RSV กับโรคหืด

ไวรัส อาร์เอสวีกับโรคหืด

ไวรัส อาร์เอสวี (RSV: Respiratory Syncytial Virus)  หรือ เรสไพราทอรีซินซิเชียลไวรัส  เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้สูงอายุ ค้นพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchiolitis) ในเด็กทารก และในปีพ.ศ. 2513 ได้ตรวจพบว่าเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในผู้สูงอายุเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 0 – 5 ปี

การติดต่อ และการแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสอาร์เอสวีเกิดได้ทั่วโลก โดยมักระบาดในฤดูหนาวของประเทศแถบตะวันตก และในฤดูฝนหรือฤดูหนาวในประเทศเขตร้อน สำหรับประเทศไทยมักจะระบาดในช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง และมีความชื้นสูง นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาร์เอสวีสามารถติดต่อได้ง่าย ทั้งโดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อนี้อยู่แล้ว หรือ มีการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสนี้ผ่านทางตาและจมูก หรือทางการหายใจ โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีสามารถกระจายเชื้อให้ปะปนอยู่ในอากาศภายในรัศมี 3 ฟุตผ่านทางการไอหรือจาม 

พยาธิสภาพ

เชื้อไวรัสอาร์เอสวีมีระยะฟักตัวประมาณ 5 วัน เริ่มจากการแบ่งตัวบริเวณเยื่อบุผิวทางเดินหายใจในระยะเริ่มต้น มักจะเริ่มจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โดยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไอและคัดจมูก แต่ในบางรายอาจเริ่มติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งมักพบว่าเกิดการอักเสบที่หลอดลมฝอยส่วนปลาย (Bronchiolitis) เกิดการบวมของต่อมน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อโดยรอบ ส่งผลทำให้เกิดการตายของเยื่อบุผิวทางเดินหายใจของหลอดลมฝอยส่วนปลายและหลุดออกมาร่วมกับเยื่อเมือกที่ผลิตออกมาในปริมาณมาก จะทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ปอด ซึ่งจะทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ หรือส่งผลให้เป็นโรคหอบหืดในที่สุด

อาการ

  • อาการเริ่มแรกจะเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ต่ำๆ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ จะแสดงอาการอยู่ประมาณ 2 – 4 วัน
  • การดำเนินโรคของทางเดินหายใจส่วนล่างมีมากขึ้น จะมีอาการไข้สูง ไอมากขึ้นร่วมกับมีเสมหะ ไอหอบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ หายใจหอบเหนื่อย มักหายใจมีเสียงดังวิ๊ดๆ  หน้าอกบุ๋ม  เพราะมีการใช้กล้ามเนื้อซี่โครงในการช่วยหายใจ ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยจากการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในเด็กเล็ก คือ หูชั้นกลางอักเสบ (OTITIS MEDIA)  โดยเฉพาะในเด็กอายุ 1 – 3 ปี ที่มาพบแพทย์จะพบว่ามากกว่า  74% จะตรวจพบการติดเชื้ออาร์เอสวีจากของเหลวในหูชั้นกลาง ทำให้หูชั้นกลางอักเสบ มักเกิดภายใน 5 วันหลังจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ 
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น คือ เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจเรื้อรัง ยาบางชนิด หรือการได้รับสารก่อภูมิแพ้บางชนิด

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเชื้อไวรัสอาร์เอสวีโดยตรง มีแต่การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ โดยยาหลักที่ใช้เพื่อลดความรุนแรงของอาการ คือ ยาต้านการอักเสบลิวโคไตรอีนในรูปแบบยารับประทานที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยาชนิดรับประทานควบคู่ไปกับยาชนิดพ่นสเตียรอยด์ได้

การป้องกัน

  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสอาร์เอสวีในประเทศไทย

- การป้องกันเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในเด็กเล็ก

จำเป็นต้องเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติให้แก่เด็ก อาทิ การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา จะทำให้เด็กมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด ให้เด็กอยู่ห่างจากผู้ป่วยโรคหวัด เด็กที่ต้องอยู่ในห้องแอร์ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว ต้องให้ใส่เสื้อผ้าหนาๆ และดูแลให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ

- การป้องกันเชื้อไวรัสในผู้สูงอายุ

-การป้องกันเชื้อไวรัสในผู้สูงอายุ ไม่ควรเข้าใกล้เด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง หากจำเป็นต้องอยู่ใกล้ ควรหมั่นล้างมืออยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย

บทความโดย

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

ความชำนาญพิเศษ

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


– สาขา กุมารเวชศาสตร์
– สาขา อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน


– อนุมัติบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– ประกาศนียบัตร American Board Certified in Nutritional Wellness


– ปริญญาเอกสาขา Oral Health Science (International Program) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ตำแหน่งทางวิชาชีพ
– นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(Thailand Asthma Council)
– ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้อำนวยการศูนย์ Lifestyle and wellness medical center รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหืดและภูมิแพ้
– รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย

ผลงานทางวิชาการ
– ประพันธ์งานวิจัยเกือบ 40 ฉบับ
– เขียนหนังสือเรียน 5 เล่ม รวมหนังสือเรียนนานาชาติ 1 เล่ม

นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมในการดูแลโรคหอบหืด
– พัฒนา 3 นวัตกรรมสำคัญเพื่อผู้ป่วยโรคหอบหืด
– จัดตั้งเครือข่ายการดูแลโรคหอบหืด

รางวัลและการยอมรับ
– ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ 3 รางวัล จากงานเจนีวา เกาหลี ไต้หวัน International Invention Fair

ภารกิจการพูดระหว่างประเทศ
– นำเสนอเป็นวิทยากรระดับนานาชาติในญี่ปุ่น เกาหลี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

มุ่งเน้นการวิจัย
– มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่เป็นหลัก

การมีส่วนร่วมของการทดลองทางคลินิก
– มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 สำหรับยาสมุนไพรที่มุ่งรักษาโรคหอบหืด

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
เสาร์ 09:00 – 17:00 ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้

บทความที่เกี่ยวข้อง

RSV กับโรคหิต

RSV กับโรคหืด

ไวรัส อาร์เอสวีกับโรคหืด ไวรัส อ์เอสวี (RSV: Respiratory Syncytial Virus) เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

Read More »

Allergy Prevention

การป้องกันโรคภูมิแพ้ (Allergy Prevention) โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ร่างกายมีความผิดปกติของระบบอิมมูน ที่ทำให้เกิดการตอบสนองไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น

Read More »
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก