การแพ้วัคซีน

วัคซีน คือ สารผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน การแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง พบได้ไม่บ่อย ประมาณ 1 ต่อ การฉีดวัคซีนล้านโด๊ส (0.90-1.84 ต่อ การฉีดวัคซีนล้านโด๊ส)

ขณะนี้วัคซีนต่อเชื้อ SARS-CoV-2 เริ่มมีการผลิตและเตรียมใช้อย่างแพร่หลาย และเริ่มมีการรายงานผลข้างเคียงจากการใช้วัคซีน เราจึงควรมีความเข้าใจเรื่องการแพ้วัคซีน ก่อนการใช้ยาอย่างเหมาะสม

ลักษณะอาการแพ้วัคซีน สามารถแบ่งเป็น

  1. การแพ้ชนิดเฉียบพลัน มีอาการลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจไม่ออก ซึ่งเกิดจากการแพ้ส่วนประกอบต่าง ๆ ในวัคซีนได้แก่
  • ไข่ไก่ พบได้ในวัคซีนที่มีการเพาะเลี้ยงในตัวอ่อนของไก่ (chick embryo) เช่น วัคซีนไข้เหลือง วัคซีนพิษสุนัขบ้าชนิด  Purified chick embryo cell (PCEC) วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่าปริมาณโปรตีนของไข่ไก่ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูมมีปริมาณที่น้อยมาก หากผู้รับวัคซีนมีประวัติแพ้ไข่แบบไม่รุนแรงสามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ตามปกติ กรณีมีประวัติแพ้ไข่แบบรุนแรงสามารถฉีดได้ แต่ต้องอยู่ในสถานพยาบาลที่สามารถสังเกตอาการและรักษาอาการแพ้รุนแรงได้โดยการให้ยาฉีดอะดรีนาลีน
  • นมวัว พบในขั้นตอนการผลิตของวัคซีนคอตีบบาดทะยักไอกรนบางชนิด
  • ยีสต์ เซลล์ยีสต์ใช้ในขั้นตอนการผลิตของวัคซีนตับอักเสบบี และวัคซีนไวรัสมะเร็งปากมดลูกบางชนิด
  • เจลาติน ใช้เป็นตัวทำให้วัคซีนคงตัว (stabilizer) มีรายงานการแพ้รุนแรงจากเจลาตินในวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูมและอีสุกอีใส นอกจากนั้นยังสามารถพบได้ในวัคซีนไข้สมองอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ไทฟอยด์ พิษสุนัขบ้า บางชนิด เป็นต้น
  • Latex พบจากบรรจุภัณฑ์ของวัคซีนหลายชนิด
  1. การแพ้ไม่เฉียบพลัน หรือการมีปฏิกิริยาเฉพาะจุดหลังการฉีดวัคซีน แสดงอาการตั้งแต่ 2-8 ชั่วโมง จนถึง 2 วันหลังฉีดวัคซีน โดยการแพ้ในลักษณะนี้อาจเกิดจากสารประกอบวัคซีนบางชนิด เช่น
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น neomycin, streptomycin, polymyxin B sulfate
  • Aluminum hydroxide ทำหน้าที่เป็นสารในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (adjuvant) ปฏิกิริยาจาก aluminum ก่อให้เกิด อาการคัน นูนแดงใต้ผิวหนัง ไตแข็งหลังฉีดได้ (subcutaneous nodules or granulomas)
  • Thimerosal และ Formaldehyde ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) สามารถทำให้เกิดผื่นแดงคัน
  • Polyethylene glycol (PEG) หรือ polysorbate ใช้เป็นสารช่วยส่งเสริมการละลายน้ำในวัคซีน (water-solubility)

ผลข้างเคียงอื่น ๆ จำเพาะแต่ละวัคซีน เช่น

  • อาการไข้สูงเกิน 40.5องศาเซลเซียส ร้องไห้นานเกิน 3 ชั่วโมง หรือกรีดร้องเสียงแหลม มีอาการช็อกหรือชัก หลังได้วัคซีนไอกรน พบได้ 0-10 ต่อ 10,000 ครั้ง
  • อาการไข้ ผื่นคล้ายการออกหัดแต่น้อยกว่า พบได้ประมาณ 5% ภายใน 5-12 วัน หลังได้รับวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
  • อาการไข้ต่ำๆ ผื่นแดง หรือตุ่มน้ำใสเล็กน้อย พบได้ประมาณ 3% ภายใน 3 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนอีสุกอีใส
  • อาการบวมของแขนข้างที่รับวัคซีนหรือข้อบวม มักเกิดภายใน 2 – 8 ชั่วโมง ไม่เกิน 48 ชั่วโมง (Arthus reaction) พบได้ประมาณ 5% หลังได้รับวัคซีนบาดทะยัก
  • การอักเสบของ ปลอกหุ้มของ เส้นประสาทหลายเส้นอย่างเฉียบพลันเกิดจากมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผิดปกติ (Guillain – Barré syndrome) พบได้น้อยมากหลังได้รับวัคซีนคอตีบบาดทะยัก

การทดสอบสามารถทำได้โดยการซักประวัติและตรวจลักษณะการแพ้ ประกอบกับช่วงเวลาที่สัมพันธ์กับการให้ยา หากสงสัยว่ามีสภาวะการแพ้วัคซีน แพทย์อาจพิจารณาการทดสอบสะกิดผิวหนัง (Skin prick test) ทั้งจากส่วนประกอบวัคซีนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ เจลาติน นมวัว ไข่ไก่ ยีสต์ เลเทกซ์ หรือจากตัวของวัคซีนเอง และหรือทำการทดสอบต่อไปด้วยการฉีดน้ำยาวัคซีนเข้าผิวหนังเป็นจุดเล็กๆ (Intradermal test) เพื่อประกอบการวินิจฉัย

หากผู้ป่วยมีการทดสอบผิวหนังเป็นบวก แพทย์อาจให้วัคซีนอื่นเป็นทางเลือกหรือหากจำเป็นต้องให้วัคซีนนั้น ๆ จำเป็นต้องใช้วิธีค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อย (desensitization) ขึ้นกับประวัติความรุนแรงของอาการแพ้

สำหรับวัคซีนของไวรัส SARS-CoV-2 ในปัจจุบันมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. วัคซีนไวรัสตาย หรือ inactivated virusได้แก่ บริษัท Sinopharm จากประเทศจีน
  2. วัคซีน mRNA ใน lipid nanoparticles (LNP) จากบริษัท BioNTech Pfizer และ Moderna/mRNA-1273 ซึ่งเป็นวัคซีนที่นำส่วน mRNA ของยีนส่วนเปลือกของ SARS-CoV-2 ห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อเข้าเซลล์จะถูกถอดส่วน lipid ออก เข้าสู่ส่วนของเซลล์ที่เรียกว่า ribosome เปรียบเสมือนเป็นโรงงานสร้างโปรตีน mRNA ทำให้เกิดการสร้างโปรตีน ไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดีภูมิต้านทานต่อโรคCOVID19  
  3. วัคซีนที่อาศัยไวรัสอื่นเป็นตัวฝากหรือเป็นเวกเตอร์ เพื่อนำเอาสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 เข้าเซลล์ ได้แก่ บริษัท Oxford/Astrazeneca และ Gamaleya; Sputnik V  โดยใช้ adenovirus เป็นเวกเตอร์  

CDC ได้รายงานผลข้างเคียงของวัคซีน ระหว่าง วันที่ 14–23 ธันวาคม 2020, พบภาวะแพ้รุนแรง 21 cases จาก 1,893,360 โด๊สแรกจากบริษัท Pfizer-BioNTech (คิดเป็น 11.1 ครั้งต่อการฉีดวัคซีนล้านโด๊ส); โดย 71% เกิดภายใน 15 นาที แรกหลังฉีดยา, 14% เกิดช่วง 15 ถึง 30 นาที และ 14%หลัง 30 นาที สำหรับภาวะแพ้ไม่รุนแรงนั้นพบได้ถึง 4 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน

สาเหตุหรือส่วนประกอบต้นเหตุยังต้องศึกษาเพิ่มเติม มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก สาร polyethylene glycol (PEG) หรือ polysorbate ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารช่วยส่งเสริมการละลายน้ำในวัคซีน โดยสารตัวนี้จริง ๆ แล้วเป็นส่วนประกอบของวัคซีนและยามากกว่า 1,000 ชนิด เช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนนิวโมค็อคคัลคองจูเกทหรือ Prevnar ณ ข้อมูลตอนนี้ คำแนะนำให้สังเกตอาการหลังฉีดอย่างน้อย 15-30 นาที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้รุนแรงหลังได้รับวัคซีนมาก่อนควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนและการดูแลตนเองเบื้องต้น

  1. อาการขางเคียงหรือผลขางเคียง คืออาการที่คาดเดาไดาอาจจะเกิดขึ้น เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายได้แก่ อาการปวด บวม รอนบริเวณที่ฉีด ไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย ใจสั่น ออนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ มักพบ 1–2 วันหลังไดรับวัคซีน แนะนำให้พัก สังเกตอาการ กินยาแกปวดลดไข้ตามอาการได้ หากไม่ดีขึ้นจึงไปพบแพทย์
  2. การแพวัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน เป็นปฏิกิริยาภูมิไวของร่างกาย (Hypersensitivity reaction)
  • การแพ้ชนิดไม่รุนแรง เช่น พดผื่นคันตามร่างกาย การแพ้ชนิดนี้แนะนำให้ พัก สังเกตอาการ กินยาแก้แพ้ชนิดไม่เข้าสู่ระบบประสาทซึ่งก่อให้เกิดอาการง่วงซึม และสังเกตอาการ 1-2 ชั่วโมง หากผื่นมากขึ้นหรือมีอาการระบบอื่นเพิ่มเติมแนะนำมาพบแพทย์
  • การแพ้ชนิดรุนแรงหรือแอนาฟัยแล็กซิส (Anaphylaxis) 70-80% ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 30 นาทีหลังไดรับวัคซีน การแพ้ชนิดนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยการฉีดยาอะดรีนาลีนเข้ากล่ามเนื้อต้นขา แนะนำให้มาโรงพยาบาลทันที

การฉีดเข็มที่สอง

อาการขางเคียงหรือผลขางเคียงสามารถฉีดวัคซีนชนิดเดิมได้ สำหรับการแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน หากเป็นการแพ้ไม่รุนแรง อาจพิจารณาให้กินยาแกแพ้ชนิดไม่ง่วงก่อนฉีดเข็มที่สอง 30 นาที โดยไม่ต้องเปลี่ยนชนิด

หากเป็นการแพ้ชนิดรุนแรง ให้เปลี่ยนชนิดของวัคซีนเข็มที่สอง ซึ่งส่วนประกอบของวัคซีนที่สงสัยว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ Aluminum hydroxide ใน Sinovac หรือ Sinopharm, Polysorbate80 ใน AstraZenaca หรือ Johnson & Johnson และ Polyethylene glycol (PEG) 2000 ใน Moderna หรือ Pfizer vaccine

เอกสารอ้างอิง

  1. Nilsson et al. Vaccination and allergy: EAACI position paper, practical aspects. Pediatr Allergy Immunol. 2017;1–13.
  2. John M. Kelso et al. Adverse reactions to vaccines practice parameter 2012. Update. J Allergy Clin Immunol. July 2012.(Practice parameter 2012)
  3. Caubet et al. Vaccine allergy. Immunol Allergy Clin N Am 34 (2014) 597–613.
  4. Allergic Reactions Including Anaphylaxis After Receipt of the First Dose of Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine — United States, December 14–23, 2020. January 6, 2021 / 70. CDC COVID-19 Response Team; Food and Drug Administration
  5. Riggioni et al. A compendium answering 150 questions on COVID-19 and SARS-CoV-2. Allergy. 2020 Oct;75(10):2503-2541.
  6. Banerji et al. mRNA Vaccines to Prevent COVID-19 Disease and Reported Allergic Reactions: Current Evidence and Approach. Journal Pre-proof. J Allergy Clin Immunol in Practice. Dec 2020

บทความโดย

แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์

ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก