นพ. วศิน จิริศานต์ หนอนน้อยอ่านเปเปอร์
ความรักเรียนที่เปลี่ยนวิกฤติสร้างชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยไอซียู

เปลี่ยนวิกฤติสร้างชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยไอซียู

นพ. วศิน จิริศานต์ –

จุดวิกฤติ คือ ช่วงชีวิตที่ไม่มีใครอยากเผชิญ แต่หากห้ามความเป็นไปของธรรมชาติไม่ได้ นพ. วศิน จิริศานต์ อายุรแพทย์ประจำแผนกผู้ป่วยวิกฤต หรือแพทย์ประจำห้องไอซียู โรงพยาบาล BNH คือ ผู้ที่คอยดูแลเพื่อให้ทั้งคนไข้และคนใกล้ตัวผ่านพ้นภาวะนั้นไปได้อย่างราบรื่นและสมศักดิ์ศรีที่สุด  นอกจากความเข้าใจและเห็นใจในวัฏสงสารของเพื่อนมนุษย์แล้ว คุณหมอยังมีฉากหลังเป็นผู้แบ่งปันความรู้เป็นสาธารณประโยชน์แก่วงการแพทย์อีกด้วย

จากเด็กไม่เคยอยากเป็นหมอสู่แพทย์ประจำห้องไอซียู

“ผมเลือกไปรับราชการที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ – จังหวัดสงขลา เพื่อไปรักษาผู้ป่วยและเห็นบริบทสังคมและระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด”

3 เมษายน พ.ศ.2548 เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายวางระเบิดสนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

มันเป็นจังหวะเดียวกับที่ นพ.วศิน แพทย์จบใหม่กำลังอยู่บนรถทัวร์มุ่งหน้าไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา จังหวัดปลายทางที่เขาเลือกเองด้วยความคิดว่าอยากไปอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เคยไปเพื่อได้รู้จักความจริงอีกด้านของประเทศไทยมากขึ้น และความจริงแรกที่เขาได้รู้คือที่ตรงนี้ยังคงมีความรุนแรงเกิดขึ้น  และแม้ว่าโรงบาลที่ไปสังกัดจะอยู่คนละส่วนกับพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ แต่เขาก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศของความหวาดกลัวในช่วงแรกของการใช้ทุน  โชคดีที่ช่วงเวลาหนึ่งปีในจังหวัดสงขลาของเขาไม่มีเคสผู้ป่วยจากปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ แต่กระนั้น จำนวนคนไข้ก็มีเยอะมากกว่าสมัยอยู่โรงเรียนแพทย์

ก่อนไปใช้ทุน นศพ.วศิน ยังไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับสาขาในอนาคต เช่นเดียวกับก่อนเรียนแพทย์ที่เขายังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร จนวันหนึ่งสมัยมัธยมปลาย เพื่อนของเขาก็ชวนไปทดลองงานที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นครั้งแรกที่เขาได้สัมผัสกับพลังบวกของอาชีพนี้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาเลือกเดินในเส้นทางการแพทย์

“คนไข้ที่มาห้องฉุกเฉิน มักจะมาด้วยอาการเหนื่อย ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรังที่เราได้เจอในคนไข้เยอะ เลยคิดว่าถ้ามีความรู้ตรงนี้ก็จะสามารถช่วยแก้ไขเนี่ยแก้ไขภาวะเหนื่อยของคนไข้ได้ เราเลยเลือกเรียนเรื่องปอดกับโรคทางเดินหายใจ และในภาวะวิกฤติ คนไข้จะมีความซับซ้อนของตัวโรคเนี่ยค่อนข้างสูง มักมีหลายอวัยวะที่เป็นปัญหาพร้อมกัน เรามองเป็นความท้าทาย ถ้าเรามีความรู้ในจุดนี้ก็จะสามารถช่วยคนไข้ได้”

หลังจบเฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ที่โรงพยาบาลราชวิถี เฉพาะทางโรคปอดและทางเดินหายใจที่โรงพยาบาลจุฬาฯ และเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤติจากโรงพยาบาลศิริราช หมอวศินก็ได้รับการทาบทามมาเป็นแพทย์ประจำห้องไอซียูที่โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ คุณหมอมีส่วนร่วมในการบุกเบิกแผนกไอซียูซึ่งเริ่มแรกยังมีขนาดไม่ใหญ่นัก ผ่านไป 4 ปี จึงได้ตัดสินใจครั้งสำคัญในการมาร่วมดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล BNH

โรงพยาบาล BNH คือเส้นทางถัดไปในการมาช่วยบุกเบิกแผนกไอซียู คุณหมอวศินมาเริ่มทำงานก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ไม่นาน จึงได้มีส่วนทั้งการวางระบบให้แผนกผู้ป่วยวิกฤติ และตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19

“ตอนนั้นคนไข้ค่อนข้างหนัก ส่วนใหญ่ค่อนข้างอายุเยอะ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็ต้องอยู่ไอซียูและต้องการทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยเหลือคนไข้เต็มที่ ทีมแพทย์ก็เต็มที่ทุกคน ผมก็ปลิ้มใจที่มีคนไข้หลายคนที่ผ่านช่วงนั้นมาได้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทุกวันนี้พวกเขาก็ยังมาติดตามรักษากันอยู่ประจํา”

อยู่กับผู้ป่วยวิกฤติ

หมอวศินคือคุณหมอใจดี กันเอง และเข้าถึงง่ายในสายตาคนไข้ และมักจะอธิบายละเอียด ให้เวลากับคนไข้นาน ให้โอกาสสอบถามทุกอย่างที่คนไข้อยากรู้ ซึ่งเป็นทั้งเทคนิคในการดูแลของคุณหมอ และตามนโยบาย Complete Care ของโรงพยาบาล BNH

“Complete Care คือต้องมองในเชิงรุกไปข้างหน้าเพื่อป้องกันเพื่อป้องกันโรค เช่น รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ตรวจมวลกระดูกลดโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤติต่าง ๆ”

แม้จะเชื่อว่าการป้องกันดีกว่ารักษา แต่ก็เป็นธรรมดาของโลกที่ไม่มีการเจ็บไข้ได้ป่วยใดสามารถป้องกันได้ 100% และไม่มีใครห้ามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้ เมื่อถึงภาวะวิกฤติ ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ห้องไอซียูอย่างหมอวศินที่ต้องดูแลทั้งคนไข้ และคนรอบตัวคนไข้ ให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปอย่างราบรื่นและสมศักดิ์ศรีที่สุด

ตัวอย่างเคสคนไข้เข้ารับการรักษาด้วยโรคมะเร็งปอดร่วมกับภาวะถุงลงโป่งพอง ซึ่งตรวจพบจากการทำ Low Dose CT scan พบก้อนเนื้อ แต่ระหว่างการรักษา คนไข้ยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ช่วงหลังจากนั้นเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเขาได้รับเชื้อ แม้ว่าจะหายจากโรคโควิดแล้ว แต่ผลข้างเคียงที่ทิ้งไว้ร่วมกับเนื้อปอดที่มีสภาพไม่สมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้คนไข้หายใจลำบากจนต้องได้รับออกซิเจน ระหว่างนั้นเขาต้องมานอนที่โรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้งเพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบและระบายเสมหะ 

หมอวศินและทีมบุคลากรการแพทย์ได้พยายามดูแลอย่างดีที่สุดเพื่อให้การดำเนินของโรคเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ด้วยร่างกายที่บอบช้ำมาก หากรับการรักษาต่อเขาก็จะทำได้เพียงการยื้อชีวิตโดยอาการไม่สามารถดีขึ้นได้อีกแล้ว หมอวศินจึงวางแผนกับคนไข้และครอบครัวของคนไข้ถึงทางเลือกที่ดีที่สุด และสุดท้ายคนไข้ก็จากไปอย่างสงบ

“การสื่อสารกับญาติเนี่ย ต้องให้ข้อมูลในส่วนตัวโรค ตัวโรคนี้มีความหวังในการรักษาหรือเปล่า ต้องประเมินว่าวันนี้หมอเองทําหน้าที่รักษาหรือว่าเรากำลังยื้อคนไข้อยู่ เราต้องเลือกทางที่เหมาะสมให้กับคนไข้ ซึ่งการรักษาแต่ละแบบก็มีทั้งประโยชน์และข้อเสีย เราต้องทำให้คนไข้รับทราบถึงตัวโรคเพื่อที่จะมีเวลาจัดการตัวเองได้อย่างเหมาะสมเรา และมาตัดสินใจร่วมกันว่าจุดไหนเป็นจุดที่คนไข้เห็นด้วยกับการรักษา เราก็จะพยายามไปให้ถึงเป้าหมายที่คนไข้ต้องการ”

คนรักเรียน

สิ่งที่หมอวศินชอบที่สุดคือการเรียน ไม่มีช่วงไหนของชีวิตที่เขาจะไม่ศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะในตำราหรือนอกตำรา และเขาก็นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาถ่ายทอดต่อเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

“หลังจากเรียนจบเฉพาะทางไอซียูจาก รพ. ศิริราช ผมก็ยังมีความรู้สึกว่าความรู้ยังไม่พอ จึงสมัครสอบใบประกาศนียบัตรสาขาเวชบำบัดวิกฤตของยุโรป ซึ่งโอกาสได้ค่อนข้างยาก เพราะว่าแพทย์ไอซียูทั่วโลกมาสอบใบประกาศนียบัตรนี้ และจำนวนผู้สอบผ่านมีจำกัด”

กลางวันทำงาน กลางคืนเตรียมตัวสอบ เป็นเช่นนี้อยู่ 1 ปี จนหมอวศินผ่านใบประกาศขั้นที่หนึ่ง และเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก 2 ปี จนได้รับใบประกาศขั้นที่ 2 ผ่านความคิดล้มเลิกมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน และต้องเดินทางไปสอบไกลถึงยุโรป แต่สุดท้ายเขาก็ได้เป็นแพทย์ประจำไอซียูชาวไทย ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานยุโรป

งานอดิเรกของคุณหมอเองก็ไม่หลุดจากเรื่องการเรียนนัก หมอวศินชอบอ่านบทความจากวารสารวิชาการต่างประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับโรคปอดและเวชบำบัดผู้ป่วยวิกฤติ และเพื่อสรุปและถ่ายทอดเนื้อหาที่มีประโยชน์ในวงการแพทย์ เขาจึงนำบทความที่อ่านมาสรุปลงในเพจ ‘หนอนน้อยอ่านเปเปอร์’ มาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว และปัจจุบันเป็นเพจสาระทางวิชาการล้วน ๆ ที่มีผู้ติดตามอยู่ถึง 63,000 คน

เมื่อไม่เจอหนังสือที่อยากได้
ก็เขียนซะเอง

หลังสิ้นสุดการใช้ทุน 3 ปี คุณหมอวางแผนอนาคตที่จะไปเรียนต่อยังสหรัฐอเมริกา เขาถึงกับบินไปเพื่อฝึกจริงตรวจจริงคุยจริงกับคนไข้จำลองเพื่อเตรียมตัวสอบที่ชิคาโก แม้ว่าสุดท้ายคุณหมอเลือกที่จะทำงานในประเทศไทย แต่ก็มีโอกาสได้เจอผู้ป่วยต่างชาติบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มทำงานที่โรงพยาบาลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และปัญหาที่คุณหมอพบจากการทำงานร่วมกับแพทย์รุ่นน้องและบุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ คือความกังวลในการสื่อสารกับผู้ป่วยต่างชาติ หมอวศินจึงนำทักษะจากช่วงเวลาที่ไปฝึกฝนที่สหรัฐอเมริกาและการทำงานในปัจจุบันออกมาถ่ายทอดเป็นหนังสือ

‘คู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้ป่วยต่างชาติเบื้องต้น’ รวบรวมบทสนทนาสำหรับซักประวัติ ตรวจร่างกายคนไข้ การเตรียมพรีเซนต์เคส ติวแกรมมารูปแบบประโยคทางการแพทย์ ​เขียนจดหมาย Refer คนไข้แบบมาตรฐานรูปแบบภาษาอังกฤษ  รวมไปถึงภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาลและเภสัชกรในการสนทนากับคนไข้

“สาเหตุที่เขียนหนังสือ เพราะ สนใจในเรื่องนี้แต่ไม่มีผู้เขียนในลักษณะนี้ จึงได้รวบรวมเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วย และเขียนขึ้นมาใหม่มาเป็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งได้รับการตอบรับค่อนข้างดี”

หนึ่งในประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยต่างชาติในภาวะวิกฤติที่คุณหมอประทับใจที่สุด คือผู้ป่วยหญิงชาวสวีเดนที่เข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยอาการปวดหัวมาก มีค่าออกซิเจนต่ำ และมีความดันสูงร่วมด้วย เธอต้องรักษาตัวในไอซียู เพื่อรับยารักษาปอด แต่อาการปวดหัวจากเนื้องอกในสมองต้องใช้สิทธิตามประกันที่ประเทศต้นทาง ทางคุณหมอวศินและทีมโรงพยาบาล BNH ก็พยายามประสานงานให้ และรักษาให้ขนาดเนื้องอกยุบลงจนพ้นวิกฤติ และดำเนินการส่งตัวไปรักษาต่อที่สวีเดนได้  จนเมื่อไม่นานมานี้ คนไข้ได้กลับมาเมืองไทยอีกครั้ง และขอเข้าพบคุณหมอวศินเพื่อบอกความในใจ

“ฉันสัญญากับตัวเองไว้ตลอดว่า ถ้าฉันหายป่วย ฉันจะกลับมาขอบคุณคุณหมอและทีมที่ดูแลฉัน”

เมื่อโลกหมุนไป ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะความรู้ทางการแพทย์ แม้เป็นเพียงงานวิจัยเล็ก ๆ แต่อาจพลิกวิกฤติเปลี่ยนชีวิตคนไข้ได้ ทำให้แพทย์ที่ต้องรับมือกับผู้ป่วยวิกฤติทุกวันอย่างหมอวศินไม่หยุดเรียนรู้ เพราะความรู้ใหม่อาจหมายถึงโอกาสที่จะมีชีวิตใหม่ของคนไข้ของเขา

“ผมชอบอัปเดตความรู้ กลัวว่าถ้าล้าหลัง แล้วคนไข้ไม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน เราต้องการให้คนไข้หายและปลอดภัย อยากเป็นคนที่เมื่อเขามีปัญหาก็มาพึ่งพิงได้ และได้ทําสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นตลอด”

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

นพ. วศิน จิริศานต์

แผนกอายุรกรรม, แผนกผู้ป่วยวิกฤต

ความชำนาญพิเศษ

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ และเวชบำบัดวิกฤต

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ และเวชบำบัดวิกฤต


– Certificate European Diploma Intensive Care Medicine (EDIC), European Society Intensive Care Medicine (ESICM), 2018
– Certified Extracorporeal Membrane Oxygenation, La Pitie’Salpetriere hospital, Pierre et Marie Curie University, Paris, 2016
– Diplomate, Thai Board of Critical Care Medicine, 2014
– Diplomate, Thai Board of Pulmonary Medicine & Pulmonary Critical Care, 2013
– Diplomate, Thai Board of Internal Medicine, 2011


– ECMO Diploma, La Pitié Salpêtrière University Hospital, Paris, France, 2016
– Clinical Fellowship in Critical Care Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital,Mahidol University, 2014
– Clinical Fellowship in Pulmonary and Critical Care Medicine, Chulalongkorn Hospital, 2013
– M.S., Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, 2013
– M.D. , Faculty of Medicine Mahidol University, Siriraj Hospital,2005

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
จันทร์ 08:00 – 12:00 แผนกอายุรกรรม, แผนกผู้ป่วยวิกฤต
อังคาร 08:00 – 13:00 แผนกอายุรกรรม, แผนกผู้ป่วยวิกฤต
พุธ 08:00 – 12:00 แผนกอายุรกรรม, แผนกผู้ป่วยวิกฤต
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก