แพ็กเกจตรวจสุขภาพและตรวจฮอร์โมนเบื้องต้นสำหรับผู้หญิง
รายการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับคุณผู้หญิงโดยเฉพาะ รวมรายการตรวจทางสูตินรีเวช (อัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่) และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (แมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม) และรายการตรวจฮอร์โมนไว้ในแพ็กเกจเดียว
รายการตรวจ Examinations
1. ตรวจสุขภาพและตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ Physical and Pelvic Examination by an Obstetric and Gynaecologist
2. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count
3. ตรวจการทำงานของไต Creatinine (plus eGFR)
4. ตรวจแคลเซียม Calcium
5. ตรวจฮอร์โมน Estradiol (E2)
6. ตรวจฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH)
7. ตรวจน้ำตาลในเลือด Glucose (Fasting)
8. ตรวจคัดกรองภาวะเบาหวาน Glycated Hb (HbA1c)
9. ตรวจไขมันในเลือด Lipid Set (Chol, Tri, HDL, LDL)
10. ตรวจการทำงานของตับ Liver Function Test (ALT, AST, ALP, Total Bilirubin, Direct Bilirubin)
11. ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ Thyroid Stimulating Hormone (TSH)
12. ตรวจวิตามินดี Vitamin D (25-Hydroxy Vitamin D Total)
13. ตรวจปัสสาวะ Urine Examination
14. เอกซเรย์ปอด Chest PA
15. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (ECG Cardiac)
16. แมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม Mammograms with Ultrasound Breast
17. อัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ Transvaginal Ultrasound (TVS)
18.ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลฯ Doctor’s fee, nursing and hospital services fee
หมายเหตุ
- ทุกแพ็กเกจราคารวมค่าแพทย์ ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- ทุกแพ็กเกจไม่รวมค่าใช้จ่ายกรณีมีการรักษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในแพ็กเกจ
- ทุกแพ็กเกจสามารถมอบให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ได้
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 2 วัน ผ่านระบบ BNH Cares ในไลน์ @BNHhospital หรือทำนัดกับเจ้าหน้าที่ทางไลน์ @Mbrace
- รับบริการที่ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น 4 Zone A โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ทุกวัน 07.00 – 19.00 น.
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โทร 02-022-0788, 02-022-0850
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- การตรวจเลือด เพื่อหาระดับนํ้าตาลและไขมันในเลือด ควรงดอาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว ลูกอมหมากฝรั่งทุกชนิด อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง ยกเว้นน้ำเปล่า จิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย และ ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 72 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- การตรวจปัสสาวะ สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควร เก็บปัสสาวะส่งตรวจขณะที่มีประจำเดือน ควรรอ ให้หมดประจําเดือบไปแล้วอย่างน้อย 3-5 วัน
- การตรวจทางรังสีวินิจฉัย ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ให้ทราบในกรณี ดังต่อไปนี้
- ผู้รับการตรวจตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์
- เป็นผู้ที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสี แพ้อาหารทะเล หรือแพ้ยาต่างๆ
- ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker) รวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นโลหะใส่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย (สำหรับการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI)
- การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่
- แนะนำให้เข้ารับการตรวจหลัง หมดประจำเดือนอย่างน้อย 3 วัน
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือไม่ใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดภายใน 2 วัน ก่อนเข้ารับการตรวจ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 1 วัน
- กรณีมีประจำเดือน หรือปวดท้องประจำเดือนอย่างมาก สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมดก่อน