แพ็กเกจตรวจคัดกรองข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม

เป็นภาวะที่ข้อเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถดถอยขึ้น พบสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะที่อายุมากขึ้น โรคนี้เป็นหนึ่งในหลายโรคที่เป็นปัญหาเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคข้อเสื่อมนี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดที่ข้อ ข้อขัด ข้อบวม และเคลื่อนไหวข้อไม่เป็นปกติ ถ้าเป็นการเสื่อมของข้อที่รับน้ำหนักก็ทำให้เมื่อเคลื่อนไหวลงน้ำหนักแล้วจะยิ่งปวดมากขึ้น

สารบัญบทความ

ผู้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อมอาจไม่ได้เกิดกับคนทุกคน แต่ผู้ที่มีปัจจัยต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อม

• อายุมากขึ้น

• เพศหญิง

• อ้วน

• กิจกรรมที่เกิดแรงกระแทกที่ข้ออย่างซ้ำ ๆ หรือมากเกินไป

• กรรมพันธุ์

• กระดูกผิวข้อแตกจากภัยอันตราย

• โรคข้ออักเสบต่างๆ

• ความผิดปกติในการรับรู้บริเวณข้อ

BMI Calculator
คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) EN

Your BMI is normal.

Your BMI is above the accepted threshold

อาการเบื้องต้นและขั้นตอนของอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

อาการแรกเริ่มของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ๆ อาจมีอาการไม่เด่นชัดในผู้ป่วยหลายราย แต่รู้สึกว่าขัด ๆ ที่ข้อเข่า หรือผิดในข้อเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังจากที่ข้ออยู่นิ่งเป็นเวลานาน หรือจากการที่ข้ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ในระยะต่อมาอาการปวดจึงค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ขั้นตอนการเกิดโรคอาจใช้เวลาเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้

ในระยะต่อมา จะรู้สึกว่าอาการขัดในข้อบ่อยขึ้น และมากขึ้น อาจมีเสียงลั่นในข้อคล้ายเสียงกระดาษทรายถูกัน ในระยะนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการปวดอาจมีความแตกต่างในผู้ป่วยแต่ละคนอย่างสิ้นเชิง เช่น ปวดน้อย ปวดบางครั้ง จนถึงปวดมาก หรืออาการปวดเป็นตลอดเวลา เมื่อสังเกตให้ดี อาจพบว่าอาการปวดสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมเฉพาะบางอย่าง เช่น ออกกำลังกายมาก ขึ้นบันได นั่งเตี้ย หรือนั่งยอง และมักสังเกตว่าอาการปวดดีขึ้น เมื่อลดกิจกรรมเหล่านี้ลง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าอาการปวดย้ายตำแหน่งได้ หรืออาการปวดเพิ่มจากบริเวณเฉพาะของข้อนั้น ไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมบางรายอาจมีการอักเสบในข้อ ทำให้มีอาการข้อเข่าบวม อุ่นขึ้น เป็นครั้งคราว ผิวหนังอาจมีสีแดงเข้มขึ้นได้หรือมีกระดูกงอกในข้อ ทำให้สังเกตได้ว่าข้อเข่ามีขนาดใหญ่ขึ้น และการเคลื่อนไหวของข้อไม่ได้มากดังแต่ก่อน การอักเสบที่เกิดกับข้อใหญ่ที่รับน้ำหนัก อาจทำให้ผู้ป่วยเดินลงน้ำหนักไม่ได้เพราะความปวด

จะยืนยันได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม?

ผู้ป่วยที่ควรสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (โดยไม่มีสาเหตุเฉพาะ) ควรมีอายุที่มากพอควร เช่น เกิน 45 ปีขึ้นไป มีอาการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยอาการอาจเป็น ๆหาย ๆ แต่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจร่างกายรวมถึงการตรวจยืนยันจากภาพถ่ายทางรังสี กรณีที่ ผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจริง

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อข้อเข่าเสื่อม

  • ผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ สูญเสียความลื่น มัน วาวของผิวกระดูกอ่อนทำให้การเคลื่อนไหวข้อ เกิดอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน
  • การกระจายการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อ เริ่มผิดปกติ เนื่องจากบางบริเวณรับน้ำหนักมากขึ้น ขณะที่บางบริเวณรับน้ำหนักน้อยลง ทำให้บริเวณรับน้ำหนักมากผิดปกติ สึกหรอเร็ว มีอาการปวดเสียว
  • เยื่อหุ้มข้อ ถูกระคายเคือง จากเศษผงกระดูกอ่อนที่อยู่ภายในข้อทำให้เกิดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น และสร้างน้ำในข้อมากขึ้น แต่เป็นน้ำที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดอาการปวดบวม และข้อเข่าอุ่น
  • กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เนื่องจากอาการปวด และการอักเสบของข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยใช้ขาข้างที่เป็นโรคน้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่ามีความแข็งแรงน้อยลง ดังนั้น เมื่อเดินลงน้ำหนัก แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวข้อมากขึ้น
  • เอ็นยึดข้อ บางส่วนหย่อนยานขึ้น ตามไปกับความเสื่อมของกระดูกผิวข้อ เมื่อเอ็นยืดขึ้นทำให้ข้อแกว่ง หรือหลวมมากขึ้น เพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น ทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  • แนวแกนขา ผลจากเอ็นยึดข้อหย่อนยานขึ้น ผิวกระดูกอ่อนสึกหายไป ข้อจะเริ่มแกว่งในทิศทางที่ผิดปกติมากขึ้น และเมื่อน้ำหนักของผู้ป่วยมากขึ้นด้วย ก็ส่งเสริมให้เอ็นยึดข้อหย่อนยานขึ้น ทำให้ขาดูผิดรูปมากขึ้น เช่น ขาโก่ง หรือขาเกในข้อเข่าที่เสื่อม ร่างกายจะค่อย ๆ สร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ เพื่อช่วยให้ข้อกระดูกรอบข้อเข่าเกิดการปรับตัว ไหวแบบมั่นคงขึ้น อาจทำให้ข้อเคลื่อนไหวในทิศทางเหยียดงอได้น้อยลง ความหนาแน่นของกระดูกบริเวณข้อเช่าและรอบ ๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง

ชะลอข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองอย่างปลอดภัย

การที่จะทำให้ผู้ป่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่าลงได้ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก็คือผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อมที่น้อยหรือปานกลางเท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติตัวหรือรักษาวิธีเหล่านี้ได้ผลเป็นที่พอใจ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามาก ๆ (นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า)
  • หลีกเลียงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น อย่างบ่อย ๆ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน
  • หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา
  • ทานยาแก้อักเสบของข้อเมื่อจำเป็นหรือทานเป็นครั้งคราว
  • ในรายที่ข้อโก่งผิดรูปและหรือมีการแกว่งของข้อได้มากกว่าปกติ เมื่อต้องเดินทางหรือมีกิจกรรมที่นานกว่าปกติ ควรสวมปลอกสวมข้อเข่า ชนิดมีเหล็กสปริงที่ด้านข้างของข้อเข่าทั้งด้านในและด้านนอก
  • ในรายที่ปวดเข่าบ่อย หรือเดินทรงตัวไม่ดี ควรใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ (ควรถือไม้เท้าด้วยมือตรงข้ามกับเข่าที่ปวด)

“เมื่อข้อเข่าเสื่อมเข้าสู่ระยะสุดท้าย การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เนื่องจากทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดและสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมอีกครั้ง”

บทความโดย ศ. นพ. อารี ตนาวลี ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ข้อสะโพกและข้อเข่า

Knee and Hip Joint Surgeon Hip and Knee Arthroplasty BNH Shoulder & Joint Centre

FAQ คำถามยอดฮิต ตอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เข่ามีเสียง สัญญาณเตือน โรคข้อเข่าเสื่อม?

ประสบการณ์จริงจากผู้เข้ารับการรักษา

ข้อมูลทีมแพทย์

Prof. Aree Tanavalee, M.D.
Prof. Aree Tanavalee, M.D.
Shoulder & Joint Centre
Arak Limtrakul, M.D.
Arak Limtrakul, M.D.
Shoulder & Joint Centre
Worapoj Honglerspipop, M.D.
Worapoj Honglerspipop, M.D.
Shoulder & Joint Centre

ราคาพิเศษ!

แพ็กเกจตรวจ X-Ray ข้อเข่า โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Hospital

ผู้มีน้ำหนักตัวมาก (BMI >25)
อายุ 40 ปีขึ้นไป
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
มีกิจวัตรหรือทำกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่าเป็นประจำ
เคยบาดเจ็บที่ข้อเข่า
มีข้อเข่าโก่ง
มีโรคข้อต่าง ๆ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์
มีเสียงในข้อเข่าร่วมกับอาการเจ็บ

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก