แพ็กเกจวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ใหญ่
*วัคซีนปอดอักเสบและวัคซีนงูสวัด ควรเว้นระยะฉีดห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
**วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ควรเว้นระยะฉีดห่างจากวัคซีนอื่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์
หมายเหตุ
1. ราคานี้สำหรับผู้ใหญ่อายุ 15 ปี ขึ้นไป สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กรุณาติดต่อสอบถามราคาและรับวัคซีนได้ที่แผนกเด็ก
2. ราคารวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
3. รับบริการได้ที่แผนกอายุรกรรม ชั้น 4 โทร 02-022-0700 ต่อ 4421- 4423, 02-022-0843
4. แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทำการฉีดวัคซีนทุกครั้ง
5. ค่าแพทย์ในแพคเกจ เฉพาะการปรึกษาเรื่องวัคซีนเท่านั้น ไม่รวมกรณีปรึกษาเพิ่มเติมอื่นๆ
6. โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและราคาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
“วัคซีน” ไม่ได้จำเป็นแต่ในวัยเด็กเท่านั้น แต่สำคัญกับคนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ วัยที่สูงขึ้นก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ภูมิคุ้มกันลดน้อยลง ทำให้รับเชื้อต่างๆได้ง่ายขึ้น หรือเชื้อที่ซ่อนอยู่อาศัยช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอแสดงออกมาเกิดเป็นโรคที่ทำลายคุณภาพชีวิต เช่น งูสวัด ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นต้น การฉีดวัคซีน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันและช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคได้
ข้อมูลเพิ่มเติมของวัคซีนแต่ละชนิด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
Influenza/Flu Vaccine
ไข้หวัดใหญ่ (Flu) เป็นโรคที่พบบ่อยและติดต่อได้อย่างกว้างขวาง เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยแพร่จากการไอ จามและการสัมผัส ในผู้สูงอายุมักจะมีความรุนแรงมากกว่า พบว่ามีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง อาการจะเกิดอย่างรวดเร็วและอาจเป็นอยู่หลายวัน
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
- มีไข้/หนาวสั่น
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- เมื่อยล้าอ่อนเพลีย
- ไอ
- ปวดศีรษะ
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย เป็นวัคซีนซึ่งไม่มีส่วนผสมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ยังมีชีวิต เป็นการฉีดด้วยเข็มฉีดยา มักเรียกว่า “Flu Shot” เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ละปีจึงต้องผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ขึ้นเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในปีนั้น ในขณะที่วัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ทุกสายพันธุ์ เราจึงต้องพยายามป้องกันการเกิดโรคให้ดีที่สุด
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน
กลุ่มที่เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่จะป่วยมากกว่าผู้อื่น คือเด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือระบบภูมิต้านทานต่ำ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับบุคคลกลุ่มนี้และใครก็ตามที่ใกล้ชิดกับคนกลุ่มนี้
วิธีการให้
- ฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี
- ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานต่อโรคประมาณสองสัปดาห์ และจะป้องกันได้หนึ่งปี
หากท่านรู้สึกไม่สบายควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ปกติแล้วท่านสามารถรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้หากมีอาการป่วยเล็กน้อย ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้รอไปก่อนจนกว่าจะมีอาการดีขึ้นก่อนแล้วกลับมาฉีดในภายหลัง
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่หรือ ส่วนประกอบของวัคซีนชนิดนี้อย่างรุนแรง
- ผู้ที่กำลังป่วยหรือเคยป่วยด้วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré Syndrome: GBS)
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีนไข้หวัดใหญ่
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเล็กน้อยหลังจากการได้รับการฉีดวัคซีน:
- ระบม แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีด
- ไข้
- ปวดเมื่อย
- ปวดศีรษะ
- คัน
- อ่อนเพลีย
อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังฉีด และจะหายเองภายใน 1-2 วัน หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ควรนั่งหรือนอนพัก ประมาณ 15-30 นาที ที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการแพ้ หรือ อาการข้างเคียงอื่นๆ
วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
Td or Tdap Vaccine
โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นโรคอันตรายที่เกิดจากแบคทีเรีย โรคคอตีบและไอกรนเป็นการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ส่วนเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วน
- โรคคอตีบ : ทำให้เกิดเนื้อหนาๆ ปิดอยู่หลังลำคอ ทำให้เกิดปัญหากับระบบหายใจ, อัมพาต, หัวใจล้มเหลวและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- โรคบาดทะยัก (อาการขากรรไกรแข็ง) : ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ มักเป็นทั่วร่างกาย สามารถนำไปสู่อาการขากรรไกรแข็ง ทำให้ไม่สามารถอ้าปากหรือกลืนอาหารได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- โรคไอกรน (Whooping Cough) : ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรงจนผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือหายใจได้ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย อาจทำให้เกิดโรคปอดบวม ลมชัก สมองพิการหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน และวิธีการให้
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tetanus, Diphtheria, Pertussis)
- เด็กควรได้รับการฉีดวัคซีน Tdap 5 เข็ม ฉีดตามกำหนดอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 15-18 เดือน, 4-6 ปี สามารถรับการฉีดวัคซีน Tdap ในเวลาเดียวกับการฉีดวัคซีนอื่นๆได้
- สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 11 ปี ยังจำเป็นต้องได้รับการป้องกันอยู่ โดยวัคซีนที่ใช้คือ TdaP และกระตุ้นด้วยวัคซีน Td ทุก 10 ปี
หมายเหตุ
- ประสิทธิผลสูงสุดของการฉีดวัคซีน จะเกิดหลังจากได้รับวัคซีนอย่างน้อย 14 วัน
- ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีน จะต้องเป็นผู้มีสุขภาพดีและพร้อมที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน
- ในกรณีผู้ป่วยไม่สบายเพียงเล็กน้อย อาจสามารถรับวัคซีนได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- ผู้ที่มีประวัติเกิดผลข้างเคียงรุนแรงหลังจากการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน หรือผู้ที่มีอาการป่วยหนัก ไม่สมควรได้รับการฉีดวัคซีน
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
ผลข้างเคียงเล็กน้อยที่พบได้
- อาจพบอาการปวด บวม แดง บริเวณตำแหน่งฉีดวัคซีนได้
- มีไข้ต่ำ หลังได้รับวัคซีน ประมาณ 37.5 – 37.8 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง
- อาการสั่น ปวดข้อ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ผลข้างเคียงระดับรุนแรงแต่พบน้อยมาก
- มีอาการปวดบริเวณไหล่อาจส่งผลกระทบให้เกิดความลำบากในการเคลื่อนไหวแขนหรือมีอาการบวมแดงบริเวณตำแหน่งที่ได้รับวัคซีน โดยอาจพบอาการนานมากกว่า 3 สัปดาห์
- อาการแพ้อย่างรุนแรง
- ผื่น ผิวหนังอักเสบ
- ไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส
Pneumococcal Vaccine
โรคนิวโมค็อคคัล เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเทร็พโทค็อคคัสนิวโมเนีย แบคทีเรียเหล่านี้สามารถแพร่จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งจากการสัมผัสใกล้ชิด สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ รวมทั้งปอดบวม เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- Pneumococcal conjugate vaccine 15-valent (PCV15) แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม แก่ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี หรือ ผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
- ผู้ที่ได้รับการตัดม้าม
- ผู้ที่มีโรคเรื้องรัง เช่น หัวใจวายเรื้อรัง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตวาย โรคตับแข็ง เบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี
- ผู้ป่วยที่มีการรั่วซึมของน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Leakage)
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือยาสเตียรอยด์ขนาดสูง ติดเชื้อเอชไอวี เปลี่ยนถ่ายอวัยวะและปลูกถ่ายไขกระดูก
- วัคซีนนิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์ (PPSV23) แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้าม 1 เข็ม แก่ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี หรือ ผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงรุนแรง ดังนี้
- ผู้ที่มีโรคปประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับแข็งเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวา
- ผู้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ควรได้รับวัคซีนนิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์ 1 เข็ม และควรฉีดกระตุ้นทุก 5 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- ใครก็ตามที่เคยมีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายกับชีวิต ไม่ควรฉีดวัคซีนนี้
- ใครก็ตามที่มีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงต่อส่วนผสมของวัคซีน ไม่ควรฉีดวัคซีนนี้
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีนนิวโมคอคคัส
ความเสี่ยงซึ่งอาจทำอันตรายร้ายแรงต่อผู้รับการฉีดวัคซีนนี้อาจเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก
- ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กจะมีอาการง่วงนอนหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน มีอาการเบื่ออาหารชั่วคราวหรือระบมแดงบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน
- ประมาณ 1 ใน 3 จะมีอาการบวมบริเวณที่ได้รับการฉีด
- ประมาณ 1 ใน 3 จะมีไข้เล็กน้อยและประมาณ 1 ใน 20 จะมีไข้สูง
ผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการบวมแดง และเจ็บบริเวณที่ได้รับการฉีด มีไข้เล็กน้อย ปวดเมื่อย ปวดหัว หนาวสั่นหรือปวดกล้ามเนื้อ ส่วนปฏิกิริยาแพ้ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตจากการได้รับวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก
หมายเหตุ หลังฉีดวัคซีน 1 เดือนจึงเกิดภูมิต้านทานโรค
ข้อควรระวัง วัคซีนปอดอักเสบ และ วัคซีนงูสวัด ต้องเว้นระยะการฉีดห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
Zoster Vaccine
โรคงูสวัดเป็นโรคผิวหนังเกิดจากการติดเชื้อซ้ำของเชื้อไวรัสเรียกว่า Varicella-zoster Virus (VZV) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในร่างกายทำให้เกิดตุ่มพองที่ผิวหนัง ปวดแสบร้อนมาก และเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคไข้สุกใส ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสนี้ที่ปมประสาทสันหลัง ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแอเชื้อสามารถสร้างเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ แต่จะเกิดเฉพาะแนวประสาท ไม่ลุกลามกระจายออกไปเพราะร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออยู่แล้ว แนวเส้นประสาทที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณเอว ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่รับประทานยาสเตอร์รอยด์ จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัดสูง เกิดการอักเสบของเส้นประสาทและอาการปวดอย่างรุนแรงที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น อาจจะทำให้เกิดตาบอด ปากเบี้ยวครึ่งซีก เป็นต้น
เชื้อไวรัสที่อยู่ในผื่นสามารถติดต่อโดยการสัมผัส สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนก็อาจจะกลายเป็นอีสุกอีใส สำหรับคนที่เป็นอีสุกอีใสแล้วก็จะมีโอกาสเป็นงูสวัดเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไม่ก็ตาม
- กลุ่มผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูกหรือปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างโรคเอสแอลอี ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
- ผู้ที่เคยได้วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (ZVL) มาก่อน เพื่อการปกป้องที่สูงขึ้น สามารถรับวัคซีนงูสวัดชนิดใหม่ได้ 2 เข็ม โดยให้เว้นระยะห่างจากวัคซีนเดิมอย่างน้อย 2 เดือน
- ในกรณีที่เป็นโรคงูสวัดมาก่อนสามารถให้วัคซีนงูสวัดได้หลังจากโรคงูสวัดหายแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
ขั้นตอนการรับวัคซีนงูสวัด
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ชนิดไม่ใช่เชื้อเป็น – Shingrix ฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่าง 2 – 6 เดือน มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัดสูงถึง 97.2% และป้องกันอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังจากการติดเชื้อได้ถึง 91.2% รวมถึงมีผลการป้องกันต่อเนื่องในระดับสูงยาวนานมากกว่า 10 ปี โดยวัคซีนชนิดนี้สามารถใช้ได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีน
ผลข้างเคียงค่อนข้างไม่รุนแรง และมีระยะเวลาไม่นาน มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดหัว แดง หรือปวดบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่หากได้รับผลข้างเคียงนานเกิน 2-3 วัน ควรติดต่อแพทย์เพื่อดูอาการ
ข้อควรระวัง วัคซีนปอดอักเสบ และ วัคซีนงูสวัด ต้องเว้นระยะการฉีดห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
วัคซีนป้องกันRSV
RSV Vaccine
RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นชื่อโรคที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูแต่อาจจะเคยได้ยินข่าวเด็กเล็กป่วยเป็นโรคนี้อยู่บ่อยครั้งรู้หรือไม่ว่าเป็นวัยผู้ใหญ่ อย่างเราก็สามารถเป็นได้โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุโรคนี้มีผลกระทบรุนแรงมากเลยทีเดียว
เนื่องจากเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมและปอด ไวรัสนี้มีลักษณะเฉพาะที่สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงทำให้เกิดอาการขั้นรุนแรงได้เลย
และยิ่งอากาศในช่วงนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ก็ยิ่งเป็นช่วงที่ปลายฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว
ก็มีโอกาสที่พบโรคนี้ได้สูงขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ
เพราะฉะนั้นการทำความรู้จักกับโรครวมไปถึงวิธีการป้องกันก็จะช่วยลดความเสี่ยงรวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความร้ายแรงในอนาคตอีกด้วย
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
dengue Vaccine