ไอเรื้อรังไม่หาย แก้ยังไงหาย

ที่มาของ “ไอ”

ปกติร่างกาย “ไอ” เพื่อขับสิ่งแปลกปลอมไม่ให้ลงสู่ปอด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
1. กลุ่มไอจากการติดเชื้อ (โรค ไวรัส แบคทีเรีย)
2. กลุ่มเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจและพฤติกรรม/พฤติกรรมเสี่ยง ที่ร่างกายอาจแสดงว่า “กำลัง แฝง โรค”

โดยกลุ่มที่ 2 ร่างกายสัมผัสสิ่งกระตุ้น/สารก่อระคายเคือง/สารพิษอันตราย เช่น สภาพอากาศ, สารก่อภูมิแพ้, ความเครียด, พักผ่อนน้อย, การสูบบุหรี่, และกรดไหลย้อน ทำให้มีอาการน้ำมูกไหลลงคอ ส่งผลให้ระคายคอ จนเกิดอาการไอเรื้อรัง ได้แก่

1. ผู้ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น – โรคภูมิแพ้อากาศ, ไซนัสอักเสบ, โรคหอบหืด, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

2. เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ – หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, มะเร็งกล่องเสียง

3. ไอจากยาบางชนิด (เฉพาะผู้มีโรคประจำตัว) – พบในผู้ป่วยที่กิน  “ยารักษาความดันโลหิตสูง กลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors)” โดยจะมีอาการไอแห้งๆ

4. พฤติกรรม/พฤติกรรมเสี่ยง – โรคกรดไหลย้อน, วัณโรคปอด

5. อวัยวะอื่น ๆ – เนื้องอก (ที่คอ กล่องเสียง หลอดลม), โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ, มะเร็งกล่องเสียง

“สาเหตุส่วนใหญ่ ของอาการไอเรื้อรัง เกิดจาก โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง  โรคหืด และโรคกรดไหลย้อนดังนั้นการตรวจเพื่อหาสาเหตุ ช่วยให้รักษาได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ

ไออย่างไร ควรรีบพบแพทย์ (เพราะร่างกายแฝงโรคอยู่)

1. ไอตั้งแต่ 4-8 สัปดาห์ หรือไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เสมหะมาก, เสมหะอยู่ลึกๆ แต่ไอไม่ออก, หรือเสมหะปนเลือด

2. ไอมาก ช่วงกลางคืน อากาศเย็น หรือตอนฝนตก รวมถึงการไอจนรบกวนการใช้ชีวิต

3. ไอ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น 

 3.1. เป็นไข้ เป็น ๆ หาย ๆ, เจ็บหน้าอก

 3.2. เหนื่อยง่าย แม้อยู่เฉย ๆ, หายใจไม่อิ่ม ไม่สุด หรือรู้สึกขาดอากาศหายใจ, หายใจได้ยินเสียงวี้ด

 3.3. น้ำหนักลด กินได้น้อย หรือเบื่ออาหาร

4. มีประวัติ: สัมผัส/ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบบ่อยๆ, รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

5. มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือเป็นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ตัวอย่างอาการแสดงโรค:

1. ไซนัสอักเสบ โดยเริ่มต้นจาก “อาการหวัด/โรคภูมิแพ้อากาศ”  โดย “อาการไอแบบมีเสมหะ” จะแย่ลงช่วงกลางคืน เพราะน้ำมูกไหลลงคอ บางกรณีอาจมีทั้งน้ำมูกและจมูกไม่ได้กลิ่นร่วมด้วย

2. มะเร็งปอด เมื่อโรคเป็นมากขึ้น จะแสดงอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย หรือหากแย่ลงอาจไอเป็นเลือด

วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการไอ

1. กรณี “ไอจากการติดเชื้อ” รักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

2. ดื่มน้ำปริมาณมาก โดยเฉพาะน้ำอุ่น เพื่อให้เสมหะไม่ข้นเหนียว และขับออกมาได้ง่าย

3. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และขณะนอนรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่น

5. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นอาการไอ เช่น สารก่ออาการระคายเคือง-สารก่อภูมิแพ้ ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่

6. หลีกเลี่ยงสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศ/พัดลมโดยตรง เพราะอากาศเย็นจะกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ส่งผลให้ไอมากขึ้น

7. หลีกเลี่ยง/งดการสูบบุหรี่

8. ยาบรรเทาอาการไอ

เหมาะสำหรับไอไม่มาก หากกินแล้ว “อาการไม่ดีขึ้น” ภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

   กลุ่ม 1 “ยาบรรเทาอาการไอ แบบมีเสมหะ” โดยมี

   1. ยาขับเสมหะ ออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจ/หลอดลมระคายเคือง ส่งผลให้ผลิตสารคัดหลั่ง และไอออกมาได้ง่ายขึ้น

  2. ยาละลายเสมหะ ช่วยลดความหนืด(เหนียวข้น)ของเสมหะ และทำให้ขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น 

   กลุ่ม 2 “ยาบรรเทาอาการไอ แบบไม่มีเสมหะ – ไอแห้ง/ยากดอาการไอ” เป็นยาออกฤทธิ์ในการกดระบบประสาทโดยกดศูนย์การไอ และส่งผลให้อาการไอลดลง 

   *การใช้ “ยาบรรเทาอาการไอ แบบไม่มีเสมหะ” ในอาการ “ไอแบบมีเสมหะ” ส่งผลให้ “ขับเสมหะ” จากทางเดินหายใจ “ได้ยากขึ้น” และพบอาการข้างเคียง เช่น ง่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก*

8. เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับช่องปากและลำคอ เพื่อลดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ

ผลกระทบไอเรื้อรัง....จนเสียศูนย์

1. ผลต่อตัวเอง:  

   1.1. เสียสุขภาพจิต: กังวลโรคร้ายแรง

   1.2. สุขภาพกาย: นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ  หลอดลมอักเสบและฉีกขาด มีโอกาสปอดแตกและอากาศรั่วจากแรงดันมาก เจ็บหน้าอก เสียงแหบ อาเจียน เส้นเลือดฝอยแตก ไส้เลื่อน ความสามารถในการกลั้นปัสสาวะได้ลดลง

   1.3. มุมมองอื่นๆ: เสียบุคลิก รำคาญ กังวล และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงเมื่อรักษาไม่ตรงจุด

2. ผลต่อผู้อื่น:  สงสัย กังวล ไม่กล้าเข้าใกล้ผู้ป่วย และอาจได้รับเชื้อเมื่อผู้ป่วยจาม

3. กรณีผู้สูงอายุ:  การไอมากๆ อาจทำให้กระดูกอ่อนซี่โครงหัก หรือทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตกออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด เกิดอาการหอบเหนื่อย และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

“อาการไอเรื้อรังไม่หยุด” อาจเกิดจาก “ภาวะภูมิแพ้” หรือ “เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจและพฤติกรรม/พฤติกรรมเสี่ยง” ซึ่งสามารถรักษาได้ เพียง “รู้-รักษาตามสาเหตุ” ที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อบรรเทา-รักษาอาการ

คลินิกไอเรื้อรัง

คลินิกรักษาอาการไอเรื้อรัง ชั้น 4 โซน B แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันอาทิตย์ : 08:00 - 19:00 น.

นัดหมายแพทย์และสอบถาม

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญที่ท่านต้องการ กรุณาติดต่อที่

โทร : 02-022-0700 ต่อ 4573
หรือ 02-022-0843
E-Mail : [email protected]

เจ้าหน้าที่ทำนัดให้ได้ที่ LINE

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก