาจทำให้ระคายเคืองได้
- ระยะเรื้อรัง
ลักษณะผิวจะแห้ง คัน ลอกเป็นขุย บางครั้งหนา ตกสะเก็ด มักเป็นที่ข้อพับ แขน ขา หน้า
การรักษา
- เน้นการเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง โดยอาบน้ำ ด้วยสบู่อ่อนๆ ด้วยน้ำไม่ร้อนจนเกินไป และหลังอาบน้ำทานโลชั้นภายใน 5 นาที เพื่อให้ครีมซึมได้ดี
- หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่อผิวหนังที่ผสมน้ำหอม กลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อ ให้งดอาหารที่แพ้ หลีกเลี่ยงไรฝุ่นด้วยการทำความสะอาดที่นอนด้วยน้ำร้อน และใช้ผ้าคลุมไรฝุ่น
- กรณีที่มีอาการรุนแรงมาก จนรบกวนชีวิต อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดกลุ่มชีววัตถุ (biologic agents) ที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกลไกการอักเสบ ซึ่งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นเร็ว ลดการใช้สเตียรอยด์ได้

บทความโดย
ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน
– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness
– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย
ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม
นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด
รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair
ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก
การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |