มารู้จักการรักษาโดยเลเซอร์กำลังสูงกัน

การรักษาโดยเลเซอร์กำลังสูง

ปัจจุบันมีการใช้เลเซอร์ในทางการแพทย์หลายด้าน ทั้งในความงาม การผ่าตัด มาจนถึงมีการประยุกต์ใช้เลเซอร์ ในการลดปวดและอักเสบที่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งการรักษาดังกล่าวพบได้ทั่วไปในแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด บ่อยครั้งในขณะที่กำลังทำการรักษา หมอมักจะได้คำถามจากคนไข้บ่อย ๆ จึงรวบรวมคำตอบมาไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

Q: เลเซอร์ช่วยในการรักษาได้อย่างไร

A: หลักการที่สำคัญของเลเซอร์ในการรักษาโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกคือ Photomechanical & biostimulation นั่นคือ การใช้พลังงานจากแสงเลเซอร์ (photon) ผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เอ็น ชั้นต่างๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในเซลล์ ขึ้นกับการปรับพลังงานเลเซอร์ที่ใช้ ได้แก่

เลเซอร์มีผลจากตัวลำแสงเอง (photomechanical effect) ทำให้เกิดการกระตุ้นปลายประสาท (free nerve ending) เกิดการยับยั้งกระบวนการปวดโดย gait control mechanism และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนของเลือดและระบบน้ำเหลือง (microcirculation stimulation) จึงมีผลในการลดอาการปวด บวม และอักเสบ

เลเซอร์มีผลของความร้อน (thermic effect) ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilatation) นำเลือดและ oxygen มาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการกำจัดของเสีย (metabolite) และ proinflammatory mediator ต่างๆ จึงช่วยลดการอักเสบ การบวม รวมถึงทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเนื้อเยื่อต่างๆมากขึ้นจึงช่วยลดการตึง ทำให้กล้ามเนื้อเอ็นผ่อนคลาย (muscle relaxation)

ที่สำคัญเลเซอร์ยังมีจุดเด่นในเรื่อง biostimulation effects หรือ promote healing & recovery โดยกลไกการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากกระตุ้นการขนส่ง oxygen ไปยัง mitochondria ภายในเซลล์ที่รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ที่รวดเร็วขึ้น มากขึ้น

การรักษาโดยเลเซอร์กำลังสูง

จะเห็นได้ว่าผลโดยรวมของเลเซอร์ คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารต่าง ๆ ในเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับ การอักเสบ การปวด การบวม และการซ่อมแซมฟื้นฟูสร้างเสริมเนื้อเยื่อให้กลับมาเป็นปกติ

Q: เลเซอร์ใช้ในการรักษาในภาวะใดบ้าง

A: จากคุณสมบัติของเลเซอร์ข้างต้น ทำให้เลเซอร์สามารถใช้ในการรักษาภาวะที่เกี่ยวข้องกับ การอักเสบหรือบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ได้แก่

  • Tendinitis or tenosynovitis เช่น rotator cuff syndrome, lateral epicondylitis, patellar tendinitis ช่วยลดปวดในระยะเฉียบพลันได้ดี
  • Osteoarthritis, bursitis, synovitis
  • Trauma และ sports injury ต่างๆ
  • อาการปวดและชาที่เกิดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) การกดทับเส้นประสาท เช่น radiculopathy, sciatica, carpal tunnel syndrome
  • ลดอาการบวมจากการอักเสบ
  • รักษาแผลเปิด เช่น แผลเบาหวาน แผลกดทับ
  • ลดอาการตึงของแผล หรือ อาการตึงของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ เช่น frozen shoulder, Muscle & tendon tightness
  • Myofascial pain ช่วยลดอาการปวดและตึงที่เกิดจากกล้ามเนื้อตึงหรือจมยึด (trigger point) ได้อีกด้วย
  • ลดอาการระบม จากการรักษาอื่นๆ เช่น คลื่นกระแทก (Extracorporeal shockwave therapy), การฝังเข็มคลายจุด (Dry needling)
การรักษาโดยเลเซอร์กำลังสูง

Q: การรักษาโดยเลเซอร์มีผลข้างเคียง หรือ ความเสี่ยงใดๆ หรือไม่

A: ขณะทำการรักษาด้วยเลเซอร์ลดปวดมักจะไม่เจ็บ หรือรู้สึกอุ่นนิด ๆ ขณะทำการรักษา แตกต่างจากการรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อความงาม การรักษาด้วยเลเซอร์ลดปวดมีความปลอดภัย เพียงแต่ต้องระวังไม่ให้เลเซอร์เข้าตาโดยตรง ขณะทำการรักษาจึงจำเป็นต้องใส่แว่นกันแสงขณะทำการรักษา 

ควรหลีกเลี่ยงการรักษาในรายที่ กำลังมีไข้ หรือบริเวณที่ได้รับการรักษาเป็นมะเร็ง

Q: การรักษาด้วย laser ได้บ่อยแค่ไหน ต้องทำกี่ครั้ง

A: ทำได้ทุกวันในกรณีที่เป็นการรักษาเพื่อลดปวดเฉียบพลัน และแพทย์อาจพิจารณาเว้นวันทำการรักษาในกรณีที่ต้องการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ แต่สามารถทำได้ถึง 3–5 ครั้งต่อสัปดาห์ การรักษาอาจทำได้ตั้งแต่ 3–15 ครั้ง แล้วแต่โรคและภาวะที่เป็นอยู่ตอนนั้น

สรุปว่า

การรักษาโดยเลเซอร์ลดปวด เป็นการรักษาที่ขณะทำการรักษาไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้เป็นทางเลือกในการรักษาเบื้องต้นสำหรับหลาย ๆ ภาวะ หลังทำการรักษามักสบายขึ้น แต่หากเป็นการบาดเจ็บหรืออักเสบที่มาก ผลการลดปวดอาจอยู่ได้ไม่นาน มักต้องมาทำซ้ำต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น การใช้เลเซอร์ประกอบกันกับการรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดอื่น ๆ ได้แก่ Extracorporeal Shockwave Therapy, Magnetic Stimulation, Cold compression ให้เหมาะสมกับโรคและระยะโรค จะทำให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

1. Dundar et al., Effect of high-intensity laser therapy in the management of myofascial pain syndrome of the trapezius: a double blind, placebo-controlled study, Lasers Med Sci (2015) 30:325–332.

2. M.S.M. Alayat et al., Long term effect of high-intensity laser therapy in the treatment of patients with chronic low back pain: a randomized blinded placebo-controlled trial, Lasers Med Sci (2014) 29:1065–1073.

3. Santamato A. et al., Short term effects of high intensity laser therapy versus ultrasound therapy in the treatment of people with subacromial impingement syndrome : a randomized clinical trial, Physical therapy (2009) 89(7): 643–652.

ดร.พญ. ประเนตรทิพย์ รินแก้วกาญจน์

บทความโดย

ดร.พญ. ประเนตรทิพย์ รินแก้วกาญจน์

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

ดร.พญ. ประเนตรทิพย์ รินแก้วกาญจน์

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด

ความชำนาญพิเศษ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพ

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


Pain, Pain & Spine intervention, DM related (foot)
แพทย์ฝังเข็ม


– Diplomate Thai Board of Rehabilitation Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University
– อบรมหลักสูตรแพทย์ฝังเข็ม ณ กรมแพทย์ทหารบก


– MD.,Siriraj Hospital, Mahidol University
– Ph.D. Immunology, Mahidol University

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
จันทร์ 08:00 – 17:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
อังคาร 08:00 – 15:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
พุธ 08:00 – 17:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
พฤหัสบดี 12:00 – 20:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
ศุกร์ 08:00 – 16:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก