ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร @BNH Hospital
โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง
สัมผัสประสบการณ์การรักษาที่เหนือกว่าด้วย:
ความเชี่ยวชาญและความเฉพาะเจาะจง:
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อโดยตรง มุ่งเน้นการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อโดยเฉพาะ
เทคโนโลยีและนวัตกรรม:
เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องที่ทันสมัย (Minimally Invasive & Painless Suregry) ช่วยให้การรักษามีความแม่นยำสูง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด / การฉีดพลาสม่าเข่า (PRP) บรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม โดยไม่ต้องผ่าตัด
การรักษาแบบครบวงจร:
ครอบคลุมการรักษาตั้งแต่อาการเสื่อมสภาพของข้อ บาดเจ็บ ภาวะหินปูนเกาะ การติดเชื้อต่างๆ ที่ส่งผลต่อข้อและกระดูก
การป้องกันและการฟื้นฟู:
ให้คำแนะนำและโปรแกรมฟื้นฟูเฉพาะบุคคล ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
การวินิจฉัยและรักษาที่มีความแม่นยำ:
เทคโนโลยีทันสมัยและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร โรงพยาบาลบีเอ็นเอช "ทางเลือกอันดับหนึ่งสำหรับการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ"

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเสื่อมอาจไม่ได้เกิดกับคนทุกคน แต่ผู้ที่มีปัจจัยต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อม
- ผู้มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI >25)
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีกรรมพันธุ์ หรือ ประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
- มีกิจวัตรหรือทำกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่าเป็นประจำ
- กิจกรรมที่เกิดแรงกระแทกที่ข้ออย่างซ้ำๆ หรือมากเกินไป
- เคยบาดเจ็บที่ข้อเข่า เช่น เล่นกีฬา หรือ อุบัติเหตุ
- มีข้อเข่าโก่ง
- มีโรคข้อต่างๆ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์
- มีเสียงในข้อเข่าร่วมกับอาการเจ็บ
- มีความผิดปกติอื่นๆ ในบริเวณข้อเข่า




รีบมาตรวจคัดกรองข้อเข่าเสื่อม และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
ข้อเข่าเสื่อมหรือ Osteoarthritis (OA)
เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อม และการสึกหรอของผิวกระดูก ซึ่งผิวกระดูกอ่อนมีหน้าที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวเรียบลื่น ไม่ติดขัด ทั้งยังทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของร่างกาย เนื่องจากการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน โรคนี้เป็นหนึ่งในหลายโรคที่เป็นปัญหาเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ
โรคข้อเสื่อมนี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ
- ปวดที่ข้อ
- ข้อขัด
- ข้อบวม
- เคลื่อนไหวข้อไม่เป็นปกติ
ถ้าเป็นการเสื่อมของข้อที่รับน้ำหนัก เมื่อเคลื่อนไหวลงน้ำหนักจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้น
แพ็กเกจตรวจคัดกรองข้อเข่าเสื่อม (X-Ray ข้อเข่า)

ราคาปกติ
|
ราคาพิเศษ
|
---|---|
4,020 บาท
|
1,690 บาท
|
รายการตรวจ
1. สุขภาพโดยแพทย์เฉพาะทางโรคข้อเข่าเสื่อม
2. X-Ray เข่าทั้ง 2 ข้าง (ด้านหน้า และ ด้านข้าง)
หมายเหตุ
- แพ็กเกจนี้รวมค่าแพทย์อ่านผลและค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
(ไม่รวมค่าใช้จ่ายกรณีปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม หรือมีการรักษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในแพ็กเกจ เช่น ค่าแพทย์ ค่ายา ค่าทำหัตถการ ค่าอุปกรณ์ เป็นต้น) - แพ็กเกจนี้สำหรับการตรวจ 1 ครั้ง
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการอย่างน้อย 1 วัน
- สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-022–0700 ต่อ 2775-2776

ราคาปกติ
|
ราคาพิเศษ
|
---|---|
16,300 บาท
|
13,000 บาท
|
ปัญหาไหล่:
อายุ 45 ปีขึ้นไปและมีอาการปวดไหล่เรื้อรัง หรือเจ็บเมื่อยกแขน MRI ไหล่จะช่วยหาสาเหตุที่แท้จริง แม้ผลเอ็กซเรย์จะปกติแต่ยังมีอาการปวดเรื้อรัง
ปัญหาเข่า:
อายุ 45 ปีขึ้นไปและมีอาการปวดเข่า โดยเฉพาะเวลานั่งยองๆ หรือเจ็บจากการบาดเจ็บ MRI เข่าจะช่วยตรวจหาปัญหาที่ซ่อนอยู่ที่อาจไม่สามารถมองเห็นได้ใน X-ray เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช – ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ



สำหรับนักกีฬาที่ใช้ข้อเข่าอย่างมาก การดูแลสุขภาพข้อเข่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
เนื่องจากข้อเข่ามีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมกีฬาและอาจเกิดปัญหาข้อเข่าจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง การป้องกันและรักษาปัญหาข้อเข่าเริ่มต้นด้วยการตรวจคัดกรองข้อเข่าเป็นสิ่งสำคัญที่นักกีฬาควรทำ เพื่อตรวจวัดสภาพของข้อเข่าและความเสี่ยงในการเกิดปัญหา
นี่คือขั้นตอนที่สำคัญในการปกป้องและป้องกันข้อเข่า:
- การตรวจคัดกรองข้อเข่า:
นักกีฬาควรพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ เป็นการตรวจวัดความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของข้อเข่า และตรวจสอบความเสี่ยงในการเกิดปัญหาข้อเข่า - การป้องกันอุบัติเหตุ:
การใส่อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ เช่น รองเท้าที่เหมาะสมและเข็มขัดข้อ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดบาดเจ็บข้อเข่า - การฝึกซ้อมที่เหมาะสม:
การฝึกซ้อมเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและฟื้นฟูความแข็งแกร่งของข้อเข่า สามารถช่วยลดความเครียดที่ข้อเข่าและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาข้อเข่า - การรักษาอย่างเหมาะสม:
หากมีอาการปวดหรือบาดเจ็บในข้อเข่า ควรรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม และหากมีความจำเป็น ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษา
ดังนั้น นักกีฬาควรให้ความสำคัญกับการทำการตรวจคัดกรองข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพข้อเข่าของตน
การปกป้องและป้องกันปัญหาข้อเข่าสำหรับนักกีฬาที่ใช้ข้อเข่าอย่างมากผ่านการตรวจคัดกรองข้อเข่า
สำหรับนักกีฬาที่ใช้ข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ การดูแลและปกป้องสุขภาพข้อเข่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะข้อเข่ามีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมกีฬา และมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาข้อเข่าจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
การตรวจคัดกรองข้อเข่า:
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบสภาพของข้อเข่าและการระบาดของปัญหา เพื่อให้นักกีฬาสามารถป้องกันและรักษาสุขภาพข้อเข่าได้อย่างเหมาะสม
เช็ค BMI เพื่อประเมินภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม
BMI Calculator
อาการเบื้องต้นและขั้นตอนของอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการแรกเริ่มของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ๆ อาจมีอาการไม่เด่นชัด
ในผู้ป่วยหลายราย แต่รู้สึกว่าขัดๆ ที่ข้อเข่า หรือฝืดในข้อเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังจากที่ข้ออยู่นิ่งเป็นเวลานาน หรือจากการที่ข้ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ในระยะต่อมาอาการปวดจึงค่อยๆ ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ขั้นตอนการเกิดโรคอาจใช้เวลาเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้
ในระยะต่อมาจะรู้สึกว่าอาการขัดในข้อบ่อยขึ้นและมากขึ้น
อาจมีเสียงลั่นในข้อคล้ายเสียงกระดาษทรายถูกัน ในระยะนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการปวดอาจมีความแตกต่างในผู้ป่วยแต่ละคนอย่างสิ้นเชิง เช่น ปวดน้อย ปวดบางครั้ง จนถึงปวดมาก หรืออาการปวดเป็นตลอดเวลา
เมื่อสังเกตให้ดี อาจพบว่าอาการปวดสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมเฉพาะบางอย่าง เช่น ออกกำลังกายมาก ขึ้นบันได นั่งเตี้ย หรือนั่งยอง และมักสังเกตว่าอาการปวดดีขึ้น เมื่อลดกิจกรรมเหล่านี้ลง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าอาการปวดย้ายตำแหน่งได้ หรืออาการปวดเพิ่มจากบริเวณเฉพาะของข้อนั้น ไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมบางรายอาจมีการอักเสบในข้อ
ทำให้มีอาการข้อเข่าบวม อุ่นขึ้น เป็นครั้งคราว ผิวหนังอาจมีสีแดงเข้มขึ้นได้หรือมีกระดูกงอกในข้อ ทำให้สังเกตได้ว่าข้อเข่ามีขนาดใหญ่ขึ้น และการเคลื่อนไหวของข้อไม่ได้มากดังแต่ก่อน การอักเสบที่เกิดกับข้อใหญ่ที่รับน้ำหนัก อาจทำให้ผู้ป่วยเดินลงน้ำหนักไม่ได้เพราะความปวด

จะยืนยันได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม?
วิธีป้องกันข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองอย่างปลอดภัย
การที่จะทำให้ผู้ป่วยป้องกันการเสื่อมของข้อเข่าลงได้ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก็คือผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อมที่น้อย หรือปานกลางเท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติตัวหรือรักษาวิธีเหล่านี้ได้ผลเป็นที่พอใจ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามาก ๆ (นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า)
- หลีกเลียงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น อย่างบ่อย ๆ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน
- หมั่นขยับบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา
- ทานยาแก้อักเสบของข้อเมื่อจำเป็นหรือทานเป็นครั้งคราว
- ในรายที่ข้อโก่งผิดรูปและหรือมีการแกว่งของข้อได้มากกว่าปกติ เมื่อต้องเดินทางหรือมีกิจกรรมที่นานกว่าปกติ ควรสวมปลอกสวมข้อเข่า ชนิดมีเหล็กสปริงที่ด้านข้างของข้อเข่าทั้งด้านในและด้านนอก
- ในรายที่ปวดเข่าบ่อย หรือเดินทรงตัวไม่ดี ควรใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ (ควรถือไม้เท้าด้วยมือตรงข้ามกับเข่าที่ปวด)

เนื่องจากทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวด และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมอีกครั้ง

ที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
อย่าปล่อยให้ข้อเข่าเสื่อม ขโมยอิสระภาพในการเคลื่อนไหวของคุณไป! กลับมาใช้ชีวิตอย่างที่คุณต้องการ ด้วยการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว ปราศจากความเจ็บปวด
FAQ คำถามที่พบบ่อย ตอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เนื่องจากการเสื่อมของข้อเข่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติซึ่งอาจไม่ได้ต่างอะไรจากการที่เรามีผิวหนังที่เหี่ยวย่นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมร่วมกับมีอาการผิดปกติทางร่างกายโดยเฉพาะอาการปวด หรือไม่สามารถประกอบภารกิจประจำวันได้เป็นปกติ มีความจำเป็นต้องรับการรักษา เป้าหมายของการรักษาโรคข้อเสื่อม คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด หรือทำให้อาการเจ็บปวดหายไป ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงขึ้น ทำให้ข้อยังคงใช้งานได้ดังเดิม หรือในระดับที่พอใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยหรือสภาพได้
ถ้าแพทย์ตรวจพบว่าผู้ป่วยมีข้อเข่าเสื่อม แต่ไม่มีอาการที่ผิดไปจากปกติเลย อาจไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ เป็นพิเศษ ในกรณีนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำก็คือ การถนอมหรือบำรุงรักษาให้ข้อที่เสื่อมนั้น สามารถอยู่กับตัวเราได้อย่างไม่สร้างปัญหาให้ยาวนานที่สุด
ในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อม แต่มีอาการเล็กน้อย หลักใหญ่ของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยเหล่านี้ คือ ควบคุมให้การอักเสบของข้อเข่าอยู่ในระดับน้อยจนไม่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยการปรับรูปแบบการใช้งานข้อเข่า การออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อเข็งแรงขึ้น และป้องกันการอักเสบที่จะเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นการชะลอการเสื่อมหรือการสึกหรอของข้อที่มากขึ้น
ในปัจจุบัน ผู้ป่วยจำนวนมากที่เริ่มมีการเสื่อมของข้อเข่า นิยมรับประทานสารบำรุงผิวกระดูกอ่อน (Glucosamine) ซึ่งเป็นสารที่เป็นเสมือนอาหารเสริม ไม่เกิดอันตรายจากการทานสารเหล่านี้เป็นเวลานานแพทย์ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า หากผู้ป่วยทานสารเหล่านี้ แล้วอาการข้อเข่าดีขึ้นก็ให้ทานต่อไปได้

ภาวะการเสื่อมของข้อเข่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยแต่โดยทั่วๆไปแล้วเวลามีข้อเขาเสื่อมมักจะพบร่วมกับข้ออื่นๆที่เสื่อมตามมาด้วยโดยเฉพาะกระดูกสันหลังและข้อสะโพก ข้อที่รับน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล รวมถึงในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมมาเป็นเวลานานและเกิดการผิดรูปแล้วอาจจะทำให้ข้ออื่นๆต้องรับภาระหนักมากขึ้นและเสื่อมตามมาได้

ในผู้สูงอายุความหนาแน่นของกระดูกเริ่มลดลงการรับประทานแคลเซี่ยมช่วยเสริมกระดูกให้แข็งแรงขึ้นและลดแรงกระทำต่อข้อเขาสามารถชะลอข้อเขาเสื่อมได้
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ว่าสมุนไพรสามารถรักษาข้อเขาเสื่อมได้

การใส่ Knee Support โดยทั่วไปจะช่วยลดอาการปวดได้ในช่วงที่บาดเจ็บหรืออักเสบ รวมถึงทำให้ข้อเข่ากระชับมันคงขึ้น อย่างไรก็ดี การใส่ Support เป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อออกแรงลดลงทำให้เกิดการอ่อนแรงมากขึ้นซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อที่พยุงเข่าทั้งต้นขาด้านหน้าและด้านหลังประสิทธิภาพแย่ลงได้จึงแนะนำให้ใส่เฉพาะช่วงที่ปวดเท่านั้น และไม่ได้ช่วยป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อม
ประสบการณ์จริงจากผู้เข้ารับการรักษา
“Did a short 15K ride in Bangkachao this morning on my low-step bike. Easier to mount and dis-mount. After all, I am not 75 anymore as my wife told me.
Thank you to you and your teams for a super job, getting me to this point only 7 weeks after to my knee replacement surgery.”
“I have been using BNH for 35 years and have always been impressed by the standard and medical care – but todays experience was totally outstanding; efficient, professional, and caring by all staff but particularly nursing and support staff; and of course by Dr Worapoj who’s treatment – medical assessment and diagnosis; explanation and bedside manner was world class… very many thanks. “
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมาย

ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ และให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อประเมินการรักษา
SPECIALIST
-
ศ. นพ. อารี ตนาวลี
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ศัลยกรรมกระดูก / หัวไหล่และข้อ
-
นพ. อุดม สุขแสนไกรศร
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ศัลยกรรมกระดูก / หัวไหล่และข้อ
-
พญ. แพรวพรรณ โปริสวาณิชย์
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ศัลยกรรมกระดูก/หัวไหล่และข้อ/เวชศาสตร์การกีฬา
-
นพ. กิตติพงษ์ คงรักเกียรติยศ
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: เวชศาสตร์การกีฬา ผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อ การบาดเจ็บทางการกีฬา
-
นพ. ธันว์ อิทธิพานิชพงศ์
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ศัลยกรรมกระดูก อนุสาขาเวชศาสตร์เวชศาสตร์ การกีฬา
-
นพ. ธนรัตน์ เหรียญเจริญ
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ออร์โธปิดิกส์
-
นพ. นน จารุเธียร
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ออร์โธปิดิกส์
-
นพ. มนูญ ศักดินาเกียรติกุล
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ออร์โธปิดิกส์
-
นพ. ภาคภูมิ สมรักษ์
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์
-
นพ. สมเจตน์ เจนวรพจน์
ศูนย์กระดูกและข้อครบวงจร
ความชำนาญพิเศษ: กระดูกและข้อ, หัวไหล่และข้อเข่า, การบาดเจ็บจากกีฬา