แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
***แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม Mammogram with Ultrasound Breast Package สามารถใช้ได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี เท่านั้น
ตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการอัลตร้าซาวด์เต้านม ถือเป็นมาตรฐานการตรวจภาพรังสีเต้านมในปัจจุบัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้น แนะนำผู้หญิงทุกคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจ หรือก่อนนั้น หากมีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
เหมาะสำหรับ
– ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
– และในอายุ 30-35 ปีที่มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว
– หากคลำพบก้อนที่เต้านม ปวด หรือมีของเหลวผิดปกติไหลออกจากหัวนม หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม ควรเข้ารับการตรวจทันที
รายการตรวจ Examinations
- ตรวจสุขภาพโดยสูตินรีแพทย์ Physical Examination by an Obstetric and Gynaecologist
- แมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม Mammogram & Ultrasound Breast
- ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลฯ Doctor’s fee, nursing and hospital services fee
หมายเหตุ
- ทุกแพ็กเกจราคารวมค่าแพทย์ ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- ทุกแพ็กเกจไม่รวมค่าใช้จ่ายกรณีมีการรักษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในแพ็กเกจ
- ทุกแพ็กเกจสามารถมอบให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ได้
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 2 วัน ผ่านระบบ BNH Cares ในไลน์ @BNHhospital หรือทำนัดกับเจ้าหน้าที่ทางไลน์ @Mbrace
- รับบริการที่ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น4 Zone A โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ทุกวัน 07.00 – 19.00 น.
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โทร 02-022-0788, 02-022-0850
- แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม Mammogram with Ultrasound Breast Package สามารถใช้ได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี เท่านั้น
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดจนเกินไป
- ไม่อยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจแมมโมแกรมคือ ช่วง 7-14 วัน หลังมีประจำเดือน
- การตรวจแมมโมแกรม ไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งฝุ่นบริเวณหน้าอกและรักแร้รวมถึงยาหรือสเปรย์ระงับกลิ่นตัว เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีสารที่จะให้ลักษณะเหมือนหินปูนที่ผิดปกติที่พบในมะเร็งเต้านมในภาพแมมโมแกรม ทำให้การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้
- สำหรับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน เพราะเป็นข้อควรหลีกเลี่ยงในการทำแมมโมแกรม โดยจะทำเฉพาะอัลตราซาวด์เท่านั้น
มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
#เพราะมะเร็งน่ากลัว
ปัจจัยเสี่ยงที่ควรตรวจมะเร็งเต้านม
ใครบ้างที่ควรตรวจมะเร็งเต้านม ??
- อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
- มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
- การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
- ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย
- ช่วงเวลาในการมีประจําเดือน โดยพบว่าผู้ที่มีประจําเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจําเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม
โปรแกรมตรวจมะเร็งเต้านม
โปรแกรมตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี
รายการตรวจประกอบด้วย:
- ตรวจเต้านมเบื้องต้น และแจ้งผลโดยแพทย์
- ตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม
- โปรแกรมนี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- *แพคเกจราคาพิเศษนี้ ขอสงวนสิทธิ์ ไม่สามารถระบุแพทย์ได้
โปรแกรมตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์เต้านม สำหรับผู้ที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
รายการตรวจประกอบด้วย:
- ตรวจเต้านมเบื้องต้น และแจ้งผลโดยแพทย์
- ตรวจแมมโมแกรมเต้านม
- ตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม
- โปรแกรมนี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- *แพคเกจราคาพิเศษนี้ ขอสงวนสิทธิ์ ไม่สามารถระบุแพทย์ได้
การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) คือกระบวนการตรวจโดยใช้เอกซเรย์พลังงานต่ำถ่ายภาพของเต้านม เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งเมื่อมีอาการและยังไม่มีอาการผิดปกติ จากการวิจัยพบว่าการตรวจแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้สูงโดยไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้า
เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ (Digital Mammogram with Tomosynthesis)
- เครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ถูกออกแบบให้แตกต่างกับเครื่องเอกซเรย์เต้านมธรรมดา โดยสามารถถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมได้ทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ พร้อมกันได้ในครั้งเดียว
- เป็นเครื่องที่สามารถสร้างภาพเต้านมจากการตรวจเต้านมในหลายมุม และนำภาพเหล่านั้นมารวบรวมขึ้นเป็นภาพเนื้อเยื่อเต้านมในรูปแบบ 3 มิติ (3-D Reconstruction)
- ภาพเต้านมที่ได้ มีความละเอียดสูง ช่วยให้รังสีแพทย์สามารถมองเห็นเนื้อเต้านมที่ซ้อนกันอยู่ได้ชัดเจน แยกตำแหน่งที่แท้จริงของก้อนเนื้อในเต้านมได้ จึงทำให้ได้ผลการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียด ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จึงมีโอกาสรักษาหายขาดได้สูงมาก
- สามารถเจาะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์เต้านมร่วมกับการคำนวณตำแหน่งที่เจาะ ผ่านคอมพิวเตอร์ (Stereotactic Biopsy) ซึ่งมีความแม่นยำสูง เหมาะกับความผิดปกติชนิดหินปูน (Calcification) ที่ไม่สามารถตรวจเห็นได้ด้วยวิธีอื่น
ข้อบ่งชี้ในการตรวจตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ
- ใช้เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก ตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ
- ใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของเต้านมในผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น คลำเจอก้อน ปวดหรือมีของเหลวผิดปกติไหลออกจากหัวนม
- ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี เนื่องจากสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกได้ และเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้สูงขึ้น อีกทั้งยังสามารถเก็บเนื้อเต้านมไว้ได้โดยไม่ต้องตัดทิ้งทั้งเต้า
- สำหรับผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมและผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงอันเนื่องมาจากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำว่า ควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมก่อนอายุ 40 ปีหรือไม่ และมีความถี่ในการตรวจควรเป็นอย่างไร
ข้อดีของการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ
- ภาพแมมโมแกรมช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบเนื้องอกขนาดเล็กได้ดีขึ้น มีผลให้สามารถเลือกวิธีการรักษาได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้
- ไม่มีรังสีตกค้างในร่างกายหลังตรวจเสร็จ
- ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยมักไม่มีผลข้างเคียงกับร่างกาย
ควรมาตรวจเต้านมก่อนเริ่มรับประทานยาฮอร์โมน เนื่องจากยาฮอร์โมนหลายๆชนิดมีข้อห้ามใช้ในบุคคลที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม เพราะจะทำให้ก้อนมะเร็งมีการกระจายและขยายโตขึ้นได้
หากตรวจพบว่ามีก้อนที่เต้านมชนิดปกติ หรือเป็นก้อนถุงน้ำ สามารถรับประทานยาฮอร์โมนได้ แต่ควรเข้ารับการตรวจเต้านมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำเพื่อติดตาม และได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม
ควรตรวจเต้านมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการเสริมเต้านม เนื่องจากบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมควรได้รับการรักษาให้เสร็จก่อนที่จะเสริมเต้านม เพราะการรักษาจะส่งผลทำให้ซิลิโคนที่เสริมเต้านมเกิดความเสียหายได้
บุคคลที่ผ่าเสริมเต้านม โดยใส่ถุงซิลิโคน หรือถุงน้ำเกลือ แนะนำให้ควรตรวจเต้านมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ โดยสามารถทำการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวน์ได้ โดยไม่เกิดอันตรายต่อถุงดังกล่าว โดยการถ่ายภาพแมมโมแกรมจะถ่ายเพิ่มจากบุคคลทั่วไปอีก 1 ท่า คือรูปที่เห็นเต้านมพร้อมถุง เพื่อดูถุงซิลิโคนว่ายังอยู่ในถุงปกติหรือไม่ เช่น มีซิลิโคนรั่วออกจากนอกถุง หรือมีน้ำอยู่รอบๆซิลิโคน และรูปที่กดเฉพาะเนื้อเต้านมโดยดึงถุงไปด้านหลัง เพื่อดูก้อน หรือหินปูนเฉพาะในเนื้อเต้านม
แพทย์โรงพยาบาลบีเอ็นเอช แนะนำให้สุภาพสตรีที่มีอายุเริ่มต้นตั้งแต่ 40 ปี เข้ารับการตรวจเต้านมเป็นประจำทุก ๆ 1 ปี
ท่านสามารถเข้ารับบริการได้ที่แผนกศัลยกรรม ชั้น 1 ได้เลยค่ะ
หากยังไม่เคยมีประวัติที่ BNH รบกวนติดต่อลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ ที่แผนกเวชระเบียนชั้น 1 ก่อน
เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ แนะนำให้ทำนัดล่วงหน้าที่แผนกศัลยกรรม ชั้น 1 โทร 02-022-0721 หรือทำนัดผ่านช่องทางไลน์ได้เลยค่ะ
แพคเกจราคาพิเศษนี้ สงวนสิทธิ์ไม่สามารถระบุแพทย์ได้นะคะ
สามารถโอนสิทธิ์การใช้บริการ หรือซื้อแพคเกจนี้ให้ผู้อื่นได้ค่ะ
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันที่ท่านมีอยู่ โดยสามารถขอรับใบเสร็จที่การเงิน เพื่อนำไปติดต่อกับตัวแทน หรือบริษัทประกันได้ค่ะ
สามารถขอใบรับรองแพทย์ยืนยันการเข้ารับบริการได้ค่ะ
กรณีมีคิวว่าง สามารถเข้ารับบริการได้เลยค่ะ แต่เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ แนะนำให้ทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
หากไม่เคยมีประวัติเสี่ยง และไม่มีอาการใด ๆ สามารถตรวจได้เช่นกันค่ะ โดย
– ท่านที่อายุ 35-40 ปี แนะนำตรวจอัลตราซาวนด์เต้านมก็เพียงพอ
– ท่านที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้รับการตรวจแมมโมแกรมทุก ๆ 1 ปี จนถึงอายุประมาณ 70 ปี หากอายุมากกว่า 70 ปีและไม่พบความผิดปกติใดๆ สามารถให้มาตรวจปีเว้นปีได้
– ท่านที่มีประวัติเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ควรตรวจทุก 1 ปีโดยเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปี ได้แก่
ผู้หญิงที่มีญาติสายตรง คือ มารดา พี่สาว น้องสาว บุตรสาว ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจที่ อายุ 35 ปีหรือ 10 ปี ก่อนอายุของญาติที่เป็นมะเร็งเต้านม
ตรวจได้ค่ะ เบื้องต้นแนะนำตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวน์เต้านม เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรมจะมีประโยชน์สูงสุดในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็กในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะเนื้อเต้านมมีความหนาแน่นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า ดังนั้นในกลุ่มคนอายุน้อยแมมโมแกรมจึงอาจแปลผลยาก
แต่กรณีมีประวัติเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ควรตรวจทุก 1 ปีโดยเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปี ได้แก่
สตรีที่มีญาติสายตรง ได้แก่ มารดา พี่สาว น้องสาว มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจที่ อายุ 35 ปีหรือ 10 ปีก่อนอายุของญาติที่เป็นมะเร็งเต้านม
แนะนำการตรวจอัลตราซาวนด์อย่างเดียวได้ค่ะ
การตรวจแมมโมแกรมจะเห็นรายละเอียดได้มาก แต่ในกรณีที่พบสิ่งผิดปกติที่มีลักษณะคล้ายก้อนแมมโมแกรมไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนนั้นเป็นน้ำหรือก้อนเนื้อ ดังนั้นในการตรวจด้วยแมมโมแกรมจึงจำเป็นที่ต้องใช้การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวน์ควบคู่กันไปด้วยเสมอ นั้นคือแมมโมแกรมใช้ในการตรวจหินปูนและก้อน และการตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวน์จะใช้เป็นการตรวจเสริมในการแยกแยะก้อนซิสท์ (ถุงน้ำ) ออกจากก้อนเนื้อชนิดธรรมดาหรือก้อนมะเร็ง อีกทั้งยังเป็นการช่วยตรวจเสริมให้มั่นใจได้ว่า ไม่พบก้อนในการตรวจแมมโมแกรมจริงๆโดยเฉพาะในรายที่มีความหนาแน่นของเต้านมสูง ทั้งจากการกินฮอร์โมนหรือมีผู้ที่มีอายุน้อย
- ไม่อยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจแมมโมแกรมคือ ช่วง 7-14 วัน หลังมีประจำเดือน
- ไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งฝุ่นบริเวณหน้าอกและรักแร้รวมถึงยาหรือสเปรย์ระงับกลิ่นตัว เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีสารที่จะให้ลักษณะเหมือนหินปูนที่ผิดปกติที่พบในมะเร็งเต้านมในภาพแมมโมแกรม ทำให้การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้
- สำหรับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน เพราะเป็นข้อควรหลีกเลี่ยงในการทำแมมโมแกรม โดยจะทำเฉพาะอัลตราซาวน์เท่านั้น
- ขณะตรวจแมมโมแกรมท่านจะต้องยืนนิ่ง เครื่องจะกดที่เต้านมและทำการถ่ายภาพเต้านมทีละข้าง ข้างละประมาณ 5 วินาที ท่านอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยซึ่งมีความจำเป็น เพื่อภาพที่ออกมาจะได้มีความชัดเจนและแยกรายละเอียดภายในเต้านมได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถ่ายภาพมาตรฐานข้างละ 2 ท่า หลังทำแมมโมแกรมแล้วท่านจะได้รับการตรวจอัลตราซาวน์เต้านมโดยรังสีแพทย์ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
- ผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกโดยใส่ถุงซิลิโคนหรือถุงน้ำเกลือ ก็สามารถรับการตรวจแมมโมแกรมได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อวัสดุที่ใช้เสริมหน้าอก ในขั้นตอนของการถ่ายภาพจะถ่ายเพิ่มจากบุคคลทั่วไปอีก 1 ท่า คือท่าที่ทำให้ได้รูปเต้านมพร้อมถุงและภาพที่กดเฉพาะเนื้อเต้านมโดยดึงถุงไปด้านหลัง
- ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจแมมโมแกรมนั้นมีปริมาณน้อยมากและมีผลเฉพาะช่วงที่แสงเอกซเรย์ผ่านร่างกายเท่านั้นไม่สามารถสะสมตกค้าในร่างกายไปตลอด และไม่สามารถถ่ายทอดไปยังคนใกล้เคียงได้
- ความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ช่วยให้การตรวจทำได้ง่ายและลดอาการเจ็บจากการกดเต้านมได้ ผู้ป่วยหลายท่านจะกังวลต่ออาการเจ็บจากการทำแมมโมแกรมแต่หากเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับแล้วถือว่ามีความคุ้มค่ามากค่ะ
สำหรับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน เพราะเป็นข้อควรหลีกเลี่ยงในการทำแมมโมแกรม โดยจะทำเฉพาะอัลตราซาวน์เท่านั้น