ต่อมลูกหมากโต

เลือกเรื่องที่ท่านสนใจ

ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำหน้าที่ ผลิตของเหลวเป็นตัวหล่อลื่นและนำส่งเชื้ออสุจิในขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิออกมา

สาเหตุการเกิดต่อมลูกหมากโต

ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัด นักวิจัยคาดว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเมื่ออายุมากขึ้น อาจทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้นได้

ต่อมลูกหมากโตในชายที่อายุน้อย

อาการของต่อมลูกหมากโตนั้นพบได้บ่อยในเพศชายอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอายุน้อยอาจมีอาการต่อมลูกหมากโตได้

สาเหตุของโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยด้านพันธุกรรมซึ่งมีบทบาทสำคัญ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกี่ยวข้องกับอาหารที่อาจส่งผลทำให้เกิดอาการเมื่ออายุยังน้อย โรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน หากอาการไม่รุนแรงและไม่น่ารำคาญ และไม่พบปัญหาอื่นๆ เช่น ท่อปัสสาวะตีบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็ง สามารถเลื่อนการรักษาออกไปจนกว่าอาการจะเป็นมากขึ้นได้

ผู้ชายอายุ 30 ถึง 40 ปีอาจมีอาการที่น่ารำคาญของต่อมลูกหมากโตได้ เช่น ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน ปัสสาวะไหลช้า และบางครั้งกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

หากอายุน้อยกว่า 45 ปี ควรได้รับการตรวจเพื่อระบุปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเกิดจากต่อมลูกหมากโต หรืออาจเป็นอาการของปัญหาที่เกี่ยวกับท่อปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะตีบ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือปัญหาทางระบบประสาท เป็นต้น

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ชายอาจมีอาการของต่อมลูกหมากโตได้ตั้งแต่อายุ 20 และ 30 ปี อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องไม่ปกติหากเริ่มมีอาการต่อมลูกหมากโตตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยปกติแล้ว ในชายอายุ 20-30 ปี มักเกิดจากปัญหาอื่นๆ เช่น อาการต่อมลูกหมากโตอาจเกิดจากต่อมลูกหมากโตที่บวมโตจากการติดเชื้อ

ต่อมลูกหมากโตมีอาการอย่างไร

อาการระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนั้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย สาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ เช่น

  • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  • เสียหายของเส้นประสาท
  • การผ่าตัด
  • การติดเชื้อ
  • ปัญหาทางจิตวิทยา
  • การใช้ยาบางชนิด
  • เนื้องอกมะเร็งที่ขัดขวางท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

ปัสสาวะ แสบ ขัด ไม่ออก ไม่พุ่ง สัญญาณเตือนของโรคต่อมลูกหมากโตใช่หรือไม่

อาการระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนั้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย สาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ เช่น

  • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  • เสียหายของเส้นประสาท
  • การผ่าตัด
  • การติดเชื้อ
  • ปัญหาทางจิตวิทยา
  • การใช้ยาบางชนิด
  • เนื้องอกมะเร็งที่ขัดขวางท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

จะเกิดอะไรขึ้นหากปล่อยให้ต่อมลูกหมากโตโดยไม่รักษา

หากไม่มีการรักษา อาจทำให้เกิดการอุดตันในท่อปัสสาวะ และอาการอาจแย่ลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิด:

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ไตได้รับความเสียหายจากปัสสาวะไหลย้อนจากกระเพาะปัสสาวะขึ้นสู่ไต การไหลย้อนกลับของปัสสาวะจะเพิ่มแรงดันต่อไต

การตรวจต่อมลูกหมาก

แพทย์วินิจฉัยภาวะต่อมลูกหมากโตอย่างไร

  • แพทย์จะซักประวัติ เช่นประวัติโรค ประวัติครอบครัว รวมถึงประวัติการใช้ยาบางชนิดที่อาจทำให้อาการต่อมลูกหมากโตแย่ลงได้
  • ตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจทางทวารหนักซึ่งแพทย์จะสอดนิ้วที่สวมถุงมือเข้าไปในทวารหนักเพื่อตรวจดูว่าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ นิ่ม หรือผิดปกติในลักษณะอื่นๆ หรือไม่
    การตรวจอื่นๆ เช่น
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจเลือดเพื่อดูค่า PSA (การทดสอบแอนติเจนเฉพาะต่อต่อมลูกหมาก)
  • การทดสอบระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อดูว่าคุณสามารถกลั้นและปล่อยปัสสาวะได้ดีเพียงใด
  • การทำ Cystoscopy เพื่อดูภายในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
  • ทำอัลตราซาวนด์ของต่อมลูกหมากและทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเพื่อวินิจฉัยหรือแยกแยะมะเร็งต่อมลูกหมาก

วิธีการป้องกันต่อมลูกหมากโต

ยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะต่อมลูกหมากโตได้ แต่สามารถดูแลสุขภาพต่อมลูกหมากได้โดย:

  • พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่อมลูกหมากโต
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • ให้ความสนใจกับอาการสัญญาณของภาวะต่อมลูกหมากโตเพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

ต่อมลูกหมากโตรักษาหายไหม

ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต ตัวเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ สุขภาพ อายุ และขนาดของต่อมลูกหมากที่โต:

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างอาจทำให้ผู้ที่อาการไม่รุนแรง ดีขึ้น ได้แก่

  • ดื่มน้ำน้อยลงก่อนนอนหรือออกนอกบ้าน
  • หลีกเลี่ยงหรือลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • ฝึกกระเพาะปัสสาวะและบริหารกล้ามเนื้อที่ควบคุมการไหลของปัสสาวะ
  • การป้องกันหรือรักษาอาการท้องผูก

การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยยา

ยาสามารถช่วยบรรเทาผู้ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางได้โดย:

  • หยุดการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก
  • ทำให้ต่อมลูกหมากหดเล็กลง
  • คลายกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มการไหลของปัสสาวะ
    บางครั้งการใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันอาจช่วยได้มากกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียว
กระบวนการทางการแพทย์อื่นๆ ที่สามารถช่วยลดอาการต่อมลูกหมากโตในระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ เมื่อใช้ยาไม่ได้ผลเพียงพอ โดยแพทย์อาจใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อ:
  • ขยายท่อปัสสาวะ
  • ทำลายต่อมลูกหมากบางส่วนด้วยความร้อน

การผ่าตัดต่อมลูกหมากโต

การผ่าตัดอาจมีประโยชน์เมื่ออาการรุนแรง และการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล หรือมีปัญหาอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะเสียหาย การผ่าตัด เช่น
  • เอาต่อมลูกหมากบางส่วนหรือทั้งหมดออก
  • ตัดต่อมลูกหมากเพื่อลดแรงดันจากท่อปัสสาวะ
การผ่าตัดส่วนใหญ่ทำโดยใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในท่อทางเดินปัสสาวะ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นต่อมลูกหมากโต

  • มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โอกาสที่จะเป็นต่อมลูกหมากโตเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นต่อมลูกหมากโต
    มีภาวะสุขภาพบางอย่างเช่น:
  • โรคอ้วน
  • โรคหัวใจและปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ได้รับการออกกำลังกายเพียงพอ

ภาวะต่อมลูกหมากโตเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งหมายความว่าไม่เป็นมะเร็งและไม่นำไปสู่มะเร็ง อย่างไรก็ตามภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ภาวะต่อมลูกหมากโตอาจไม่ต้องการการรักษาใด ๆ จนกระทั่งเกิดอาการ

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 51 ถึง 60 ปีมีภาวะต่อมลูกหมากโต และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 80 ปีที่มีอาการนี้ พบได้มากถึง 90% อย่างไรก็ตาม อาการของภาวะต่อมลูกหมากโตอาจบ่งบอกถึงสภาวะที่ร้ายแรงกว่า รวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการมีภาวะต่อมลูกหมากโตไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตาม ภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากมีอาการคล้ายกันได้

แต่ละคนมีอาการที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่าบางคนไม่มีอาการเลย หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

  • เริ่มต้นปัสสาวะลำบาก
  • การไหลของปัสสาวะอ่อนลงหรือหยุดชะงัก
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • ปัญหาปัสสาวะออกไม่หมด
  • ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • พบเลือดในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ
  • ปวดหลัง สะโพก หรือกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง
  • เจ็บปวดหลังการหลั่งอสุจิ
เพื่อการตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ผู้ชายทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองต่อมลูกหมากทุกปีหลังอายุ 55 ปี เนื่องจากความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหากเป็นเชื้อชาติแอฟริกันอเมิกันหรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ที่มีความเสี่ยง ควรเริ่มตรวจคัดกรองโรคต่อมลูกหมากตั้งแต่อายุ 40 ปี
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก