คำถามที่พบบ่อย : วิตามินช่วยให้นอนหลับ
สามารถรับประทาน OYAZU-Vit ได้นานแค่ไหน? วิตามินช่วยให้นอนหลับ
สามารถรับประทานได้เรื่อยๆ เพราะไม่ใช่ยานอนหลับ เมื่อรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้น สามารถหยุดรับประทานได้
สามารถรับประทาน OYAZU-Vit ร่วมกับเมลาโทนิน ได้หรือไม่?
สามารถรับประทานร่วมกันได้ โดยจะออกฤทธิ์ส่งเสริมกัน
วิธีการบริโภค : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนนอน
L-Theanine คืออะไร?
กรดอะมิโนที่พบได้ตามธรรมชาติ ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียด ส่งเสริมให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น และหลับสนิทมากขึ้น
Magnesium คืออะไร?
แร่ธาตุที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการปวดต่างๆ เช่นปวดกล้ามเนื้อ ปวดไมเกรน และนอนหลับได้ง่ายขึ้น
GABA คืออะไร?
สารสื่อประสาทที่ช่วยผ่อนคลายการทำงานของสมอง ลดความเครียด ทำให้สมองเข้าสู่ภาวะการนอนหลับได้ง่ายขึ้น
วิธีปรับ “นาฬิกาชีวิต” ให้นอนหลับได้ดีขึ้น
1. เข้านอนก่อน 4 ทุ่ม ตื่นนอนเป็นเวลา และนอนให้เพียงพอ
2. กินให้ตรงเวลา ไม่กินมื้อดึก (ไม่กินหลัง 2 ทุ่ม)
3. ให้ร่างกายได้สัมผัสแสงแดดธรรมชาติให้มากขึ้น ในช่วงเช้าหรือกลางวัน
4. ระหว่างวันให้เคลื่อนไหวร่างกายทุกๆ ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงบ่ายและช่วงเย็น
5. หลังพระอาทิตย์ตกดิน ควรปิดไฟหรือหรี่ไฟให้มากที่สุด เพื่อให้ร่างกายรับรู้ว่ามืดแล้ว
6. หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าจากหน้าจอ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน เพื่อให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินได้อย่างปกติ
7. สร้างความผ่อนคลายด้วยกิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลงบรรเลงคลายเครียด จุดน้ำมันหอมระเหย Aromatherapy หรือนั่งสมาธิ
8. สามารถทานอาหารเสริมเป็นตัวช่วยได้
การนอนไม่พอหรือ “นอนไม่หลับ” ส่งผลเสียอย่างไร?
1. ร่างกายเสื่อมโทรมลง
2. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
3. การตอบสนองของสมองช้าลง และร่างกายทำงานติดขัด
4. เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง
5. และเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป
การนอนพักผ่อนที่เหมาะสม แบ่งตามช่วงอายุ ไว้ดังนี้
- วัยเด็ก 6-13 ปี ควรพักผ่อน 9-11 ชม.
- วัยรุ่น 14-17 ปี ควรพักผ่อน 8-10 ชม.
- วัยผู้ใหญ่ตอนต้น 18-25 ปี ควรพักผ่อน 7-9 ชม.
- วัยผู้ใหญ่ 26-64 ปี ควรพักผ่อน 7-9 ชม.
- วัย 65 ปีขึ้นไป ควรพักผ่อน 7-8 ชม.
การนอนแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1. ช่วงการนอนหลับแบบลูกตากรอกตัวไปมาช้าๆ (Non-rapid eye movement หรือ NREM Sleep)
สามารถแยกย่อยออกเป็น 3-4 ระยะ โดยที่ระยะแรกๆ จะเป็นช่วงที่เพิ่งจะหลับหรือ สะลึมสะลือ ในช่วงนี้ร่างกายจะตอบสนองเร็วต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น ถ้าถูกปลุกให้ตื่น ก็จะตื่นทันที ไม่มีอาการงัวเงีย
2. ช่วงการนอนหลับแบบลูกตากรอกตัวอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement sleep หรือ REM sleep)
จะเป็นช่วงหลับลึก ร่างกายจึงจะตอบสนองต่อสิ่งภายนอกช้า ถ้าถูกปลุก จะตื่นลำบากและมีอาการง่วงซึม
ช่วงนี้ ร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมมากที่สุดจากฮอร์โมนแห่งการชะลอวัย (Anti-aging hormone) หรือ Growth hormone ที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาในปริมาณมากที่สุดในช่วงนี้
Growth hormone หรือ ฮอร์โมนชะลอความแก่
คือสารที่ร่างกายหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง รวมไปถึงพัฒนาการด้านสมอง และคงความหนุ่มสาว ดังนั้นยิ่งมีฮอร์โมนตัวนี้เยอะร่างกายจะยิ่งแข็งแรง ถ้ามีน้อยร่างกายเราก็เสื่อมเร็วขึ้น กระดูกจะบางลง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน กล้ามเนื้อเล็กลงและขาดความทนทาน ริ้วรอยเพิ่มมากขึ้น ผมหงอกเร็วขึ้น เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง
สารนี้จะหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองเมื่อเราหลับลึกเท่านั้น โดยจะหลั่งออกมามากที่สุดในช่วง 24:00-1.30 น.
ดังนั้น ถ้าเราอยากจะคงความอ่อนเยาว์ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ควรเข้านอนคือเวลา 22.00 น.
อย่างช้าที่สุดไม่ควรเกิน 23.30 น. เพื่อที่จะได้รับ Growth hormone มากขึ้น