
1. ภาวะแพ้อาหารและโรคหอบหืดสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
– โรคแพ้อาหารพบ 1-10% แล้วแต่ว่าเป็นจากประวัติหรือจากการกินทดสอบกับแพทย์เพื่อยืนยัน ส่วนหอบหืด 10-20% คนหอบหืดมีแพ้อาหารได้ รายงานตั้งแต่ 4-8% บางที่รายงานได้ถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนแพ้อาหารเสี่ยงโตขึ้นเป็นหืดถึง 2.16 เท่า โดยเฉพาะในเด็กที่แพ้รุนแรงหรือแพ้อาหารหลายชนิด ยิ่งมีผื่นผิวหนังอักเสบด้วยยิ่งเสี่ยง
– แพ้อาหารและหอบหืดเกี่ยวข้องกันอยู่ในประเด็นเหล่านี้
- แพ้อาหารเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหอบหืดต่อมาได้ แพ้อาหารทำให้เป็นหอบหืดที่รุนแรงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
- หอบหืดก็สามารถเกิดการแพ้อาหารได้ หอบหืดทำให้เสี่ยงต้อการแพ้อาหารรุนแรงอันตรายต่อชีวิต
- แพ้อาหารกระตุ้นเกิดอาการหอบหืดที่เลวลงได้ ผ่านสองวิธีคือ ตัวอาหารนั้นเองแพ้ผ่านทางเดินหายใจหรือภาวะแพ้รุนแรง (anaphylaxis) หรือ ทำให้เกิดอาการ
2. แพ้อาหารกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้หรือไม่
2.1 แพ้อาหารบางอย่างเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืดในอนาคต
– มีการศึกษาพบว่าแพ้อาหารเสี่ยงโตขึ้นเป็นหืดถึง 2.16 เท่า โดยเฉพาะในเด็กที่แพ้รุนแรงหรือแพ้อาหารหลายชนิด
-โดยเฉพาะไข่ หากแพ้ไข่ตั้งแต่เด็กสัมพันธ์ต่อการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศมากขึ้น 5 เท่า
2.2 แพ้อาหารทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจได้
-แพ้อาหารมักเกิดอาการทางผิวหนังมากที่สุด 90% อาการทางเดินหายใจพบได้ 40-60%
-การแพ้อาหารแม้ไม่ได้ทำให้เกิดโรคหอบหืดโดยตรงแต่สามารถทำให้เกิดหลอดลมที่ไวขึ้นได้
-การที่อาหารที่แพ้เข้าสู่ทางเดินหายใจของเราโดยตรง ทำให้เกิดหลอดลมตีบ
3. คนหอบหืดควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรเป็นพิเศษ
-หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้
-สารประกอบอาหารชนิด sulfite ใส่เพื่อเป็นถนอมอาหารและช่วยในกระบวนการหมักดอง สารนี้สามารถกระตุ้นให้หอบกำเริบในบางคน สารตัวนี้อยู่ใน อาหารประเภทไวน์ ผลไม้อบแห้งเช่น แอปริคอท กากน้ำตาล ของหมักดอง
4. อาการหายใจลำบาก เราจะแยกภาวะแพ้อาหารหรือภาวะหอบหืดออกจากกันได้อย่างไร
– อาการหลอดลมตีบจากการแพ้อาหารมักเกิดภายในไม่กี่ ชม หลังกินอาหาร
– ในขณะที่อาการหอบหืดมีตัวกระตุ้นที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อ อากาศเย็น ฝุ่นควัน
5. คนที่มีภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จมูกหรือปอด ต่อมาจะเกิดอาการแพ้อาหารได้หรือไม่
- Dust mite -shellfish บางคนที่แพ้ไรฝุ่นจะมีแพ้ข้ามกลุ่ม มาเกิดการแพ้อาหารทะเลพวกกุ้งกั้งปูได้
- OAS คนที่แพ้ระอองเกสรต้นไม้บางชนิด จะมีการแพ้ข้ามกลุ่มมาทำให้มีอาการแพ้แบบคันรอบปากต่อผลไม้จำพวก strawberry cheery หากกินดิบๆ
6. เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากมีภาวะแพ้อาหารร่วมกับภาวะหอบหืด
- หากสงสัยว่าแพ้อาหารอะไรควรตรวจยืนยันกับแพทย์
- การแพ้อาหารในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเลี่ยงไปตลอดชีวิตแล้ว มีทางรักษาได้
- อ่านฉลาก พกยาแก้แพ้ ในรายที่แพ้รุนแรงอาจต้องพกยาฉีดอะดรีนาลีน
- ควบคุมอาการหอบให้สงบ ใช้ยาสม่ำเสมอ
- อาหารที่ป้องกันภูมิแพ้ได้ ในปัจจุบันที่มีการศึกษาได้แก่ omega-3, fish oil, vitamin D, probiotic ในภูมิแพ้บางโรค

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)
ติดต่อสอบถาม หรือทำนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผ่าน LINE @MBRACE
ทำนัดหมายแพทย์ออนไลน์ | Appointment

พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
ความชำนาญพิเศษ
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาษา
ไทย, อังกฤษ
– กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
– วุฒิบัตรภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
– 2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– 2559 กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
– 2561 กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ตารางออกตรวจแพทย์
วัน | เวลา | แผนก |
---|---|---|
จันทร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
อังคาร | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
พฤหัสบดี | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
ศุกร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |
เสาร์ | 09:00 – 17:00 | ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ |