นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย หมอหัวใจที่โตมากับแม่เลี้ยงเดี่ยว เลือกเป็นหมอเพื่อแม่ และได้มีโอกาสไปซึมซับวิถีฮุกกะที่เดนมาร์ก

หมอหัวใจที่โตมากับแม่เลี้ยงเดี่ยว

– นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย –

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย อายุรแพทย์ประจำศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม คือหมอรักษาโรคหัวใจโดยการสวนหัวใจของโรงพยาบาล BNH  เขามีความสุขที่จะเห็นคนไข้ที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้วได้กลับมาใช้ชีวิตอีกครั้ง จึงบินไปฝึกสวนหัวใจไกลถึงเดนมาร์ก เส้นทางหมอหัวใจของเขามีที่มา และนี่คือเรื่องของเขา

ไปฝึกสวนหัวใจไกลถึงเดนมาร์ก

“ผมเป็นลูกคนเดียว คุณแม่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เพราะว่าคุณพ่อผมเสียชีวิตตั้งแต่ผมยังอยู่ในท้อง”

ด้วยความที่เป็นเด็กเรียนดี คุณแม่จึงคาดหวังให้เขาเป็นหมอ เขาเองก็ไม่ได้มีความฝันอะไรเป็นพิเศษ และเห็นว่าอาชีพนี้ก็มีประโยชน์ต่อผู้อื่นดี ทั้งยังได้ใช้ความรู้มาดูแลครอบครัวด้วย เขาเลยไม่ได้ติดขัดอะไรที่จะทำตามความต้องการของแม่

นอกจากคุณแม่แล้ว เขายังมีคุณยายที่ช่วยดูแลเขามาแต่เล็ก  วันหนึ่งระหว่างเรียนปี 2 ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นสพ.จิราณัติ กลับมาบ้านแล้วพบคุณยายกำลังหมดสติหยุดหายใจไปแล้ว ด้วยสัญชาตญาณของหมอ เขาก็รีบปั๊มหัวใจ และเรียกแท็กซี่ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

“เราก็ปั๊มหัวใจไปในรถ มันก็จะทุลักทุเลหน่อย พอไปถึงห้องฉุกเฉิน ทีมแพทย์ก็รับไปทําต่อ แต่ในที่สุดคุณยายผมก็เสียชีวิต ทำให้รู้สึกว่าเราก็เป็นหมอ แต่กลับทําอะไรไม่ได้มาก และก็อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ผมอยากเป็นหมอหัวใจที่สามารถเปลี่ยนชีวิตคนไข้ที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้วให้กลับมาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวได้”

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

คุณหมออยู่ทำงานต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สักพักตามคำชวนของอาจารย์แพทย์เมื่อจบเฉพาะทางต่อยอด แต่งานที่เขาสนใจต่อไปอีกคือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน ซึ่งยังเป็นเรื่องใหม่มากในประเทศไทยในขณะนั้น เขาจึงมองหาช่องทางไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เขาต้องเตรียมเอกสารมากมาย ทั้งผลสอบภาษา ผลสอบทางวิชาการ ความรู้ในตำรานอกเหนือสาขาหัวใจก็ต้องกลับมาทบทวนใหม่เพื่อทำข้อสอบวัดผลของทางนั้นให้ได้ และเป็นเวลาปีกว่าเขาจะมีเอกสารในมือพร้อมทั้งหมด เหลือแค่คำตอบรับจากมหาวิทยาลัยแพทย์ปลายทาง

คุณหมอจิราณัติได้ไปใช้ทุน 2 ปีที่โรงพยาบาลในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และเพื่อให้ได้อยู่ใกล้คุณแม่เขาจึงย้ายกลับมาใช้ทุนปีสุดท้ายในกรุงเทพฯ  อาจด้วยจำนวนแพทย์ที่ขาดแคลน เวลาส่วนมากของเขาจึงต้องไปประจำที่แผนกสูตินรีเวช แต่นั่นก็ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดที่จะเป็นหมอหัวใจของเขาได้  หลังใช้ทุนจบ หมอจิราณัติลงเรียนสาขาอายุรกรรม และต่อเฉพาะทางต่อยอดด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยระหว่างนี้เขาก็มาทำงานเป็นแพทย์นอกเวลาที่โรงพยาบาล BNH ไปพร้อมกันด้วย

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

“พอดีว่าที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เชิญอาจารย์จากเดนมาร์กมาทําผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเป็นโชว์เคสเป็นครั้งแรก แล้วอาจารย์ก็แนะนําผมให้ท่านรู้จัก พอมีโอกาสได้คุย ก็คุยถูกคอ เขาก็รับไปเทรนที่เดนมาร์กเลย ไม่ต้องสอบอะไรด้วย มันง่ายขนาดนั้นเลย”

แล้วคุณหมอก็ได้บินลัดฟ้าไปใช้ชีวิตตามปรัชญาฮุกกะในประเทศที่มีดัชนีความสุขลำดับต้น ๆ ของโลก ความสุขของคุณหมอยังเพิ่มขึ้นมากเมื่อภรรยาที่เป็นหมอเหมือนกันสามารถทำเรื่องไปทำวิจัยที่โคเปนเฮเกนได้ด้วย ลูกสองคนในวัย 3 ขวบ และ 1 ขวบ จึงได้ติดตามไปอยู่ด้วยกัน

ชีวิตในฐานะบุคคลผู้เสียภาษีเงินได้ 30% ซึ่งนับว่าเป็นขั้นต่ำแล้วสำหรับประเทศเดนมาร์กที่เป็นรัฐสวัสดิการ ทำให้คุณหมอได้รับสวัสดิการครบถ้วนเท่าคนท้องถิ่น เด็กเรียนฟรี ทุกคนมีประกันสุขภาพถ้วนหน้า เลิกงานแล้วเขาก็สามารถไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้เต็มที่ สามารถพาลูกไปเดินป่า หรือเที่ยวทะเล ได้โดยไม่ต้องไปไกลเมือง ในเมืองเดียวกันก็ยังมีสมาคมคนไทยให้ร่วมสังสรรค์เมื่อคิดถึงบ้านเกิด

1 ปีเต็มที่หมอจิราณัติและครอบครัวอยู่ที่เดนมาร์ก เมื่อกลับมาแล้ว เขาก็มาประจำที่โรงพยาบาล BNH ต่อ

“แพทย์ที่นี่น่ารัก แล้วก็ให้โอกาสเราตั้งแต่ช่วงที่มาทำนอกเวลาแล้วต้องเตรียมตัวสอบไปอเมริกา ทำให้ผมมีเวลาอ่านหนังสือ พอกลับมาอยู่ที่นี่อีก แพทย์ท่านอื่นก็ต้อนรับผมอย่างดี สังคมที่นี่ไม่ใหญ่ เราก็อยู่กันแบบรู้จักกัน คุยกันได้ ทำให้เราแฮปปี้กับการทํางาน เพราะการดูแลคนไข้ บางทีเราไม่สามารถดูแลคนเดียวได้ทุกอย่าง ต้องอาศัยเพื่อนร่วมงานเป็นทีม พอเราคุยกันได้มันก็ง่าย เราอยู่กันแบบพี่น้อง มีอะไรก็ช่วยกัน เลยสบายใจที่จะปรึกษาหรือส่งต่อเคสคนไข้”

ความสบายใจนี้ทำให้คุณหมออยู่กับโรงพยาบาล BNH มานานกว่า 10 ปีแล้ว

คนไข้โรคหัวใจ

“คนไข้กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะเหมือนที่เห็นในทีวีเลย ทั้งแบบเจ็บหน้าอก หมดสติ หัวใจหยุดเต้นมาก็มี ความรุนแรงมันมีหลากหลาย ผมประทับใจที่ได้ช่วยคนไข้กลุ่มนี้ให้เขากลับไปมีชีวิตอยู่กับครอบครัวได้ เพราะรู้สึกว่าสิ่งที่เราเรียนมาได้ทําประโยชน์ให้กับคนอื่น”

อย่างเคสล่าสุด คนไข้หัวใจหยุดเต้นไปแล้ว แต่ทางโรงพยาบาลก็สามารถช่วยชีวิตกลับมาจนได้ แม้ว่าคนไข้จะยังไม่รู้สึกตัว ทางทีมคุณหมอก็รีบพาเขาไปสวนหัวใจ แล้วก็พบว่าเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยง คุณหมอจิราณัติจึงใส่เครื่องมือที่จะช่วยยื้อชีวิตเขา แล้วก็รีบสวนหัวใจเปิดเส้นเลือดทันที การรักษากินเวลานานนับชั่วโมง จนในที่สุดก็สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้ ซึ่งกว่าคนไข้จะรู้สึกตัวก็อีก 24 ชั่วโมงถัดมา

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

จุดเด่นของหมอจิราณัติคือการอธิบายโรคที่ชัดเจนและครบถ้วน ทั้งด้านอาการ การรักษา ยาที่ต้องใช้ การดูแลตัวเอง รวมไปถึงทางเลือกการรักษาอื่น ๆ ให้คนไข้พิจารณา เพราะคุณหมอมักให้เวลากับคนไข้นาน ยิ่งคนไข้ส่วนมากต้องรักษาต่อเนื่อง คุณหมอจึงรู้จักคนไข้ดี เข้าใจคนไข้มาก และมอบการรักษาแบบองค์รวมครบถ้วนรอบด้าน หรือ Complete Care ตามแนวทางของโรงพยาบาล BNH ได้แบบ Tailor-made

“การดูคนไข้แบบองค์รวมนี่ผมว่าสําคัญ เพราะถ้าแพทย์ทุกคนดูแต่สิ่งที่ตัวเองรับผิดชอบ ก็จะไม่มีใครดูภาพรวมให้คนไข้ สำหรับคนไข้ผม หากผมสังเกตความผิดปกติในส่วนอื่น ทางโรงพยาบาลก็มีทีมแพทย์ให้ปรึกษาส่งต่อ แต่ถ้าเราไม่ได้สนใจส่วนอื่น ๆ เลย คนไข้ก็อาจไม่รู้หรือรู้ช้าเกินไปว่าตัวเองมีปัญหา

“แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า คำว่า Complete ของหมอและคนไข้มันไม่เหมือนกัน หากเรารู้จักคนไข้มาสักระยะหนึ่ง ก็จะเข้าใจว่า Complete ของบางคนอาจไม่ได้แปลว่าต้องครบทุกอย่าง แค่ตอบข้อสงสัยของเขาได้ ดูแลสุขภาพโดยรวมเขาได้ดี แค่นี้เขาก็พอใจแล้ว หากเราไปให้มากเกินกว่าที่เขาต้องการ เขาก็อาจไม่สบายใจได้ เราจึงต้องเข้าใจคนไข้ด้วย”

พ่อของลูก

หมอจิราณัติเริ่มต้นเป็นหมอเพราะอยากดูแลคุณแม่ และตอนนี้เขาก็เป็นคุณพ่อที่มีลูกให้ดูแล

“การเลี้ยงลูกสมัยนี้มันไม่ง่ายเหมือนสมัยพ่อแม่เลี้ยงเรา เมื่อก่อนแม่ก็ทํางานของเขา เราก็อยู่ของเรา แต่เดี๋ยวนี้ต้องเอาใจใส่ ผมพยายามฝึกลูกให้มีวินัย เพราะผมคิดว่าวินัยเป็นสิ่งสําคัญในปัจจุบัน ผมไม่ได้ถึงกับบังคับลูก เขาอยากเรียนอะไรก็ให้เรียน แต่สําคัญที่สุดคือต้องมีวินัยกับตัวเอง ต้องรับผิดชอบ พูดแล้วต้องทํา พวกนี้ก็เป็นสิ่งที่พยายามทําให้ลูกดู แล้วเราก็สอนไปด้วย”

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

ทั้งคุณหมอและภรรยาต่างก็เป็นหมอ เขาทั้งคู่เข้าใจถึงปัญหาว่าลูก ๆ อาจไม่ได้มีแบบอย่างในชีวิตมากนัก จึงพยายามส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตให้ลูกได้เห็นโลกในมุมอื่น ๆ ด้วย

“เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับหมอเราก็พอรู้บ้าง แต่อาจจะไม่เท่าอาชีพอื่น มันเลยมีมุมอื่นที่เราอยากให้ลูกได้เห็น และให้เขาเป็นคนเลือกเองว่าชอบอะไรไม่ชอบอะไร พยายามเปิดโลกให้เขามากที่สุด”

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

หมอจิราณัตินิยามการเลี้ยงลูกของเขาว่า ‘ไม่’ เลี้ยงลูกเหมือนเป็นเพื่อน เพราะเขายังต้องการวางขอบเขตให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งใดปฏิบัติกับผู้ใหญ่ได้ไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน คุณหมอก็วางตัวเป็นที่ปรึกษาที่พร้อมสนับสนุนและรับฟัง และพยายามหาเวลาทำกิจกรรมกับลูก ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นให้มากที่สุด

“เวลาอยู่กับครอบครัว ผมก็ทําทุกอย่างกับลูก ลูกแต่ละคนมีความชอบไม่เหมือนกัน บางคนชอบต่อเลโก้ บางคนชอบเล่นกีฬา เราก็ต้องเล่นไปกับลูก บางทีความชอบเขาก็เปลี่ยนไปเมื่อโต เราก็อยู่ในฐานะที่ปรึกษาที่พร้อมสนับสนุนเขา ผมเต็มที่กับลูกมาก ถ้าเขาอยากจะคุยอะไรก็คุยได้หมด”

แต่การเป็นลูกหมอ ก็หมายถึงความเข้าใจและเห็นใจที่ลูก ๆ จะต้องมีให้กับคนไข้ของพ่อไปด้วย ยิ่งกับแพทย์ที่ทําหน้าที่สวนหัวใจ ซึ่งหลายเคสก็เป็นคนไข้ฉุกเฉิน ที่พ่อต้องจัดลำดับความสำคัญให้คนไข้เหล่านั้นมาก่อนครอบครัวเป็นธรรมดา

“มีหลายครั้งที่ผมทานข้าวอยู่กับที่บ้าน ผมก็ต้องรีบทิ้งครอบครัวออกมา หรือผมดูหนังอยู่กับลูกในโรงภาพยนต์แล้วก็โดนตามเพราะมีคนไข้ฉุกเฉินมาสวนหัวใจ ผมก็ต้องออกจากโรงหนังเดี๋ยวนั้นเลย ถ้าเกิดผมไปกันเองกับลูก ก็ต้องพาลูกออกจากโรงด้วย ก็จะมีแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ”

หมอจิราณัติก็เข้าใจว่าตัวเองยังทำหน้าที่พ่อได้ไม่ดีนักหากต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนี้อยู่ตลอด แต่เขายังคงรักในสิ่งที่ทำและทำได้ดีนี้ ทางเลือกเดียวของเขาคือพยายามสอนลูกให้เข้าใจและเห็นใจผู้อื่นให้มากที่สุด

ลูกของแม่

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

“ผมนับถือคุณแม่ เพราะท่านผ่านมรสุมตรงนั้นมาได้และเลี้ยงผมมาจนโต คุณแม่เหมือนเป็นแรงผลักดันให้ผมด้วย ในเมื่อท่านดูแลเราได้ดี เราก็ควรจะดูแลท่านได้ดีเช่นกัน”

แม้จะต้องเลี้ยงลูกมาโดยไม่มีสามีคอยช่วยเหลือ คุณแม่ของหมอจิราณัติก็ปฏิเสธทางเลือกอื่นที่ผ่านเข้ามา และเลี้ยงดูเขาอย่างเข้มแข็งจนเติบใหญ่และได้ดี  ในวันนี้ที่คุณหมอจะพร้อมดูแลคุณแม่ ก็กลับเป็นว่าไม่ได้มีอะไรที่เขาต้องดูแลเป็นพิเศษนัก เพราะในวัย 80 กว่าปี แม่ของเขายังคงแข็งแรง และสนุกกับการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง

“ผมเคยพาคุณแม่มาอยู่ด้วยกัน แล้วแม่ผมอยู่ไม่ได้ บ้านผมเงียบไป”

แล้วแม่ของเขาก็ย้ายกลับไปอยู่ลำพังที่บ้านเดิมซึ่งเป็นร้านขายของในชุมชนเดิม ตื่นเช้ามาก็ได้ไปคุยกับคนนู้นคนนี้ ไปตลาดก็ง่าย แม้จะไม่ได้ขายของเหมือนเดิมแล้ว แต่การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยก็ทำให้คุณแม่กระปรี้กระเปร่า

“เขาชินกับสังคมตรงนั้น ชินกับคนที่นั่น ผมก็เห็นด้วยนะ เพราะว่าผู้สูงอายุเนี่ย ถ้าเขาหงอย เขาจะดรอปลงเร็วมาก แต่พอมีสังคม เขาก็จะแข็งแรง ท่านอยู่ตรงนั้นก็ทําอะไรเองได้หมดเลย แม้ผมจะเป็นห่วงบ้าง แต่ก็ดีกว่าให้เขามาอยู่กับเราแล้วไม่ชอบ”

อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง หมอจิราณัติก็ต้องขับรถแวะไปเยี่ยมคุณแม่ ดูแลทุกข์สุขของเธอ แม้ว่าเธอจะดูแลตัวเองได้แทบทุกอย่าง เมื่อมีเวลา เขาก็จะพาแม่ไปทานข้าว พาไปเที่ยว

“เพราะตอนนี้แกชอบพูดว่าแม่อยากเที่ยว ตอนนี้แม่ยังไปไหว”

การแสดงความรักต่อคุณแม่ของหมอจิราณัติ จึงหมายถึงการใส่ใจอยู่ห่าง ๆ ให้ท่านได้มีพื้นที่เพื่อหาความสุขในสิ่งที่อยากทำ

“การที่ตื่นมาแล้วเรายังครบ 32 ก็แสดงว่าโลกได้มอบชีวิตที่ดีนี้ให้กับเรา เราก็ควรทําประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ทั้งกับครอบครัว สังคม และคนไข้  นี่คือแนวทางในการทํางานของผม”

หมอจิราณัติเริ่มเป็นหมอเพราะคุณแม่ เลือกเป็นหมอหัวใจเพราะคุณยาย แต่สิ่งที่ทำให้เขายังคงมีความสุขกับอาชีพนี้คือความสุขในการได้ทำเพื่อผู้อื่น และเขาจะทำต่อไปตราบเท่าที่ยังคงทำไหว

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

นพ. จิราณัติ ชลธีศุภชัย

ศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม

ความชำนาญพิเศษ

โรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


ปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด


2553 ใบรับรองการตรวจสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (USMLE) หมายเลข 0-772-308-3
2553 วุฒิบัตร อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
2550 ประกาศนียบัตร Clinical Interventional Cardiology จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
2549 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
2547 วุฒิบัตร สาขาอายุรศาสตร์แห่งประเทศไทย
2546 ประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์คลินิก สาขาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
2541 แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


– Structural Intervention Cardiology and TAVI training program Fellowship, Rigshospitalet University Hospital, Copenhagen, Denmark ,2555
– Senior Clinical Interventional cardiology fellowship, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 2553
– แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
– แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขา อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
– แพทย์ประจำบ้าน สาขา อายุรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
– แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
จันทร์ 09:00 – 19:00 ศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม
อังคาร 13:00 – 16:00 ศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม
พฤหัสบดี 09:00 – 16:00 ศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม
()
ศุกร์ 08:00 – 16:00 ศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม
เสาร์ 09:00 – 16:00 ศูนย์หัวใจ ไต เมตาบอลิซึม
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก