มารู้จัก Trigger point กัน

Trigger point

คนไข้หลายๆคนมาพบหมอ เพราะ อาการปวดเฉพาะที่บางตำแหน่ง ทั้ง คอ บ่า หรือ แขนขา คลำได้เป็นก้อน แล้วหมอ ให้การวินิจฉัยว่า มี trigger point ที่กล้ามเนื้อ (myofascial trigger point) หรือเรียกกลุ่มอาการที่เกิดจาก trigger point รวมๆ ว่า myofascial pain syndrome ……….. ทำให้คนไข้หลายๆ คนสงสัยว่า Trigger point คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไร

Trigger point

Q: Trigger point คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

A: Trigger point เป็นจุดกดเจ็บบนลำกล้ามเนื้อ (taut band) ที่เกิดขึ้นจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ที่ตำแหน่งเดิม จนเกิดภาวะ energy crisis ของกล้ามเนื้อที่ตำแหน่งนั้นๆ เกิดการกระตุ้นต่อเนื่อง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดแล้วไม่คลายตัว

Trigger point

Q: Trigger point มีสาเหตุมาจากอะไร ?

A: อาการนี้มักมีสาเหตุจากการผิดปกติ หรือการบาดเจ็บจากตำแหน่งอื่นภายใน ทำให้กล้ามเนื้อด้านนอกรอบๆ เกิดอาการตึงตัวหดเกร็ง คลำได้เป็นก้อน ( #latent trigger point) กดเจ็บ และ ต่อมามีอาการเจ็บได้เอง ( #active trigger point)

เช่น ในคนที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง มักจะมีอาการปวดจาก trigger point บริเวณรอบๆ ร่วมด้วย, คนที่มีอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เช่น เอ็นเข่าอักเสบ บางครั้งก็มี trigger point ที่ต้นขา หรือน่องร่วมด้วย ทำให้บางครั้งเวลาวิ่ง รู้สึกตึงเฉพาะที่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายจะเป็นตะคริว, หรือ การใช้กล้ามเนื้อตำแหน่งเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่อง เช่น คนที่ทำงานอยู่ท่าเดิมนานๆ หรือเคยชินกับท่าทางบางอย่างที่เกร็งกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ต่อเนื่อง หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า office syndrome

Q: อาการที่เกิดจาก Trigger point เป็นอย่างไรบ้าง ?

A: อาการเจ็บนี้ สามารถมีทั้ง #อาการปวดเฉพาะที่ บริเวณที่มีปัญหา ( #localized pain) หรือ #ปวดร้าวไปที่ตำแหน่งอื่น ( #referral pain) เช่น ปวดที่บ่า แล้วร้าวไปที่ศีรษะ หรือ ปวดที่สะโพก แล้วร้าวไปที่ขา บางครั้งอาจมี #อาการชา ร่วมด้วย

Trigger point
Trigger point

Q: Trigger point อันตรายมั๊ย ?

A: Trigger point เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง แต่มักมีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน การทำงาน การออกกำลังกายต่างๆ ทำให้คนไข้มักมีความกังวลว่าจะเป็นอะไรที่รุนแรง หรืออันตรายมากๆ

Q: Trigger point รักษาอย่างไร ?

A: การรักษา trigger point มีหลายแบบ ทั้งการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ได้แก่ ESWT, laser, ultrasound, PMS หรือ การใช้เข็ม ไม่ว่าจะเป็น dry needling หรือ trigger point injection ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ได้แก่ therapeutic massage การยืดกล้ามเนื้อ รวมถึง การปรับท่าทาง และ การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ขณะทำงาน

การรักษา trigger point โดยวิธีใดนั้น ขึ้นกับ ระยะที่เป็น ตำแหน่งที่เป็น การพิจารณาของแพทย์ ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะกับคนไข้รายนั้นๆ เช่น คนไข้บางรายอาจจะทนเข็มไม่ได้เลยอาจต้องเลือกรักษาโดยวิธีอื่น หรือ คนไข้บางรายอาจจะตอบสนองดีกว่าเมื่อรักษาด้วยเข็ม เป็นต้น ที่สำคัญ #ต้องรักษาที่สาเหตุ ที่ทำให้เกิด trigger point ด้วย จึงจะทำให้อาการดีขึ้นในระยะยาวได้ค่ะ

และอย่าลืมเรื่องที่สำคัญมาก คือ อาการปวดเฉพาะที่ หรือ ร้าวไปที่ตำแหน่งอื่น หรือ อาการชา สามารถเกิดจาก #สาเหตุที่รุนแรงอย่างอื่นได้ เช่น การกดทับเส้นประสาท ดังนั้น จึงควรพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัย ถึงสาเหตุของอาการที่แน่นอน เพื่อแยกโรคที่รุนแรงมากกว่า ออกก่อน จึงค่อยรักษาเฉพาะเรื่อง trigger point ค่ะ

ปล. การรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น หมอได้พูดถึงไว้บ้างแล้วในตอนก่อนหน้านี้ ส่วนที่ยังไม่ได้พูดถึงจะมาเล่าให้ฟังอีกครั้งค่ะ

ดร.พญ. ประเนตรทิพย์ รินแก้วกาญจน์

บทความโดย

ดร.พญ. ประเนตรทิพย์ รินแก้วกาญจน์

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

ดร.พญ. ประเนตรทิพย์ รินแก้วกาญจน์

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด

ความชำนาญพิเศษ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพ

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


Pain, Pain & Spine intervention, DM related (foot)
แพทย์ฝังเข็ม


– Diplomate Thai Board of Rehabilitation Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University
– อบรมหลักสูตรแพทย์ฝังเข็ม ณ กรมแพทย์ทหารบก


– MD.,Siriraj Hospital, Mahidol University
– Ph.D. Immunology, Mahidol University

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
จันทร์ 08:00 – 17:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
อังคาร 08:00 – 15:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
พุธ 08:00 – 17:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
พฤหัสบดี 12:00 – 20:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
ศุกร์ 08:00 – 16:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก