
ถั่วเหลืองจัดอยู่ในกลุ่มเลถั่วเมล็ดแห้ง หรือ legume เช่น ถั่วลันเตา ถั่วลูกไก่ ถั่วเลนทิ้ว หรือ ถั่วลูพิน เป็นต้น การแพ้ถั่วเหลืองพบได้ประมาณ 0.3%-0.5% ของประชากร โดยกลุ่มอาการแพ้มีหลากหลาย พบได้ทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ ถั่วเหลืองถือเป็น หนึ่งในอาหารแพ้หลัก 8 ชนิดที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้
สารก่อภูมิแพ้ในถั่วเหลือง
ในเมล็ดถั่วเหลืองมีส่วนประกอบของโปรตีนประมาณ 37% ในปัจจุบันพบโปรตีนกว่า 8 ชนิดที่สัมพันธ์กับการแพ้ถั่วเหลือง ได้แก่ โปรตีนโกลบูลิน อัลมูมิน ดีเฟนซิน โปรฟิลิน เป็นต้น
อาการและอาการแสดงการแพ้ถั่วเหลือง
ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองอาจมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ ดังนี้
- การแพ้เฉียบพลัน เช่น อาการลมพิษ หน้าบวม หายใจลำบาก มักเกิดจากการรับประทานและการสัมผัส มีรายงานการแพ้รุนแรงเฉียบพลันหลังจากการรับประทานร่วมกับการออกกำลังกาย
- การแพ้ชนิดผื่นผิวหนังอักเสบ หรือ eczema พบบ่อยในเด็กเล็ก น้อยกว่า 1 ขวบ
- แพ้ผ่านทางการสูดเข้าทางเดินหายใจ มักพบในผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นถั่วเหลือง soy flour or dust
- แพ้จากสาเหตุการแพ้ข้ามกลุ่มจากหญ้าหรือวัชพืชจากโมเลกุลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือ cross reaction พบประมาณ 10% ของผู้ป่วยที่แพ้เกสรหญ้า โดยเฉพาะในยุโรป หรือทวีปอเมริกาตอนเหนือ พบในคนไข้ที่มีอาการภูมิแพ้เยื่อบุตาและจมูกอักเสบจากวัชพืช ต้นไม้ ประเภทเบริชหรือฟากาเลส มาก่อนแล้วมีอาการแพ้หลังรับประทานถั่วเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวัดระดับการแพ้สามารถทำได้โดย การตรวจโดย skin prick test หรือ สะกิดผิวหนัง จาก soy extract หรือในบางกรณีอาจพิจารณา prick to prick test ต่อผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองนั้นๆ หรือการเจาะเลือดเพื่อหาแอนติบอดีจำเพาะต่อถั่วเหลือง หากค่าแอนติบอดีที่มีมากกว่า 30 KUA/L ว่ามีความเป็นไปได้ในการแพ้สูง ทั้งนี้การทดสอบโดยการรับประทานจะยืนยันการวินิจฉัยภาวะการแพ้
การรักษาและการพยากรณ์โรค
ในผู้ป่วยเด็กพบว่าการแพ้ถั่วเหลืองอาจมีการหายได้เองตามธรรมชาติที่อายุ 6-7 ขวบ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยมี่มีระดับการแพ้ที่ค่อนข้างสูงเสี่ยงต่อการแพ้ต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่
ในปัจจุบันมีการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดต่ออาหารในกรณีที่ผู้ป่วยไม่หายจากการแพ้อาหารที่ 5 ขวบ ทั้งนี้การศึกษาในภาวะแพ้ถั่วเหลือง ยังมีจำกัด
ผู้ป่วยที่แพ้ถั่วเหลืองควรอ่านฉลากและสังเกตส่วนประกอบของถั่วเหลืองอย่างละเอียด ชื่ออาหารที่อาจมีส่วนผสมของถั่วเหลือง ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวหลอด(เต้าหู้), ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย(เต้าหู้), แฮ่กี้นและหอยจ๊อ (ห่อด้วยฟองเต้าหู้), เปาะเปี๊ยะสด, ขนมเบื้องญวน, หมี่กรอบ,หมี่กะทิ, เต้าหู้ยี้,เต้าเจี้ยว,เต้าซี่, โปรตีนเกษตร, ถั่วอีดามาเมะ, โปรีนไฮโดรไลเซสใช้ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ, แป้งคินโนโค, มิโซะ, นัตโตะ, เทปเป้, ซอสโชยยุ, ซอสเทอริยากิ หรือ เลคซิติน เป็นต้น

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

แพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ (20) จุด ครอบคลุมการตรวจภูมิแพ้อาหารและจมูก
ตรวจภูมิแพ้อาหาร หรือตรวจภูมิแพ้จมูก ราคาเดียว 4,000 บาท!!
Promotion พิเศษ เริ่มวันที่ 22 กรกฏาคม – 31 ธันวาคม 2566
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– 2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– 2559 กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
– 2561 กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
ศุกร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |