Office syndrome ภัยเงียบของคนวัยทำงาน

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ในยุคปัจจุบัน การทำงานในออฟฟิศเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของหลาย ๆ คน การนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถหรือมีการจัดตำแหน่ง หรือท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่เรียกว่า “Office Syndrome” ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาและมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ไหล่ตึง มือชา ปวดหัว-กระบอกตา หรือแม้กระทั่งมีปัญหาสายตา

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร ?

คืออาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นได้ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า โดยอาจทำให้มีอาการชาร่วมด้วยได้ ซึ่งอาการชาที่เกิดขึ้นนั้นอาจเกิดได้จากการที่กล้ามเนื้อตึงมาก กล้ามเนื้อที่มักมีอาการได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง ไหล่ บ่า แขนหรือข้อมือ นอกจากผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อแล้ว อาจส่งผลต่อระบบเส้นเอ็น กระดูก หรืออาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยได้

อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นผลมากจากการที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดยึดตึง (myofascial pain syndrome) ซึ่งเกิดมาจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยมักพบในกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศที่ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics)

3 สาเหตุ ของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. การนั่งทำงานเป็นเวลานาน เกิดจากการที่กล้ามเนื้อต้องทำงานหนัก ต้องใช้งานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆตลอดเวลา โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง ยึด และอักเสบในเวลาต่อมา โดยเรามักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานของกลุ่มคนออฟฟิศมักจะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือต้องนั่งบนโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน แทบจะไม่มีการขยับตัวไปไหน
  2. ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งตัวโค้งงอ ไหล่ยกสูง หรือนั่งหลังไม่ตรง ส่งผลให้กล้ามเนื้อและกระดูก เกิดการเสื่อมสภาพได้
  3. การใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสม กับสรีระของผู้ใช้งานในแต่ละคน ทำให้เกิดการบาดเจ็บในระยะยาวได้
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

กลุ่มเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม

คนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ เช่น การก้มหน้าใช้งานมือถือ นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ส่งผลต่อกล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบถนั้น ๆ ทำให้เกิดอาการตึงยึดของกล้ามเนื้อขึ้นมา และทำให้เกิดอาการปวดต่อมา

5 อาการสัญญาณขั้นต้น ที่อาจเกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดกล้ามเนื้อ ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก และปวดหลัง เกิดจากการต้องนั่งทำงานติดต่อกันนานหลายชั่วโมงทุกวัน ไม่มีการลุกเปลี่ยนอิริยาบถ ท่านั่งที่ไม่ถูกสรีระหรือหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) โดยผู้ที่มีอาการมักนั่งหลังค่อม-หลังไม่ชิดพนัก คอยื่น ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอ และหลังบน-ล่าง เมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังรวมไปถึง คนที่ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมต้องยืนหรือเดินทำงานเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน
  2. รู้สึกตื้อๆ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความเครียดและการใช้สายตามากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
  3. ตาล้าพร่ามัว มองอะไรแล้วไม่สดใส เนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการต้องใช้สายตาจดจ่อกับอะไรเป็นเวลานาน
  4. มีอาการปวดหรืออาการเหน็บชาบริเวณขาลงมา ซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
  5. มีอาการมือชา นิ้วล็อคและปวดข้อมือ โดยสาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ หรือจับผิดท่าเป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นหรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือ หรือนิ้วมือ (De Quervain’s disease) อักเสบได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดอาการมือชา จากภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนได้อีกด้วย (Carpal Tunnel Syndrome)

การป้องกันและการรักษา โรคออฟฟิศซินโดรม

การใช้ยา

อาจจะเป็นการทานยาหรือฉีดยา การทำกายภาพบำบัดโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อลดอาการปวดหรือการอักเสบให้เร็วที่สุด เพื่อไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน และสามารถกลับไปใช้งานได้เร็วที่สุด เช่น การใช้คลื่นกระแทก (shockwave), ultrasound, peripheral magnetic stimulation (PMS), การนวดคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งยึด

การออกกำลังกาย

เป็นหนึ่งในการรักษาที่สำคัญของออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เนื่องจากปัจจัยหลัก 2 อย่าง ที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม คือ 

การที่กล้ามเนื้อยึดเกร็ง ขาดความยืดหยุนต่อการใช้งาน ทำให้พิสัยในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อหรือข้อต่อนั้นๆมีความจำกัด รู้สึกติด-ขัด

การที่กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง โดยกล้ามเนื้อจะไม่ทนทานต่อการใช้งานกล้ามเนื้อที่ต่อเนื่องยาวนาน หรือการใช้งานหนัก โดยวงจรเกิดขึ้นมาซ้ำ ๆ วนไปมา ทำให้อาการไม่หายขาดเสียที ทำให้การออกกำลังกายในโรคนี้ที่สำคัญจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

การออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ จุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มักจะมีการหดเกร็งจากการใช้งานติดต่อกันอย่างยาวนาน ซึ่งการยืดเหยียดนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่มีช่วงที่ยังมีอาการปวดอยู่  แต่อาจจะต้องค่อยๆทำไปทีละน้อยขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ จุดประสงค์เพื่อสร้างความแข็งแรงทนทานให้แก่กล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ ให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงนี้มักจะเริ่มทำเมื่ออาการปวดในระยะเฉียบพลันมีอาการทุเลาลง โดยเริ่มจากการออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้อ หรือ Isometric strengthening exercise ก่อน เพราะมักไม่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้นในช่วงที่ยังมีอาการปวดเฉียบพลันอยู่ หลังจากนั้นจึงค่อยเพิ่มการออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงแบบอื่นต่อไปตามลำดับ

การจัดการรักษาจากต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น 

  • หลีกเลี่ยงการทำงานในท่าทางเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 20-30 นาที
  • หลีกเลี่ยงท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • จัดโต๊ะทำงานให้สิ่งของที่หยิบใช้บ่อย ๆ อยู่ในระยะเอื้อมถึงได้ง่าย ไม่ต้องโน้มตัว เอื้อมมือไปไกลหรือต้องเอี้ยวตัวเยอะ
  • จัดเวลาการทำงานและการพักผ่อนให้เหมาะสม รวมถึงการปรับท่าทางในการทำงานให้ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ ด้วยการปรับอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่างบริเวณโต๊ะทำงาน จอคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน

โดยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายของการยศาสตร์ (Ergonomics)

Ergonomics หรือ การยศาสตร์ คืออะไร ?

Ergonomics หรือ การยศาสตร์ คือคำที่คนในวงการอาชีวอนามัยคุ้นเคยกันมานาน แต่สำหรับบุคคลทั่วไปอาจจะเป็นคำที่ไม่แพร่หลาย แต่ความหมายของมันอยู่รอบ ๆ ตัวเราและใกล้ชิดกับเรามากโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกับคนวัยทำงานอย่างเรา ๆ เพราะ Ergonomics คือ การทำงานให้สอดคล้องกับสรีระร่างกายของมนุษย์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน” หรือ “การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงาน” เป็นการออกแบบรูปแบบการทำงานที่ง่ายขึ้น สะดวกสบาย และไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บ…นั่นเอง

การตรวจ Ergonomics Test คืออะไร ?

การตรวจ Ergonomics Test เป็นกระบวนการตรวจวัดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระและสุขภาพของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบและปรับปรุงท่านั่ง การวางตำแหน่งของอุปกรณ์ และการแนะนำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อรวมถึงการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

ทำไมการตรวจ Ergonomics Test จึงสำคัญ ?

  1. เพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อสุขภาพของพนักงานดีขึ้น ไม่มีความปวดตึงหรือความเหนื่อยล้า กล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการขาดลางานจากอาการเจ็บป่วยจากสุขภาพ ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น
  3. ลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ เพราะการป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ ลดค่าชดเชยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากปัณหาสุขภาพที่เกิดขึ้น
  4. เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับองค์กร การเห็นความสำคัญของ Ergonomics (การยศาสตร์) ของคนที่ทำงานในออฟฟิศที่มีแนวโน้มที่จะมีปัญหามากอยู่แล้ว แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องความใส่ใจต่อความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ พนักงานที่มีสุขภาพดีเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในทิศทางที่ดีขึ้นสำหรับองค์กร

3 สาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

  • การนั่งทำงานเป็นเวลานาน
  • การนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • การใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน

5 อาการที่พบบ่อยในโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ 
  • ปวดศีรษะรวมถึงกระบอกตาและไมเกรน 
  • ตาพร่ามัว 
  • เหน็บชาบริเวณขา 
  • ปวดชามือและข้อมือ

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) แบ่งเป็น การใช้ยาและการทำกายภาพบำบัดโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังกาย

Ergonomics หรือ การยศาสตร์ เป็นการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จากต้นตอของปัญหา

การตรวจ Ergonomic Test เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของการโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ได้อย่างตรงจุด หรือถ้าต้องมีการรักษากล้ามเนื้อที่มีปัญหาที่เกิดขึ้นvก็จะช่วยให้การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด รวมถึงการประเมินจากแพทย์เพื่อสั่งการรักษาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ใช้เวลาในการรักษาน้อยลง อาการหายเร็วขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำงานได้ปกติเร็วขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อสุขภาพที่ดีและการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

สรุป

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นปัญหาที่เกิดจากการทำงานในออฟฟิศที่ไม่ถูกต้องตามหลัก Ergonomics (การยศาสตร์) ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้

พญ. ธิมาพร บำรุงเชาว์เกษม

บทความโดย

พญ. ธิมาพร บำรุงเชาว์เกษม

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด

ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE

ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์​ | Appointment

พญ. ธิมาพร บำรุงเชาว์เกษม

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด

ความชำนาญพิเศษ

เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ทำนัดหมาย


– เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด


– Thai Board of Physical Medicine & Rehabilitation, Ramathibodi Hospital ,Mahidol University (2013)


– MD, Rangsit University ( 2008)

ตารางออกตรวจแพทย์
วัน เวลา แผนก
อังคาร 08:00 – 18:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
พุธ 08:00 – 15:30 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
พฤหัสบดี 08:00 – 15:30 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
ศุกร์ 08:00 – 20:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
เสาร์ 08:00 – 16:00 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก