วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ
โรคไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในเต่ละปีเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงและกลายพันธุ์ ซึ่งในแต่ละปีวัคซีนได้ถูกปรับให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น
บุคคลบางคนเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่จะเจ็บป่วยหรือมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้อื่น คือ เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือระบบภูมิต้านทานต่ำ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับบุคคลเหล่านี้และใครก็ตามที่ใกล้ชิดกับคนเหล่านี้
ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ใช้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ (ตามคำแนะนำของแพทย์) เป็นวัคซีนที่มีข้อบ่งใช้สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดแอคทีฟสำหรับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้ดีขึ้น และยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาล จากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาล จากอาการปอดอักเสบและจากการติดเชื้อที่ระบบ ทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้สูงวัย อายุ 65 ปี ขึ้นไป
จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย และ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ในผู้ที่อายุ 65 ปี ที่ประเทศอเมริกาและแคนาดา พบว่า
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เพิ่มขึ้นถึง 24.2% เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์แบบปกติ
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย สามารถลดอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้เพิ่มเมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบปกติ
– การเข้ารักษาโรคปอดอักเสบ ลดลง 27.3%
– การเข้ารักษาโรคระบบหัวใจและทางเดินหายใจ ลดลง 17.9%
– การเข้ารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ลดลง 11.7%
– การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยรวม ลดลง 8.4%
ไข้หวัดใหญ่ (Flu) เป็นโรคที่ติดต่อได้อย่างกว้างขวาง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งถึงบุคคลหนึ่งโดยแพร่จากการไอ จามและการสัมผัส อาการจะเกิดอย่างรวดเร็วและอาจเป็นอยู่หลายวัน อาการที่เป็นเช่น :
- มีไข้/หนาวสั่น
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- เมื่อยล้าอ่อนเพลีย
- ไอ
- ปวดศีรษะ
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
ผลกระทบต่อร่างกายในผู้สูงวัยเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการ รุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และจากข้อมูลในประเทศไทยพบว่ากลุ่มที่มี อัตราการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูง ที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือเด็กเล็กและ ผู้สูงอายุ การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สามารถ ส่งผลกระทบต่อร่างกายนอกเหนือจากการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ได้ดังต่อไปนี้
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการ เกิดเส้นเลือดสมองตีบ มากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด เส้นเลือดตีบที่หัวใจมากกว่า คนทั่วไป 10 เท่า
- 75% ของคนไข้เบาหวาน จะมีปัญหาต่อระดับน้ำตาลที่ ผิดปกติ
- 23% จะสูญเสียความสามารถ ในการดูแลตัวเองหลังจากเจ็บ ป่วยเพราะไข้หวัดใหญ่
สาเหตุหลักที่ทําให้ผู้สูงอายุ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
- ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะ เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ก็ตาม เพราะผู้สูงอายุนั้นจะมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย ในภาวะที่ ร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุลก็จะเกิด “การอักเสบรุนแรง” (ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน) ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถจะยับยั้งได้ และทำให้เสียชีวตได้
- โรคประจำตัว รักษาไม่หายขาด (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็น โรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อปอดอักเสบ โรคหัวใจเส้นเลือดสมอง บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีววิต
- ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะพบว่า 23% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความ สามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นรวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรม ได้ตามปกติภายใน 1 ปี
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย
เป็นวัคซีนซึ่งไม่มีส่วนผสมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ยังมีชีวิต เป็นการฉีดด้วยเข็มฉีดยา และมักเรียกว่า “Flu Shot” เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ละปีจึงต้องผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ขึ้นเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในปีนั้น ในขณะที่วัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ทุกสายพันธุ์ แต่เราได้พยายามป้องกันการเกิดโรคให้ดีที่สุด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด
ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานต่อโรคประมาณสองสัปดาห์ และจะป้องกันได้หนึ่งปี บางครั้งการป่วยที่ไม่ได้เกิดจากไข้หวัดใหญ่มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนี้จะไม่ป้องกันความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นจะป้องกันได้เฉพาะไข้หวัดใหญ่เท่านั้น
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
แจ้งให้แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ทราบถ้าท่านรู้สึกไม่สบาย ปกติแล้วท่านสามารถรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้หากมีอาการป่วยเล็กน้อย แต่ท่านอาจได้รับคำแนะนำให้รอไปก่อนจนกว่าจะมีอาการดีขึ้น ท่านควรรอจนกว่าจะหายดีก่อนแล้วกลับมาฉีดในภายหลัง
การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง
หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ควรนั่งหรือนอนพัก ประมาณ 15-30 นาที ที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ แพ้ หรือ อาการข้างเคียงอื่นๆ