
แนะนำการออกกำลังอย่างไรในคนหอบหืด
การออกกำลังกายมีประโยชน์ในโรคหอบหืด นอกจากจะลดความเสี่ยงการเป็นหอบหืดยังช่วยทำให้อาการหอบหืดลดลงด้วย เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย หัวใจ และสมรรถภาพปอด ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
แนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที สม่ำเสมอ ประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์สำหรับความหนักปานกลางหรือ 75 นาทีต่อสัปดาห์สำหรับกิจกรรมที่มีความหนักสูง มีการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 1-2 วันต่อสัปดาห์
พบว่าการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องเฉลี่ย 18 สัปดาห์ขึ้นไป จะทำให้อาการหอบหืดดีขึ้นได้ ทั้งนี้ก่อนการออกกำลังกายควรมีการใช้ยาควบคุมอาการอย่างสม่ำเสมอและอาการโรคสงบ ควรมีการ warm-up และ cool down ความแรงของการออกกำลังไม่แรงเกินไปจนเกิดอาการกำเริบ ระวังการออกกำจะลังกายในที่แห้งและเย็น หรือบริเวณที่มีฝุ่นมลภาวะ ซึ่งจะสามารถทำให้โรคหืดกำเริบได้
การออกกำลังกระตุ้นในเกิดอาการหอบหืดได้หรือไม่
ในบางรายอาจมีการกำเริบจากการออกกำลังกายได้หรือเรียกว่า Exercise-induced bronchoconstriction (EIB) พบได้ร้อยละ 5-20 โดยจะมีอาการหอบหลังออกกำลังกาย 5-15 นาที คำแนะนำในการออกกำลังกายในคนกลุ่มนี้ ให้ใช้ยาพ่นขยายหลอดลมแบบออกฤทธิ์เร็ว เช่น Salbuterol หรือ Formoterol พ่น 15 นาทีก่อนออกกกำลังกาย และสามารถใช้ซ้ำเพื่อบรรเทาอาการได้
ภาวะอ้วนและโรคหอบหืด
ภาวะโรคอ้วนนั้นส่งผลต่อหอบหืดหลายทาง ตั้งแต่ด้านสรีระ ภาวะอ้วนส่งผลการเคลื่อนไหวต่อผนังทรวงอก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea), อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนกระตุ้นการหดเกร็งของหลอดลม (Reflux-induced bronchoconstriction) และยังทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายผ่านกลไกทางภูมิคุ้มกันต่างๆ แนะนำเส้นรอบเอวผู้ชายไม่เกิน 36 นิ้ว และผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว โดยดัชนีมวลกาย (Bobby mass index; BMI) ไม่เกิน 23
เอกสารอ้างอิง
- Jihad Alwarith, Hana Kahleova, Lee Crosby, Alexa Brooks, Lizoralia Brandon, Susan M. Levin, and Neal D. Barnard. The role of nutrition in asthma prevention and treatment. Nutrition Reviews V R Vol. 0(0):1–11. doi: 10.1093/nutrit/nuaa005
- Laurent Guilleminault, Evan J. Williams, Hayley A. Scott, Bronwyn S. Berthon, Megan Jensen and Lisa G. Wood. Diet and Asthma: Is It Time to Adapt Our Message? Nutrients 2017, 9, 1227; doi:10.3390/nu9111227
- Dietary Reference Intake for Thais 2020 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- Hemila H. Vitamin C and asthma. J Allergy Clin Immunol 2014; 134:1216.
- อรพรรณ โพชนุกูล. Non-pharmacological Therapy for Asthma.
- Bentzon AK, Loehde LW, Backer V, et al. The long-term effect of an exercise and diet intervention in asthma patients: a 1-year follow-up on a randomised controlled trial. ERJ Open Res 2019; 5: 00032-2019 [https://doi.org/10.1183/23120541.00032-2019].

บทความโดย
แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์
ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC)