
ส่องกล้องกระเพาะ (Gastroscopy) ตรวจหาความผิดปกติของกระเพาะอาหารที่ซ่อนอยู่
โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มีความรุนแรงและเกิดขึ้นในระยะยาว เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั่วโลก งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น
การดูแลสุขภาพทางเดินอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) คือ การตรวจภายในกระเพาะอาหารด้วยกล้องขนาดเล็ก ทำให้แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรค และวินิจฉัยได้อย่างละเอียดที่สุด เป็นขั้นตอนการตรวจที่มีประโยชน์อย่างมากในทางการแพทย์ ช่วยในการวินิจฉัยภาวะที่ผิดปกติในทางเดินอาหารส่วนบน เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การตรวจนี้มักใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทั่วไป การส่องกล้องกระเพาะอาหารไม่เพียงแต่เป็นวิธีการที่ให้ผลแม่นยำ แต่ยังเป็นวิธีที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคในระยะเริ่มต้นได้

การส่องกล้องกระเพาะอาหารคืออะไร? ดูอะไรได้บ้าง?
การส่องกล้องกระเพาะอาหารคือการตรวจภายในของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Gastroscope ซึ่งเป็นการใช้กล้องชนิดอ่อนขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 13 มิลลิเมตร ส่องเข้าไปทางปากไปจนถึงกระเพาะอาหาร ทำให้แพทย์สามารถเห็นภาพภายในทางเดินอาหารส่วนบนได้แบบเรียลไทม์ โดยใช้
เครื่องมือนี้ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นการอักเสบ แผล หรือการก่อตัวของเนื้องอก การส่องกล้องยังสามารถช่วยในการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมสำหรับการวินิจฉัยที่แม่นยำ เช่น ตรวจการติดเชื้อ H.pylori ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหารมักถูกนำมาใช้เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะผิดปกติในทางเดินอาหารส่วนบน โดยข้อบ่งชี้หลักในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร ได้แก่
- อาการปวดท้องเรื้อรัง หากคุณมีอาการปวดท้องเป็นเวลานานตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปโดยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การส่องกล้องกระเพาะอาหารช่วยในการหาสาเหตุที่แน่ชัด เช่น แผลในกระเพาะอาหารหรือการอักเสบของหลอดอาหาร การติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
- อาการกรดไหลย้อน (GERD) ผู้ที่มีอาการแสบร้อนกลางอกหรือเจ็บคอจากการไหลย้อนของกรด การส่องกล้องช่วยให้แพทย์เห็นสภาพของหลอดอาหารและประเมินความรุนแรงของกรดไหลย้อน
- กลืนอาหารลำบากหรือเจ็บคอ อาการกลืนลำบากอาจเกิดจากหลอดอาหารตีบหรือมีเนื้องอก
- อาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด การส่องกล้องกระเพาะอาหารสามารถระบุสาเหตุและช่วยในการหยุดเลือดออกได้
- น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ การที่น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุอาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร

ทำไมต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร?
การส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการตรวจสอบอาการหรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารส่วนบน โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการทั่วไป การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูง ทำให้แพทย์สามารถเห็นหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจน และช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
ยิ่งไปกว่านั้น การส่องกล้องยังช่วยให้แพทย์สามารถทำการรักษาเบื้องต้นได้ เช่น การหยุดห้ามเลือดจากแผลในทางเดินอาหาร การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือการรักษาภาวะหลอดอาหารตีบแคบ และเหตุผลที่สำคัญในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร ดังนี้
- วินิจฉัยอาการที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้แน่ชัด หากคุณมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจเบื้องต้น เช่น อาการปวดท้องเรื้อรัง กรดไหลย้อน กลืนอาหารลำบาก หรืออาการคลื่นไส้ การส่องกล้องช่วยให้แพทย์เห็นภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นอย่างชัดเจน ทำให้สามารถตรวจหาภาวะผิดปกติต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร การอักเสบ การมีเนื้องอก หรือ การติดเชื้อ pylori
- ตรวจหาสาเหตุของอาการกรดไหลย้อนหรือปวดท้องเรื้อรัง การส่องกล้องสามารถตรวจสอบการอักเสบหรือรอยโรคที่เกิดจากกรดไหลย้อน (GERD) หรือภาวะการอักเสบอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องเรื้อรังได้ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโดยตรงนี้ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ทันที
- ตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งกระเพาะอาหารและหลอดอาหารมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น การส่องกล้องช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งในระยะต้นหรือระยะที่ยังไม่ลุกลาม การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้
- การตรวจเพื่อหาสาเหตุของการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด การส่องกล้องสามารถระบุสาเหตุของเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นได้ทันที ทำให้แพทย์สามารถทำการรักษาเบื้องต้น เช่น การหยุดเลือดออกหรือตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจเพิ่มเติม
- การรักษาภาวะหลอดอาหารตีบหรือมีสิ่งอุดตัน ในกรณีที่มีอาการกลืนอาหารลำบากเนื่องจากหลอดอาหารตีบแคบจากโรคหรือการบาดเจ็บ การส่องกล้องช่วยให้แพทย์สามารถขยายหลอดอาหารได้ทันที หรือในกรณีที่มีก้อนเนื้อหรือสิ่งอุดตันในทางเดินอาหาร การส่องกล้องช่วยในการเอาสิ่งแปลกปลอมออกได้

ประโยชน์ของการส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหารมีประโยชน์หลายประการที่ทำให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร:
- การวินิจฉัยที่แม่นยำและเชื่อถือได้ การส่องกล้องช่วยให้แพทย์เห็นภาวะภายในทางเดินอาหารแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถวินิจฉัยปัญหาได้อย่างละเอียด เช่น การตรวจพบแผลหรือเนื้องอกที่อาจเป็นมะเร็งในระยะแรก หากพบติ่งเนื้อ หรือเนื้องอก สามารถตัดและนำไปส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการทันที
- การรักษาเบื้องต้น ในบางกรณี แพทย์สามารถทำการรักษาได้ในระหว่างการส่องกล้อง เช่น การหยุดเลือด การขยายหลอดอาหาร หรือการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหามะเร็ง
- ความสะดวกและปลอดภัย การส่องกล้องเป็นขั้นตอนที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมีโอกาสน้อยมาก
- การตรวจพบภาวะที่ไม่แสดงอาการ การส่องกล้องสามารถช่วยในการตรวจหาภาวะที่ไม่แสดงอาการ เช่น แผลเล็กๆ ในกระเพาะอาหารที่อาจพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต รวมไปถึงการตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย หรือมะเร็ง
โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารส่วนบนและกระเพาะอาหาร
ระบบทางเดินอาหารส่วนบนประกอบด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารส่วนบนและกระเพาะอาหารมีหลายชนิดและอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารอย่างรุนแรง ในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคที่พบบ่อยและภาวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารส่วนบนและกระเพาะอาหาร

1. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD)
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก (heartburn) และอาจทำให้หลอดอาหารอักเสบ หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง หรือหลอดอาหารตีบแคบ
● อาการ แสบร้อนกลางอก กลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้ เรอเปรี้ยว
● การรักษา การใช้ยาลดกรด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การผ่าตัดในกรณีที่รุนแรง
2. แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer Disease)
แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการที่กรดในกระเพาะกัดกร่อนเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล การติดเชื้อ Helicobacter pylori และการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
● อาการ ปวดท้องหลังอาหาร, ท้องอืด, คลื่นไส้, อาเจียน
● การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะในการกำจัดเชื้อ H. pylori, ยาลดกรด, การหลีกเลี่ยงยา NSAIDs
3. กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
กระเพาะอาหารอักเสบเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวหรือเป็นเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่การติดเชื้อ H. pylori การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยา NSAIDs มากเกินไป
● อาการ ปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องอืด
● การรักษา ยาลดกรด, การกำจัดเชื้อ H. pylori, การหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยา NSAIDs
4. มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer)
มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก และมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่การติดเชื้อ H. pylori พันธุกรรม การรับประทานอาหารที่มีเกลือสูง การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
● อาการ ปวดท้อง, น้ำหนักลด, อาเจียน, มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
● การรักษา การผ่าตัด, เคมีบำบัด, การฉายรังสี
5. โรคหลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis)
หลอดอาหารอักเสบเกิดจากการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากกรดไหลย้อน การติดเชื้อ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่
● อาการ ปวดหรือแสบร้อนในหลอดอาหาร, กลืนอาหารลำบาก, ไอเรื้อรัง
● การรักษา ยาลดกรด, ยาปฏิชีวนะในกรณีติดเชื้อ, การหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ
6. ภาวะหลอดอาหารตีบ (Esophageal Stricture)
ภาวะนี้เกิดจากการที่หลอดอาหารตีบแคบลง อาจเกิดจากการอักเสบเรื้อรังจากกรดไหลย้อนหรือการบาดเจ็บในหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก
● อาการ กลืนลำบาก, อาหารติดคอ, น้ำหนักลด
● การรักษา การขยายหลอดอาหารด้วยเครื่องมือเฉพาะ, การผ่าตัดในกรณีรุนแรง
7. โรค Barrett’s Esophagus
Barrett’s esophagus เป็นภาวะที่เกิดจากการระคายเคืองเรื้อรังจากกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้เซลล์ที่หลอดอาหารเปลี่ยนแปลงไป ภาวะนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร
● อาการ คล้ายกับอาการกรดไหลย้อน แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
● การรักษา การติดตามตรวจเป็นระยะ, การใช้ยาลดกรด, การผ่าตัดหากมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็ง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการส่องกล้องกระเพาะอาหาร
1. การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
- หยุดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Warfarin, Ticlid , Clopidrogrel หรือ NSAID อย่างน้อย 5 วัน ก่อนทำการตรวจ
- ไม่ควรนำของมีค่ามาในวันที่ทำการส่องกล้อง ท่านที่ใส่ฟันปลอมหรือคอนแทกเลนส์ ควรถอดก่อนการเข้าห้องตรวจ
- แจ้งประวัติการแพ้ยา และประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เพื่อพิจารณาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นรายๆไป
- งดน้ำและอาหาร ก่อนส่องกล้องกระเพาะอาหาร 8 ชั่วโมงของวันที่ส่องกล้อง
- ผู้ป่วยต้องเซ็นต์ชื่อลงในใบยินยอมก่อนการตรวจ ในกรณีที่ท่านมีอายุน้อยกว่า 20 ปีจะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นต์ชื่อในใบยินยอมแทน โดยแพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้ และภาวะแทรกซ้อนของหัตถการดังกล่าว
2. ระหว่างการตรวจ ในระหว่างการส่องกล้อง ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่หรือยาระงับประสาทเพื่อให้ผ่อนคลาย การตรวจนี้ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
3. หลังการตรวจ หลังการตรวจ ผู้ป่วยจะรู้สึกระคายคอเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปในเวลาไม่นาน ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิ เนื่องจากฤทธิ์ของยา
- หลังการส่องกล้องให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง ประมาณ 30 – 60 นาที หรือจนกว่าจะตื่นดี
- สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น ในรายที่ได้รับการขยายหลอดอาหาร ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่คอ หน้าอก หายใจลำบาก มีเลือดออก หรือคลำลมใต้ผิวหนังได้ ให้รีบแจ้งแพทย์ผู้ตรวจทันทu
- อาการชาในลำคอจะหายไปภายใน 1 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ให้งดน้ำและอาหารไว้ก่อน จนกว่าอาการชาจะหายไป เมื่ออาการชาในลำคอหายในให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าไม่มีอาการสำลักจึงดื่มน้ำได้ มื้อแรกให้รับประทานอาหารอ่อนและเย็น ไม่ควรรับประทานอาหารที่ร้อน เพราะอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองคอได้ ในบางรายอาจมีเจ็บบริเวณลำคอบ้างเล็กน้อย เนื่องจากการใส่กล้องตรวจแต่อาการจะหายไปในไม่ช้า
- ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามนัด โดยเฉพาะในรายที่มีการส่งชิ้นเนื้อตรวจ เพื่อฟังผลชิ้นเนื้อ
- เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ต้องมีผู้ดูแลระหว่างเดินทางกลับ ไม่แนะนำ ให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึระหว่างการตรวจส่องกล้องขับรถเอง

อย่ารอให้เกิดความผิดปกติ ตรวจสุขภาพทางเดินอาหารของคุณวันนี้
หากคุณมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้องเรื้อรัง กรดไหลย้อน หรือกลืนอาหารลำบาก การส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการตรวจหาสาเหตุและป้องกันปัญหาในระบบทางเดินอาหารส่วนบนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การตรวจสุขภาพนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณได้รับการวินิจฉัยที่แม่นยำ แต่ยังช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าสุขภาพทางเดินอาหารของคุณอยู่ในสภาพที่ดี
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหารมักถูกแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
● ปวดท้องหรือท้องอืดเรื้อรัง
● อาการแสบร้อนกลางอกเรื้อรังหรือกรดไหลย้อน
● ปวดแสบท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ เป็น ๆ หาย ๆ
● ปวดแสบท้องที่รักษาไม่ดีขึ้นด้วยการใช้ยา
● ปวดแสบท้องและมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
● สัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีถ่ายปนเลือดหรือถ่ายดำ
● กลืนอาหารลำบาก
● อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด
ให้ "การส่องกล้องทางเดินอาหาร" ของคุณเป็นเรื่องง่าย❗️
หมดกังวลเรื่องคิวนาน ! แผนก Digestive Care Centre โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
บริการเต็มรูปแบบทุกวัน ไม่ว่าจะเช้า สาย บ่าย เย็น เราก็พร้อมให้บริการส่องกล้องทางเดินอาหารแบบครบวงจรทุกวัน
สะดวกและมั่นใจ ด้วยการเตรียมลำไส้ในช่วงเช้า และเข้ารับการส่องกล้องในช่วงบ่าย
ดูแลพิเศษ โดยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนของการเตรียมลำไส้
ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับการเตรียมลำไส้
ข้อดีของการส่องกล้องที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- มีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ทางระบบทางเดินอาหาร คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
- มีเครื่องมือที่ทันสมัย ส่องกล้องด้วย AI และ NBI เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย
- มีห้องพักสำหรับการเตรียมตัวส่องกล้องแบบส่วนตัว หมดความกังวลแม้คุณมาเองเพียงลำพัง
- ทีมพยาบาลเฉพาะทางดูแลและเตรียมยาระบายให้ท่านตามกระบวนการและเวลาที่เหมาะสม หมดกังวลเรื่องถ่ายยาก ถ่ายไม่หมด หรือปวดขับถ่ายระหว่างเดินทาง
- หากตรวจพบความผิดปกติสามารถดูแล รักษาได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
- มีการติดตามอาการหลังส่องกล้อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยของเราปลอดภัย
- สะดวก สบาย ครบ จบใน 1 วัน ทั้งการเตรียมลำไส้และการส่องกล้อง

บทความโดย
พญ. ลักษณา โชครุ่งวรานนท์
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 08:00 – 15:00 | ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร |
อังคาร | 08:00 – 15:00 | ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร |
พุธ | 08:00 – 15:00 | ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร |
พฤหัสบดี | 08:00 – 15:00 | ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร |
เสาร์ | 08:00 – 16:00 | ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร |

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองคิวตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารโรงพยาบาลบีเอ็นเอช หรือลงทะเบียนปรึกษาพยาบาลเฉพาะทางด้านทางเดินอาหารฟรี
แพ็กเกจส่องกล้องทางเดินอาหาร
อีกหนึ่งในมะเร็งร้ายใกล้ตัว ที่มักมาแบบไม่มีสัญญาณเตือน คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่
“อย่านิ่งนอนใจ มะเร็งลำไส้หายได้ ถ้าตรวจพบในระยะเริ่มต้น”
ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy) ราคาเหมาจ่าย รวม
- ค่าแพทย์ส่องกล้องกระเพาะอาหาร
- ค่าห้องส่องกล้อง
- ค่าระงับความรู้สึก (ยานอนหลับ)
- ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ตรวจวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Physical Examination by a Gastroenterologist
แพ็กเกจส่องกล้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ราคาเหมาจ่าย รวม
- ค่าแพทย์ส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- ค่าห้องส่องกล้อง
- ค่าห้องเตรียมลำไส้
- ค่ายาระบายสำหรับเตรียมลำไส้
- ค่าระงับความรู้สึก (ยานอนหลับ)
- ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าห้องพักฟื้น
- ตรวจวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Physical Examination by a Gastroenterologist
ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนและส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Gastroscopy & Colonoscopy) ราคาเหมาจ่าย รวม
- ค่าแพทย์ส่องกล้องกระเพาะอาหาร
- ค่าแพทย์ส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- ค่าห้องส่องกล้อง
- ค่าห้องเตรียมลำไส้
- ค่ายาระบายสำหรับเตรียมลำไส้
- ค่าระงับความรู้สึก (ยานอนหลับ)
- ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าห้องพักฟื้น
- ตรวจวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Physical Examination by a Gastroenterologist
- กรุณาทำนัดล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- แพ็กเกจนี้รวมค่ายาระงับความรู้สึกสำหรับการส่องกล้อง (Moderate sedation)
- แพ็กเกจนี้ยังไม่รวมการใช้ยาระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์ (ดมยาสลบ) หากจำเป็น
- แพ็กเกจนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายนอกเหนือการตรวจส่องกล้อง ได้แก่ ค่าตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม ค่าห้อง และค่าอาหารกรณีต้องการเข้าพักเป็นผู้ป่วยใน (แอดมิท)
- รับบริการที่ แผนก Digestive Care Centre ชั้น 3 Zone B โรงพยาบาลบีเอ็นเอช วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 8.00-17.00 น.
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-022-0753, 02-022-0700 ต่อ 2753, 3330